Advance search

ตือลอกลอ,สะดียอกาลอ

ชุมชนที่ความอุมดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติ สิ่งที่ทำให้คนรู้จักกาลอ คือช้างเผือกที่ได้มอบให้กับราชกาลที่ 9 เป็นที่เห็นได้ชัด และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ทางด้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นชุมชนต้นแบบวิถีคน วิถีป่า

หมู่ที่ 2
บ้านกาลอ
กาลอ
รามัน
ยะลา
อบต.กาลอ โทร. 0-7372-9792
อับดุลเลาะ รือสะ
9 ก.พ. 2023
นิรัชรา ลิลละฮ์กุล
24 มี.ค. 2023
อับดุลเลาะ รือสะ
27 เม.ย. 2023
บ้านกาลอ
ตือลอกลอ,สะดียอกาลอ

ที่มาของชื่อกาลอ มาจากข้อสันนิษฐาน 3 ข้อ คือ 1. มาจากไม้กาลอหรือไม้ไข่เขียว ซึ่งเป็นต้นไม้ขนาดใหญ่ที่มีอยู่มากมายบนเทือกเขากาลอ 2. มาจากคำว่า "ตือลอกลอ" หรือแมงป่อง เป็นสัตว์ร้ายในนิทานปรัมปรา 3. มาจากคำว่า "สะดียอกาลอ" ซึ่งเป็นสถานที่ที่เจ้าเมืองโกตาบารูใช้เป็นสถานที่เลี้ยงช้าง และเป็นที่เก็บสรรพาวุธ ตั้งอยู่ในบริเวณบ้านกาลอในปัจจุบัน


ชุมชนชนบท

ชุมชนที่ความอุมดมสมบูรณ์ไปด้วยธรรมชาติ สิ่งที่ทำให้คนรู้จักกาลอ คือช้างเผือกที่ได้มอบให้กับราชกาลที่ 9 เป็นที่เห็นได้ชัด และยังมีสถานที่ท่องเที่ยวมากมาย ทางด้านเศรษฐกิจพอเพียง เป็นชุมชนต้นแบบวิถีคน วิถีป่า

บ้านกาลอ
หมู่ที่ 2
กาลอ
รามัน
ยะลา
95140
6.402884301
101.3717321
องค์การบริหารส่วนตำบลกาลอ

กาลอ เป็นชุมชนเก่าแก่มีอายูราว 300 ปี เป็นชุมชนแห่งแรกของอำเภอรามันมีการตั้งถิ่นฐานมานานก่อนสมัยกษัตริย์อิสลามปกครอง ที่ตั้งชุมชนแต่ตั้งเดิมอยู่บริเวณที่เป็นกูโบ (สุสาน) บ้านทำนบ หมู่ที่ 3 ตำบลกาลอในปัจจุบัน   ในอดีตชาวบ้านกาลอดำรงชีพด้วยการทำนา ล่าสัตว์ หาปลา และเก็บของป่าเป็นอาหาร ต่อมาเมื่อประมาณ 300 ปีก่อน โต๊ะหะยีบากา ได้ริเริ่มชักชวนชาวบ้านให้ร่วมกันสร้างทำนบหรือฝายกั้นน้ำได้เพียงพอต่อการเพาะปลูก สามารถขยายพื้นที่ทำนาได้เพิ่มขึ้น ต่อมาเมื่อชุมชนขยายตัวมากขึ้น ชาวบ้านเริ่มบุกเบิกที่ดินทำกินในเขตที่เป็นเนินเขา ได้ทำการปลูกข้าวไร่หมุนเวียน ปลูกฝ้าย อ้อย มะพร้าว หมากพลูและผลไม้ต่างๆ ผลไม้ที่นิยมปลูกมากที่สุด คือ ทุเรียน ทุเรียนพื้นบ้านของกาลอเป็นทุเรียนที่มีชื่อเสียงและรสชาติดี คือพันธุ์ นาซิกูยิ (ข้าว-ขมิ้น) เนื้อจะมีสีเหลืองคล้ายขมิ้นเหมือนหัวกะทิ

การทำข้าวไร่ของชาวบ้านกาลอ จะเป็นรูปแบบไร่ข้าวหมุนเวียน คือ แต่ละครอบครัวจะแบ่งที่ดินที่บุกเบิกใหม่ออกเป็นแปลงๆ ประมาณ 5-10 แปลงโดยจะทำการเพาะปลูกข้าวหมุนเวียนกันไปในแต่ละแปลง ข้าวไร่ดังกล่าวจะมีรสชาติดีและให้ผลผลิตต่อไร่สูง เนื่องจากดินมีโอกาสพักตัว และวัชพืชที่ขึ้นปกคลุมจะถูกตัดฟันให้กลายเป็นปุ๋ยธรรมชาติที่มีคุณค่า นอกจากนี้การปลูกในลักษณะที่เคลื่อนย้ายไม่ทำซ้ำในที่เดิมทำให้ปราศจากโรคและแมลงรบกวน ต่อมาเมื่อชาวบ้านนิยมปลูกไม้ผลและยางพารามากขึ้น พื้นที่ปลูกข้าวไร่ก็ลดลงและหมดไปในที่สุด นอกจากนี้สตรีขาวกาลอยังเป็นช่างทอผ้าที่มีฝีมือ “บือแนบือลีจู” เป็นผ้าทอมือย้อมผลมะเกลือ มีเนื้อหนาและทนทาน ได้รับความนิยมจากคนในท้องถิ่นเป็นอย่างมาก

ผ้าที่มีฝีมือ “บือแนบือลีจู” เป็นที่น่าเสียดายไม่มีผู้สานต่อการทอผ้า มีผ้าบางส่วนที่ยังคงเก็บไว้ แต่ไม่ได้นำมาใช้งาน

ในปัจจุบันชุมชนกาลอมีความรุ่งเรืองทางเกษตรและการท่องเที่ยวเป็นอย่างมาก ส่งผลให้มีพัฒนาเส้นทางคมนาคม การสัญจรไปมาสะดวกมากยิ่งขึ้น

บ้านกาลอ อยู่ห่างออกจากเทศบาลตำบลโกตาบารูประมาณ 5 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวเมืองยะลา ประมาณ 30 กิโลเมตร การเดินทางสามารถเดินด้วยรถส่วนบุคคล รถโดยสารประจำทางได้

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านแบหอ หมู่ที่ 1 ตำบลกาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านดูซงตาวา หมู่ที่ 3 ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านตะโละมีแย หมู่ที่ 4 อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านตะโลกียะ หมู่ที่ 4 ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

สภาพพื้นที่ทางกายภาพ

ลักษณะภูมิประเทศ มีทั้งที่เป็นภูเขา ที่ราบสูง และที่ราบลุ่ม ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลาม มีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ เช่น น้ำตก ลาตอมูซอ น้ำตกไอร์ตาโลร์ ปัจจุบัน จากการขยายตัวของจำนวนประชากร ทำให้มีการขยายตัวของบ้านเรือนเพิ่มมากขึ้น พื้นที่การเกษตรจึงถูกพัฒนาเป็นพื้นที่อยู่อาศัยของคนในชุมชน สภาพโดยรวมทั่วไปยังพอมีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติ ส่วนที่เป็นพื้นที่เกษตรกรรมมีเป็นย่อมๆในพื้นที่และส่วนใหญ่จะอยู่รอบนอกหมู่บ้าน

จากข้อมูลที่สำรวจโดยบัณฑิตอาสาหมู่บ้าน ระบุจำนวนครัวเรือนมีทั้งหมด 328 ครัวเรือน (ข้อมูลปี 2565) จำนวนประชากร 1,383 คน (ข้อมูลปี 2565) ชาย 672 คน  หญิง 711 คน ทั้งหมดเป็นชาวไทยมุสลิม คนในชุมชนส่วนอยู่กับแบบครอบครัว ในละแวกใกล้เคียง มีความหลากหลายในช่วงวัย คนในสังคมมีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติทำให้คนในสังคมมีความเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ระหว่างกัน

มลายู

อาชีพหลัก ทำเกษตรกรรมมีการปลูกพืชเศรษฐกิจ การทำนาปรัง นาปี

อาชีพเสริม การเลี้ยงโค เลี้ยงแพะ เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลาในกระชัง และเย็บผ้า

การซื้อขายแลกเปลี่ยนภายในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร เครื่องปรุง เนื้อสัตว์ ผักสด ของใช้ในครัวเรือน ผ่านร้านขายของชำในชุมชน โดยมีร้านค้าภายในชุมชนจำนวน 18 ร้าน นำสินค้าจากในพื้นที่และภายนอกมาจำหน่าย

การซื้อขายแลกเปลี่ยนกับคนภายนอก ส่วนใหญ่เป็นพืชเศรษฐกิจที่ได้จากการทำเกษตรกรรม เช่น ทุเรียน ลองกอง หรือ ซื้อสินค้าจากรถกับข้าว (รถพุ่มพวง) ที่เข้ามาในชุมชนหรือตลาดนัดภายในชุมชนในช่วงเย็นและพื้นที่ตลาดนัดรอบนอก

การออกไปทำงานนอกชุมชน การออกไปทำงานนอกชุมชน คิดเป็น 33% ของคนในชุมชน เป็นออกออกไปรับจ้างทำงานด้านอุตสาหกรรม พนักงานบริษัททั่วไป แต่ยังกลับมาอาศัยอยู่ในพื้นที่

ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกชุมชน สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่อยู่กันเป็นกลุ่มตามโซน หรือละแวกใกล้เคียงกับที่อยู่อาศัย โดยส่วนใหญ่จะเป็นเครือญาติ

โครงสร้างอำนาจภายในชุมชน ตามโครงสร้างการปกครอง มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ทำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองท้องถิ่น ส่วนภายในชุมชนมีการทำโครงการต่าง ๆ จากภายนอกและงานขับเคลื่อนชุมชน โดยมีนายฮาซัน หะระตี เป็นแกนนำชุมชน

การรวมกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นการรวมกลุ่มกันตามครอบครัวและกลุ่มที่สนิทกันหรือมีช่วงวัยเดียวกัน เช่น กลุ่มแกนนำชุมชนที่ทำงานชุมชนด้านต่าง ๆ กลุ่มเด็กและเยาวชน รวมตัวกันเพื่อจัดกิจกรรมทางศาสนา และทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน ส่วนกลุ่มที่ไม่เป็นทางการส่วนมาก 

วัฒนธรรม ประเพณี ชาวบ้านกาลอ นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 100 มีการประกอบศาสนกิจรวมกันทุกคืน ทำให้เกิดผลดีในด้านการปฏิบัติศาสนกิจแล้วยังเกิดผลดี คือการสร้างความสามัคคีและการแลกเปลี่ยนทัศนคติ ข่าวสาร กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา มีดังนี้

  • เมาลิดินนบี เป็นวันคล้ายวันประสูติของศาสดามูฮัมหมัด (ซล.) ศาสดาแห่งมนุษยชาติ ผู้ศรัทธาในศาสนาอิสลาม มีการรำลึกถึงคุณงามความดี หรือประวัติของท่านในอดีตกาล ในบรรยากาศแห่งความรัก และรำลึกถึงท่านอย่างแท้จริง ซึ่งจะจัดในเดือน เราะบีอุลเอาวัล ซึ่งเป็นเดือนที่ 3 ในปฏิทินอิสลาม

  • วันตรุษอิดิลฟิตรี หรือที่นิยมเรียกว่า วันรายอปอซอเพราะหลังจากที่มุสลิมได้ถือ ศีลอดมาตลอด ในเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนที่ 9 ของศาสนาอิสลาม ก็จะถึงวันออกบวช ตอนเช้าจะมีการละหมาดร่วมกัน ทุกคนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาด สวยงาม และมีการจ่าย ซะกาตฟิตเราะฮ์

  • วันตรุษอิดิลอัฏฮา หรือวันรายอฮัจยี เนื่องจากมุสลิมทั่วโลกเริ่มประกอบพีธีฮัจญ์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย จะมีการทำกุรบานหรือการเชือดสัตว์เพื่อเป็นอาหารแก่เพื่อนบ้านและคนยากจน เพื่อขัดเกลาจิตใจให้เป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ จะตรงกับเดือน ซุลฮิจยะห์ ซึ่งเป็นเดือนที่ 12 ในปฏิทินของศาสนาอิสลาม

  • การถือศีลอด เป็นหลักปฎิบัติที่มุสลิมจำเป็นต้องถือศีลอด ในเดือนรอมฎอน ตลอดระยะเวลา 1 เดือน มุสลิมที่มีอายุเข้าเกณฑ์ศาสนบัญญัติจะต้องงด การกิน ดื่ม การร่วมประเวณีตลอดจนทุกอย่างที่เป็นสิ่งต้องห้าม ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งตกดิน ทุกคนต้องสำรวมกาย วาจา ใจ เพราะเดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่มีประเสริฐยิ่งของศาสนาอิสลาม ซึ่งในเดือนนี้ชาวมุสลิมจะไปละหมาดที่มัสยิด ซึ่งเป็นการละหมาดที่ปฏิบัติภายในเดือนรอมฎอนเท่านั้น เรียกว่า ละหมาดตะรอเวียะห์

  • การละหมาด เป็นการแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์ ซึ่งเป็นที่ศรัทธาของชาวมุสลิม ทุกคนต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยถือว่าเป็นการเข้าเฝ้าผู้ทรงสร้างที่ยิ่งใหญ่ การแต่งกายต้องสะอาด เรียบร้อย มีความสำรวม พระองค์กำหนดเวลาละหมาดไว้วันละ 5 เวลา

  • การทำฮัจญ์ อัลลอฮ์ทรงบังคับ ให้มุสลิมที่มีความสามารถด้านกำลังกาย กำลังทรัพย์ ต้องไปทำฮัจญ์ ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีขึ้นปีละครั้งชาวมุสลิมทั่วโลกจะเดินทางมารวมกัน เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร มีฐานะทางสังคมอย่างไรต้องมาอยู่ที่เดียวกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ทุกคนมีฐานะเป็นบ่าวของอัลลอฮ์อย่างเท่าเทียมกัน จะตรงกับเดือน ซุลฮิจยะห์ ซึ่งเป็นเดือนที่ 12 ในปฏิทินของศาสนาอิสลาม
  • การเข้าสุนัต เป็นพิธีกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวมุสลิม ถือกันว่ามุสลิมที่แท้จริงควรเข้าสุนัต ถ้าไม่ทำถือว่าเป็นมุสลิมที่ไม่สมบูรณ์ ไม่บริสุทธิ์ การเข้าสุนัต คือการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศของผู้ชายออก เพื่อสะดวกในการรักษาความสะอาด การเข้าสุนัตจะนิยมขลิบในช่วงเดือนเมษายนเนื่องจากเป็นช่วงปิดภาคการเรียนการสอนของเด็กในพื้นที่ กิจกรรมจะมีการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศ และมีการเตรียมอาหารเป็นข้าวเหนียวสีต่าง ๆ บางพื้นที่จะมีการขลิบเป็นหมู่คณะ โดยมีเด็กในชุมชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

  • ประเพณีการกวนอาซูรอ เป็นการรำลึกถึงความยากลำบากของศาสดา นบีนูฮ โดยเชื่อว่าในสมัยของท่านมีเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ น้ำท่วมโลกเป็นระยะเวลานาน ศาสดานบีนูฮ ซึ่งล่องลอยเรืออยู่เป็นเวลานาน ทำให้อาหารที่เตรียมใว้ร่อยหรอลง จึงได้นำส่วนที่พอจะมีเหลือเอามารวมกันแล้วกวนกิน จึงกลายเป็นตำนานที่มาของขนมอาซูรอ

คำว่า "อาซูรอ" คือคำในภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม ในที่นี้หมายถึงการนำของที่รับประทานได้ทั้งของคาวและของหวานจำนวน 10 อย่าง มากวนรวมกัน ประเพณีจะจัดในวันที่ 10 ของเดือนมูฮัรรอม ซึ่งเป็นเดือนแรกของฮิจเราะห์ศักราชตามปฏิทินอิสลาม เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาปีใหม่ของมุสลิม ลักษณะกิจกรรมจะมีการรวมตัวของชาวบ้านโดยที่ชาวบ้านจะนำวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเผือก มัน ฟักทอง กล้วย ข้าวสาร ถั่ว เครื่องปรุง ข่าตะไคร้ หอมกระเทียม เมล็ดผักชี ยี่หร่า เกลือ น้ำตาล กะทิ โดยวัตถุดิบทั้งหมดจะถูกกวนในกระทะเหล็กใช้เวลาเกือบ 6-7 ชั่วโมง โดยต้องกวนตลอด จนกระทั่งสุกแห้ง เมื่อเสร็จเรียบร้อยมีการแจกจ่ายแบ่งปันให้แก่ชาวบ้าน ภาพที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงความสัมพันธ์และสามัคคีของคนในชุมชน

  • กิจกรรมขี่ช้าง กินทุเรียน แช่น้ำตก ขี่ช้าง หุบเขาแห่งนี้ในอดีตเป็นหุบเขาที่มีการพบช้างเผือกและได้ถวายให้ในหลวงรัชกาลที่ 9 กินทุเรียน ตำบลแห่งนี้มีเรื่องราวของทุเรียนบ้าน ที่ผ่านมา เราได้อันดับที่ 1 จากการแข่งขันทุเรียนของจังหวัดยะลา ส่วนน้ำตกก็มีชื่อเสียงในระดับอำเภออยู่ ชาวบ้านมักจะเข้ามาท่องเที่ยวอยู่เป็นประจำ เป็นกิจกรรมที่ส่งเสริมการท่องเที่ยวและกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชน จัดขึ้นในช่วงฤดูทุเรียน 

1. นายมะตอเฮ  พะยุซี  มีความชำนาญ ด้านเศรษฐกิจพอเพียง/การเกษตรโดยยึดหลักความพอเพียงดำรงชีวิตตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง เป็นกรอบแนวคิด ซึ่งมุ่งให้ทุกคนสามารถพึ่งพาตัวเองได้ รวมถึงการพัฒนาให้ดียิ่งขึ้น จนเกิดความยั่งยืน คำว่า "พอเพียง" คือ การดำเนินชีวิตแบบทางสายกลาง โดยตั้งอยู่บนหลักสำคัญสามประการ คือ ความพอประมาณ ความมีเหตุผล และการมี แนวทางการทำการเกษตรแบบเศรษฐกิจพอเพียงโดยการส่งเสริม

  • การทำไร่นาสวนผสมและการเกษตรผสมผสานเพื่อให้เกษตรกรพัฒนาตนเองแบบเศรษฐกิจพอเพียง
  • การปลูกพืชผักสวนครัวลดค่าใช้จ่าย
  • การทำปุ๋ยหมักปุ๋ยคอกและใช้วัสดุเหลือใช้เป็นปัจจัยการผลิต(ปุ๋ย)เพื่อลดค่าใช้จ่ายและบำรุงดิน
  • การเพาะเห็ดฟางจากวัสดุเหลือใช้ในไร่นา
  • การปลูกไม้ผลสวนหลังบ้าน และไม้ใช้สอยในครัวเรือน
  • การปลูกพืชสมุนไพร ช่วยส่งเสริมสุขภาพอนามัย
  • การเลี้ยงปลาในร่องสวน ในนาข้าวและแหล่งน้ำ เพื่อเป็นอาหารโปรตีนและรายได้เสริม

ทุนวัฒนธรรม

มีทุนทางวัฒนธรรมและแหล่งท่องเที่ยว ตลอดจนแหล่งเรียนรู้ชุมชนที่น่าสนใจหลากหลาย มีศักยภาพที่จะพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ระดับจังหวัดได้ ทั้งนี้ยังขาดการประชาสัมพันธ์ และการพัฒนาการท่องเที่ยวอย่างเป็นระบบ และส่งเสริมให้ประชาชนได้ร่วมกันอนุรักษ์ศิลป วัฒนธรรมประเพณี ภูมิปัญญาท้องถิ่น ตลอดจนการรักษาอัตลักษณ์ชุมชนและรักษาทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมให้คงอยู่อย่างยั่งยืน ตลอดจนเพื่อสร้างงานสร้างรายได้ให้กับประชาชนในพื้นที่ และกระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่ให้ดีขึ้น

ภาษาที่ใช้พูด : ภาษามลายูท้องถิ่น

ภาษาที่ใช้เขียน : ภาษาไทยกลาง

สถานการณ์การใช้ภาษาของผู้คนในชุมชนส่วนมากใช้ภาษามลายูท้องถิ่นและบางส่วนใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร



การเปลี่ยนแปลงของสังคมไปสู่ความทันสมัย มีเทคโนโลยีทั้งด้านการศึกษา เทคโนโลยี โดยในชุมชนกาลอมีการเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือการเปลี่ยนแปลงทางด้านเส้นทางการสัญจร เส้นทางกาลอเป็นเส้นทางที่สามารถเข้าถึงในเขตจังหวัดนราธิวาสได้ 


เนื่องจากเป็นพื้นที่ประสบภัยพิบัติทางน้ำ เนื่องจากพื้นที่บ้านกาลออยู่ใกล้เทือกเขาทำให้มีความวิตกกังวลกับปัญหาน้ำป่าไหลหลากในช่วงฤดูฝน ยากต่อการคาดเดาและการเฝ้าระวังในช่วงวิกฤติในหน้าฝน

ในชุมชนบ้านกาลอมีจุดเด่นในเรื่องการประสมประสานวัฒนธรรมการการท่องเที่ยวเข้าไว้ด้วยกัน มีแหล่งท่องเที่ยวที่เป็นธรรมชาติ ได้แก่ น้ำตกไอร์ตาโล

ฮาซัน หะระตี. (9 กุมภาพันธ์ 2566). ข้อมูลชุมชนกาลอ. (โซเฟีย  ลือแบปัตตานี, ผู้สัมภาษณ์)

อิสมาแอ อาแซ. (9 กุมภาพันธ์ 2566). สภาพแวดล้อม, ภูมิปัญญา. (โซเฟีย  ลือแบปัตตานี, ผู้สัมภาษณ์)

เพจ สวท.ยะลา กรมประชาสัมพันธ์. เพจภูมิปัญญาท้องถิ่น. (2562). สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566. https://web.facebook.com/

องค์การบริหารส่วนตำบลกาลอ. ประวัติชุมชน. (2562). (ออนไลน์) สืบค้นเมื่อวันที่ 9 กุมภาพันธ์ 2566. เข้าถึงจาก https://www.kalor.go.th/

อบต.กาลอ โทร. 0-7372-9792