Advance search

แบหอ

หมู่บ้านพหุวัฒนธรรม เป็นทีมีชุมชนอิสลามล้อมรอบชุมชนไทยพุทธเชื้อสายจีน

หมู่ที่ 1
บ้านแบหอ
กาลอ
รามัน
ยะลา
อบต.กาลอ โทร. 0-7372-9792
อับดุลเลาะ รือสะ
2 มี.ค. 2023
นิรัชรา ลิลละฮ์กุล
24 มี.ค. 2023
อับดุลเลาะ รือสะ
27 เม.ย. 2023
บ้านแบหอ
แบหอ

"แบหอ" เป็นชื่อเรียกของชาวจีนที่อพยพย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ที่นี้บางส่วน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งและชื่อของหมู่บ้านนี้เป็นชื่อที่คนจีนได้ตั้งไว้ให้เรียกเป็นภาษาจีนว่า "แบหอ"


ชุมชนชนบท

หมู่บ้านพหุวัฒนธรรม เป็นทีมีชุมชนอิสลามล้อมรอบชุมชนไทยพุทธเชื้อสายจีน

บ้านแบหอ
หมู่ที่ 1
กาลอ
รามัน
ยะลา
95140
6.382592945
101.4040983
องค์การบริหารส่วนตำบลกาลอ

บ้านแบหอ ตั้งอยู่ที่หมู่ที่ 1 ตำบลกาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลาคำว่า "แบหอ" เป็นชื่อเรียกของชาวจีนที่อพยพย้ายเข้ามาอาศัยอยู่ที่นี้บางส่วน และได้เปิดร้านค้าขายของอย่างหลากหลายมีทั้งที่เปิดเป็นร้านน้ำชา ร้านขายของชำทั่วไปและพื้นที่แถบนี้ได้กลายเป็นย่านเศรษฐกิจในอำเภอรามัน เป็นสถานที่ท่องเที่ยวแห่งหนึ่งและชื่อของหมู่บ้านนี้เป็นชื่อที่คนจีนได้ตั้งไว้ให้เรียกเป็นภาษาจีนว่า "แบหอ" จากลักษณะที่แปลกแยกเป็นเอกลักษณ์ที่แตกต่างกัน โดยรวมแล้วเป็นหมู่บ้านที่มีลักษณะแตกต่างจากหมู่บ้านอื่นเป็นการตั้งชื่อตามลักษณะของพื้นที่ที่ทอดยาวโดยไม่มีขอบเขต ซึ่งเป็นพื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ล้อมรอบด้วยภูเขาที่ชาวบ้านสมัยก่อนได้มีอาชีพขุดแร่ดีบุก ในปัจจุบันหมู่บ้านแบหอยังคงมีคนไทยเชื้อสายจีนอยู่บ้างแต่บางส่วนอพยพตามลูกหลานไปอยู่ในตัวเมือง

หมู่บ้านแบหอ ของอำเภอรามัน ห่างจากจังหวัดยะลาประมาณ 30 กิโลเมตร และห่างจากตัวอำเภอรามัน ประมาณ 21 กิโลเมตร เส้นทางหลัก/เส้นทางรอง เส้นทางหลักจากบ้านบูดีถึงโกตาบารู

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านซือเลาะ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ นิคมสร้างตนเองพัฒนาภาคใต้ อำเภอบันนังสตา จังหวัดยะลา
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ นิคมสร้างตนเองธนูศิลป์ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านกาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

สภาพพื้นที่ทางกายภาพ

ลักษณะการตั้งบ้านเรือนของประชาชนในหมู่บ้านแบหอ มีลักษณะเรือนขนานไปตามแนวทางของถนนเป็นส่วนมาก และมีบ้านบางส่วนที่กระจายออกไปตามพื้นที่ราบสูงและในหมู่บ้าน เป็นเนินสูงและภูเขาเตี้ย ๆ อยู่ทางตอนเหนือและทางทิศตะวันตกของตำบล เหมาะแก่การปลูกยางพารา ไม้ผล ไม้ยืนต้นและมีที่ราบลาดมาทางตอนกลางของตำบลและทางทิศตะวันออกของตำบล

จากข้อมูลที่สำรวจโดย จปฐ. ระบุจำนวนครัวเรือนมีทั้งหมด 158 ครัวเรือน (ข้อมูลปี 2565) จำนวนประชากร 552 คน (ข้อมูลปี 2565) ชาย 273 คน  หญิง 279 คน เป็นหมู่บ้านพหุวัฒนธรรม เป็นทีมีชุมชนอิสลามล้อมรอบชุมชนไทยพุทธเป็นหมู่บ้านที่เข้มแข็งและสามัคคีที่เป็นหมู่บ้านที่มีศักยภาพเหมาะในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมแบบผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง  และประชากรมีศักยภาพในการพัฒนา ประกอบกับมีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่สงบ มีความรัก ความสามัคคี เอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ ช่วยเหลือซึ่งกันและกัน และเป็นหมู่บ้านที่เป็นพื้นที่ที่ยังไม่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ เพราะในหมู่บ้านมีความเข้มแข็ง ปลอดภัย มีการช่วยเหลือสอดส่องดูแล และมีการบริหารจัดการที่ดี

จีน, มลายู

อาชีพหลัก ทำเกษตรกรรมสวนยาง สวนผลไม้ผสม

อาชีพเสริม การเลี้ยงโค ทำขนม ปลูกผักริมรั้ว เลี้ยงปลาในกระชัง 

การซื้อขายแลกเปลี่ยนภายในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร เครื่องปรุง เนื้อสัตว์ ผักสด ของใช้ในครัวเรือน ผ่านร้านขายของชำในชุมชน โดยมีร้านค้าภายในชุมชนจำนวน 2 ร้าน โดยนำสินค้าจากในพื้นที่และภายนอกมาจำหน่าย มีร้านค้าทั้งขายของชำและขายอาหารสด โดยการนำสินค้าจากชาวบ้านบางส่วนมาจำหน่ายในร้าน

การซื้อขายแลกเปลี่ยนกับคนภายนอก ส่วนใหญ่เป็นพืชเศรษฐกิจที่ได้จากการทำเกษตรกรรม เช่น ทุเรียน ลองกอง มังคุด หรือ ซื้อสินค้าจากรถกับข้าว ที่เข้ามาในชุมชนหรือตลาดนัดภายในชุมชนในช่วงเย็นของทุก ๆ วันพฤหัสบดีจะมีตลาดช่วงเย็น มีทั้งคนภายนอกและภายในพื้นที่ร่วมจำหน่ายสินค้า อุปโภคบริโภค โดยคนในชุมชนจะใช้วิธีการกักตุนอาหารให้เพียงพอต่อความต้องการในแต่ละสัปดาห์

การออกไปทำงานนอกชุมชน การออกไปทำงานนอกชุมชน คิดเป็น 52% ของคนในชุมชน ออกไปรับจ้างทำงานด้านอุตสาหกรรม พนักงานบริษัททั่วไปและรับราชการ แต่ยังกลับมาอาศัยอยู่ในพื้นที่ เนื่องจากบ้านกือแลอยู่ในเขตชุมชนที่ไม่ไกลมากจากตัวเมืองยะลาทำให้อัตราการออกไปทำงานนอกพื้นที่เยอะ และยังมีการออกไปทำงานต่างประเทศเพื่อนบ้าน เช่น มาเลเซีย อินโดนีเซีย เป็นต้น โดยคิดเป็นร้อยละ 5% จากจำนวนรายงานแรงงานในพื้นที่

ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกชุมชน สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่อยู่กันเป็นกลุ่มตามโซนเป็นหย่อม ๆ บางพื้นที่ไม่มีที่อยู่อาศัยห่างกันเป็น 2-3 กิโล และในส่วนมากจะดูแลกันเป็นโซนพื้นที่ เป็นชุมชนที่มีพื้นที่ว่างจากการปลูกสร้างที่พักอาศัยน้อยมาก ผู้คนจึงอยู่รวมเป็นกลุ่มในละแวกใกล้เคียงกับที่อยู่อาศัย ทำให้คนในชุมชนสามารถเข้ากันได้ทุกกลุ่ม โดยส่วนใหญ่จะเป็นเครือญาติที่ตามมาอยู่ในชุมชน

โครงสร้างอำนาจภายในชุมชน ตามโครงสร้างการปกครอง มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ทำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองท้องถิ่น ส่วนภายในชุมชนมีการทำโครงการต่าง ๆ จากภายนอกและงานขับเคลื่อนชุมชน โดยมีนายอับดุลรอซีดี ดอสามะ เป็นแกนนำชุมชน

การรวมกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นการรวมกลุ่มกันตามครอบครัวและกลุ่มที่สนิทกันหรือมีช่วงวัยเดียวกัน เช่น กลุ่มแกนนำชุมชนที่ทำงานชุมชนด้านต่าง ๆ กลุ่มเด็กและเยาวชน รวมตัวกันเพื่อจัดกิจกรรมทางศาสนา และทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน ส่วนกลุ่มที่ไม่เป็นทางการส่วนมาก รวมตัวกันจัดกิจกรรมร่วมด้วยช่วยกันเกี่ยวข้าว ส่งต่อเข้าสู่ชุมชนเพื่อลดอัตราการออกไปซื้อสินค้านอกพื้นที่

ด้านเศรษฐกิจ ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมในหมู่บ้านทำให้แรงงานออกไปทำงานนอกพื้นที่และแรงงานบางส่วนไม่มีงานทำ ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ

ด้านสังค นอกจากนี้ยังมีปัญหาในด้านความปลอดภัยในชีวิตและทรัพย์สินของประชาชนซึ่งมีผลกระทบมาจากสถานการณ์ความไม่สงบในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ทำให้ประชาชนเสียสุขภาพจิตเกิดความวิตกกังวลจนไม่สามารถไปประกอบอาชีพได้ตามปกติ

ด้านวัฒนธรรม ชาวบ้านแบหอที่นับถือศาสนาอิสลามจะจัดกิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา มีดังนี้

  • เมาลิดินนบี เป็นวันคล้ายวันประสูติของศาสดามูฮัมหมัด (ซล.) ศาสดาแห่งมนุษยชาติ ผู้ศรัทธาในศาสนาอิสลาม จะมีการรำลึกถึงคุณงามความดี หรือประวัติของท่านในอดีตกาล ในบรรยากาศแห่งความรัก และรำลึกถึงท่านอย่างแท้จริง ซึ่งจะจัดในเดือน เราะบีอุลเอาวัล ซึ่งเป็นเดือนที่ 3 ในปฏิทินอิสลาม

  • วันตรุษอิดิลฟิตรี หรือที่นิยมเรียกว่า วันรายอปอซอเพราะหลังจากที่มุสลิมได้ถือศีลอดมาตลอดในเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนที่ 9 ของศาสนาอิสลาม ก็จะถึงวันออกบวช ตอนเช้าจะมีการละหมาดร่วมกัน ทุกคนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาด สวยงาม และมีการจ่าย ซะกาตฟิตเราะฮ์

  • วันตรุษอิดิลอัฏฮา หรือวันรายอฮัจยี เนื่องจากมุสลิมทั่วโลกเริ่มประกอบพีธีฮัจญ์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย จะมีการทำกุรบานหรือการเชือดสัตว์เพื่อเป็นอาหารแก่เพื่อนบ้านและคนยากจน เพื่อขัดเกลาจิตใจให้เป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ ตรงกับเดือน ซุลฮิจยะห์ ซึ่งเป็นเดือนที่ 12 ในปฏิทินของศาสนาอิสลาม

  • การถือศีลอด เป็นหลักปฎิบัติที่มุสลิมจำเป็นต้องถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ตลอดระยะเวลา 1 เดือน มุสลิมที่มีอายุเข้าเกณฑ์ศาสนบัญญัติจะต้องงด การกิน ดื่ม การร่วมประเวณีตลอดจนทุกอย่าง ที่เป็นสิ่งต้องห้าม ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งตกดิน ทุกคนต้องสำรวมกาย วาจา ใจ เพราะเดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่มีประเสริฐยิ่งของศาสนาอิสลาม ซึ่งในเดือนนี้ ชาวมุสลิมจะไปละหมาดที่มัสยิด ซึ่งเป็นการละหมาดที่ปฏิบัติภายในเดือนรอมฎอนเท่านั้น เรียกว่า ละหมาดตะรอเวียะห์

  • การละหมาด เป็นการแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์ ซึ่งเป็นที่ศรัทธาของชาวมุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยถือว่าเป็นการเข้าเฝ้าผู้ทรงสร้างที่ยิ่งใหญ่ การแต่งกายต้องสะอาด เรียบร้อย มีความสำรวม พระองค์กำหนดเวลาละหมาดไว้วันละ 5 เวลา

  • การทำฮัจย์ อัลลอฮ์ทรงบังคับให้มุสลิมที่มีความสามารถด้านกำลังกาย กำลังทรัพย์ ต้องไปทำฮัจญ์ ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีขึ้นปีละครั้ง ชาวมุสลิมทั่วโลกจะเดินทางมารวมกัน เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร มีฐานะทางสังคมอย่างไร ต้องมาอยู่ที่เดียวกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ทุกคนมีฐานะเป็นบ่าวของอัลลอฮ์อย่างเท่าเทียมกัน ตรงกับเดือน ซุลฮิจยะห์ ซึ่งเป็นเดือนที่ 12 ในปฏิทินของศาสนาอิสลาม

  • การเข้าสุนัต เป็นพิธีกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวมุสลิม ถือกันว่ามุสลิมที่แท้จริงควรเข้าสุนัต ถ้าไม่ทำถือว่าเป็นมุสลิมที่ไม่สมบูรณ์ ไม่บริสุทธิ์ การเข้าสุนัต คือการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศของผู้ชายออก เพื่อสะดวกในการรักษาความสะอาด การเข้าสุนัตจะนิยมขลิบในช่วงเดือนเมษายนเนื่องจากเป็นช่วงปิดภาคการเรียนการสอนของเด็กในพื้นที่ กิจกรรมจะมีการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศ และมีการเตรียมอาหารเป็นข้าวเหนียวสีต่าง ๆ บางพื้นที่จะมีการขลิบเป็นหมู่คณะ โดยมีเด็กในชุมชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

  • ประเพณีการกวนอาซูรอ เป็นการรำลึกถึงความยากลำบากของศาสดา นบีนูฮ โดยเชื่อว่าในสมัยของท่านมีเหตการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ น้ำท่วมโลกเป็นระยะเวลานาน ศาสดานบีนูฮ ซึ่งล่องลอยเรืออยู่เป็นเวลานาน ทำให้อาหารที่เตรียมไว้ร่อยหรอลง จึงได้นำส่วนที่พอจะมีเหลือเอามารวมกันแล้วกวนกิน จึงกลายเป็นตำนานที่มาของขนมอาซูรอ

คำว่า "อาซูรอ" คือคำในภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม ในที่นี้หมายถึงการนำของที่รับประทานได้ทั้งของคาวและของหวานจำนวน 10 อย่าง มากวนรวมกัน ประเพณีจะจัดในวันที่ 10 ของเดือนมูฮัรรอม ซึ่งเป็นเดือนแรกของฮิจเราะห์ศักราชตามปฏิทินอิสลาม เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาปีใหม่ของมุสลิม ลักษณะกิจกรรมจะมีการรวมตัวของชาวบ้านโดยที่ชาวบ้านจะนำวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเผือก มัน ฟักทอง กล้วย ข้าวสาร ถั่ว เครื่องปรุง ข่าตะไคร้ หอมกระเทียม เมล็ดผักชี ยี่หร่า เกลือ น้ำตาล กะทิ โดยวัตถุดิบทั้งหมดจะถูกกวนในกระทะเหล็กใช้เวลาเกือบ 6-7 ชั่วโมง โดยต้องกวนตลอด จนกระทั่งสุกแห้ง เมื่อเสร็จเรียบร้อยมีการแจกจ่ายแบ่งปันให้แก่ชาวบ้าน ภาพที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงความสัมพันธ์และสามัคคีของคนในชุมชน

  • ประเพณีการกินนาซิบารู คำว่า "นาซิบารู" หมายถึง ข้าวสารใหม่ที่ได้ผ่านกรรมวิธีจากการลงแขกเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงฤดูทำนา เมื่อเสร็จการทำนา ข้าวเปลือกที่ได้จะนำไปโรงสีข้าวเพื่อเปลี่ยนมาเป็นข้าวสาร หลังจากนั้นชาวบ้านจะเชิญผู้รู้ทางศาสนาและคนในชุมชนมาร่วมรับประทานอาหารที่บ้านเพื่อเป็นการขอบคุณพระผู้เป็นเจ้าที่ได้ทำนาสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี

สำหรับชาวบ้านไทยพุทธจะจัดงานกิจกรรมได้แก่

  • สมโภชเจ้าแม่มาผ่อ แบหอ ซึ่งตั้งอยู่ที่บ้านแบหอ ตำบลกาลอ อำเภอรามัน จังหวัด ยะลา ใช้เวลาการเดินทางจากตัวเมืองยะลา ไปเส้นทางอำเภอรามัน ราว ๆ 20 นาที ภาพแรกเมื่อเราไปถึงและที่เห็น คือ ศาลเจ้าเล็ก ๆ ที่อยู่ในชุมชนแวดล้อมด้วยพี่น้องชาวไทยพุทธและมุสลิม ที่นี่มีชุมชนของผู้ที่นับถือเชื้อสายจีนอยู่ด้วย ชาวบ้านที่นั่นเล่าให้ฟังว่า เดิมที บ้านแบหอ จะมีคนที่นับถือเชื้อสายจีนอยู่ก่อน จากนั้น เริ่มที่จะมีพุทธและมุสลิมเข้ามาตั้งถิ่นฐาน และทุกปี ศาลเจ้าแม่มาผ่อ แบหอ จะมีการจัดงานสมโภชขึ้น เพื่อเป็นการบวงสรวงองค์เจ้าที่ประทับอยู่ในศาลเจ้าแห่งนี้ ความน่าสนใจอีกเรื่องคือ งานนี้จะมีพี่น้องที่เป็นพุทธและมุสลิมเดินทางมาร่วมงานด้วย

  • การสมโภชเจ้าแม่มาผ่อ แบหอ ได้รับความร่วมมือ ร่วมแรง และร่วมใจ จากคณะกรรมการศาลเจ้าแม่มาผ่อ แบหอ ประชาชนผู้เลื่อมใสศรัทธา ชุมชนชาวแบหอ และพี่น้องลูกหลานชุมชนแบหอที่ย้ายออกไปตั้งถิ่นฐานยังพื้นที่อื่น ๆ โดยจะพร้อมใจกันกลับมาช่วยงานเป็นประจำทุกปี และเสมือนเป็นการพบปะสังสรรค์ชุมชนแบหอประจำปี อันเป็นการสร้างขวัญ กำลังใจ ความรัก และความสมัครสมานสามัคคีให้เกิดขึ้นในชุมชนทั้งชาวไทยเชื้อสายจีน ชาวไทยพุทธและชาวไทยมุสลิม ซึ่งอยู่ร่วมกันด้วยความเข้าใจกัน ถือได้ว่าเป็นอัตลักษณ์ของชุมชนแบหอ ที่อยู่กันอย่างหลากหลาย และเชื่อว่าจะอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุข 

1. นายฮาซัน  พะยุซี  มีความชำนาญ การปลูกพืชเศรษฐกิจพอเพียง โดยได้เรียนรู้จากการอ่านหนังสือพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวราชกาลที่ 9 แล้วนำมาปรับใช้ในพื้นที่ของตนเอง

อาหาร  ขนมไข่ เป็นขนมที่ขึ้นชื่อของหมู่บ้านแบหอ ใช้สำหรับการไหว้เจ้า ใช้ในงานมงคลต่าง ๆ คนในชุมชนร่วมด้วยช่วยกันทำขนมตั้งขายเป็นวิสาหกิจเล็กของชุมชน ขนมทำด้วยแป้งสาลี ไข่ และน้ำตาล ตีให้เข้ากัน ใส่พิมพ์รูปต่าง ๆ ผิงเตาถ่านหรืออบไมโครเวฟให้สุก สูตรขนมไทยโบราณยังไม่พบหลักฐานแน่ชัด แต่เชื่อกันว่ามีถิ่นกำเนิดมาจากประเทศมาเลเซีย "ขนมไข่” เป็นขนมที่ใช้แม่พิมพ์เดียวกันกับ “ขนมอาเกาะ” ซึ่งเป็นขนมพื้นเมืองขึ้นชื่อของ 3 จังหวัด ชายแดนภาคใต้ของบ้านเรา ลักษณะเป็นวงรียาวหรือวงกลมคล้ายดอกไม้ มีส่วนผสมหลักที่คล้าย ๆ กัน หรือในบางพื้นที่ก็เรียก เค้กไข่โบราณ ปัจจุบับขนมไข่มีการประยุกต์ให้มีไส้ต่าง ๆ เช่น ใบเตย กล้วยหอม เผือก ช็อกโกแลต สตรอเบอรี่ ส้ม บลูเบอรี่ ลูกเกด คัสตาร์ด วานิลลา เป็นต้น

ภาษาที่ใช้พูด : ภาษามลายูท้องถิ่น และภาษาไทยใช้เป็นภาษรอง

ภาษาที่ใช้เขียน : ภาษาไทยกลาง

สถานการณ์การใช้ภาษาของผู้คนในชุมชนส่วนมากใช้ภาษามลายูท้องถิ่นและบางส่วนใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร


ประชาชนส่วนใหญ่นับถืออิสลามและศาสนาพุทธอยู่ด้วยกันอย่างเข้าใจกัน จากเหตุการณ์ความรุนแรงดังกล่าวเนื่องจากพื้นที่บ้านแบหออยู่รอยต่อระหว่างจังหวัดยะลา และนราธิวาส อำเภอรือเสาะ ซึ่งเป็นพื้นที่สีแดง ส่งผลกระทบต่อครอบครัวในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษเฉพาะกิจชายแดนใต้ ทำให้ประชาชนในพื้นที่มีวิถีชีวิตที่เปลี่ยนแปลงไปในการประกอบหาเลี้ยงชีพประจำวัน ความผูกพันในครอบครัว และสภาพจิตใจของครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ ความไม่สงบ แม้จะมีหน่วยงานทั้งภาครัฐ และภาคประชาสังคมต่างลงพื้นที่ช่วยเหลือและแก้ไขปัญหา แต่ก็ยังมีจำนวนผู้ประสบปัญหาอยู่ ตลอดจนความต้องการของครอบครัวผู้ได้รับผลกระทบที่สูญเสียสมาชิกในครอบครัว เหล่านี้มีความจำเป็นอย่างยิ่งที่จะต้องมีการศึกษาถึงสภาพการดำเนินชีวิตครอบครัวและความสามารถในการทำหน้าที่ครอบครัว เพื่อจะเป็นแนวทางในการส่งเสริมศักยภาพของครอบครัว สร้างเสริม ความเข้มแข็งและความมั่นคงให้กับสถาบันครอบครัว ทำให้มีคุณภาพชีวิตที่ดีและเป็นกลไกในการฟื้นฟู และแก้ไขปัญหาต่อไป ดังนั้นการศึกษาวิถีชีวิตของครอบครัวกับผลกระทบจากเหตุการณ์ความไม่สงบชายแดนใต้ กรณีศึกษาในเขตพื้นที่พัฒนาพิเศษ เฉพาะกิจชายแดนใต้จังหวัดสงขลา จึงมุ่งศึกษาถึงสภาพความเป็นอยู่ในมิติด้าน ครอบครัว ด้านสังคมและวัฒนธรรม ด้านเศรษฐกิจ และด้านสุขภาพกายและสุขภาพจิต โดยการศึกษาในครั้งนี้ทำให้ได้รับข้อมูลเชิงลึกเกี่ยวกับการดำเนินชีวิตของครอบครัว ในสถานการณ์ความไม่สงบและทำให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องได้ข้อมูลเพื่อนำไปช่วยเหลือ เยียวยาผู้ได้รับผลกระทบจากสถานการณ์ความไม่สงบในจังหวัดชายแดนภาคใต้

ในชุมชนบ้านแบหอมีจุดเด่นในด้านพหุวัฒนธรรม จัดงานประเพณีของคนจีน

ซากีเราะห์  นิมะเตะ. (26 กุมภาพันธ์ 2566). ข้อมูลชุมชนบ้านแบหอ. (โซเฟีย  ลือแบปัตตานี, ผู้สัมภาษณ์)

ภาวิณี สาแม, ฮาซัน พะยุซี. (26 กุมภาพันธ์ 2566). ภูมิปัญญา,ปราชญ์ชุมชน. (โซเฟีย  ลือแบปัตตานี, ผู้สัมภาษณ์)

พาซียะห์ สาแม. (26 กุมภาพันธ์ 2566). สภาพแวดล้อม,ประชากร. (โซเฟีย  ลือแบปัตตานี, ผู้สัมภาษณ์)

สารีป๊ะ ละนิติง. (26 กุมภาพันธ์ 2566). การประกอบอาชีพ. (โซเฟีย  ลือแบปัตตานี, ผู้สัมภาษณ์)

อบต.กาลอ โทร. 0-7372-9792