
บ้านโป่งกระทิงบนเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา มีอัตลักษณ์โดดเด่นในเรื่องภาษากะเหรี่ยง การแต่งกาย และมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
หน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ (พนค.) ของ กปร.กลาง ได้เข้ามาพัฒนาเส้นทาง และได้เห็นกระทิงและสัตว์อื่น ๆ มากินโป่งอยู่เป็นประจำ จึงเรียกชื่อใหม่ว่า "โป่งกระทิง" เนื่องจากสมัยนั้นมีดินโป่งอยู่หลายแห่ง จึงเรียกกลุ่มบ้านที่พบก่อนว่า "โป่งกระทิงล่าง" และเรียกกลุ่มบ้านโป่งกระทิงที่อยู่สูงขึ้นไปว่า "โป่งกระทิงบน"
บ้านโป่งกระทิงบนเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง มีสภาพภูมิประเทศเป็นที่ราบเชิงเขา มีอัตลักษณ์โดดเด่นในเรื่องภาษากะเหรี่ยง การแต่งกาย และมีแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติ
บ้านโป่งกระทิงบนเป็นหมู่บ้านเก่าแก่ของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยงโพล่ง หรือกะเหรี่ยงโปว์ ชื่อเดิมชื่อบ้าน กุยโน่ ซึ่งเป็นชุมชนของชาวไทยเชื้อสายกะเหรี่ยง "กุย" แปลว่า บึงหรือหนองน้ำ "โน่" คือ ต้นสัตบรรณหรือต้นตีนเป็ด ดังนั้น "กุยโน่" จึงหมายถึง ชุมชนที่มีหนองน้ำและไม้ตีนเป็ดขนาดใหญ่อยู่ใกล้หนองน้ำ ต่อมามีการลักลอบตัดไม้กับคนพื้นราบ คนพื้นราบเห็นว่าอยู่บนพื้นที่สูงจึงเรียกว่า บ้านบนเขา และเมื่อหน่วยพัฒนาการเคลื่อนที่ (พนค.) ของ กปร.กลางได้เข้ามาพัฒนาเส้นทางในสมัยที่ยังมีการต่อสู้ของคอมมิวนิสต์ ได้เห็นกระทิงและสัตว์อื่นมากินโป่งอยู่ประจำจึงเรียกชื่อใหม่ว่า "โป่งกระทิง" แต่เนื่องจากสมัยนั้นมีดินโป่งอยู่หลายแห่ง จึงเรียกกลุ่มบ้านที่ถึงก่อนว่า "โป่งกระทิงล่าง" และเรียกกลุ่มบ้านโป่งกระทิงที่อยู่สูงขึ้นไปว่า "โป่งกระทิงบน"
ลักษณะภูมิศาสตร์ ของบ้านโป่งกระทิงบน เป็นที่ราบเชิงเขา มีเนินเขาร่องห้วยที่ลาดชันอยู่มาก และบางส่วนเป็นพื้นที่ลุ่มและมีน้ำซับ ซึ่งเป็นต้นน้ำ เช่น น้ำซับบ้านพุรุไก่ ซับตัวหนอน ซึ่งเป็นเส้นที่ไหลสู่หมู่บ้าน โป่งกระทิงบน ด้านทิศตะวันออกและทิศใต้ของหมู่บ้านเป็นส่วนหนึ่งของแนวเทือกเขาตะนาวศรีที่เป็นภูเขาสูงชันที่มีป่าไม้สมบูรณ์และยังเป็นบางส่วนของต้นน้ำแม่ประจันที่ไหลสู่ อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี และอำเภอหนองหญ้าปล้อง จังหวัดเพรชรบุรี ส่วนบริเวณกลาง ทิศตะวันตกและเหนือ เป็นที่ราบเชิงเขาเป็นที่อยู่อาศัยของประชาชนและที่ทำการเกษตร การคมนาคมมีเส้นทางหลักทางหลวงหมายเลข 3313 ตัดผ่านเพื่อใช้สัญจรไปมาบ้านโป่งกระทิงบน
มีพื้นที่ทั้งหมด 44,382ไร่ พื้นที่อาศัย 105 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 973 ไร่ พื้นที่สาธารณประโยชน์ 21 ไร่ และพื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ 43,283 ไร่ มีสองกลุ่มบ้าน คือ บ้านโป่งกระทิงบน และบ้านปางกะม่า ซึ่งเป็นพื้นที่ทำไร่หมุนเวียนของชุมชน
พื้นที่อาณาเขตติดต่อ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ เทือกเขาตะนาวศรี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 2 บ้านโป่งกระทิงล่าง ต.บ้านบึง อ.บ้านคา
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 9 บ้านดงคา ต.บ้านบึง อ.บ้านคา
- ทิศใต้ ติดต่อกับ เทือกเขาตะนาวศรี
ประชากรรวมทั้งหมู่บ้านมีประมาณ 264 ครัวเรือน ประชากรชาย 351 คน หญิง 360 คน ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ
โพล่งเดือน | กิจกรรม |
มกราคม | ทำบุญขึ้นปีใหม่ |
กุมภาพันธ์ | - |
มีนาคม | - |
เมษายน | ทำบุญวันสงกรานต์ |
พฤษภาคม | - |
มิถุนายน | - |
กรกฎาคม | พิธีไหว้ต้นไม้ใหญ่, ปลูกข้าวกะเหรี่ยง |
สิงหาคม | ผูกข้อมือเรียกขวัญเดือน 9, ประเพณีกินข้าวห่อ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9, แห่ฉัตรรับพระ |
กันยายน | ตักบาตรเทโว, เกี่ยวข้าว (ฟาดข้าวกะเหรี่ยง) |
ตุลาคม | - |
พฤศจิกายน | ประเพณีแห่ฉัตรวันออกพรรษา |
ธันวาคม | ทำบุญสิ้นปี |
ทุนทางวัฒนธรรม
หมู่บ้านโป่งกระทิงบน เป็นชุมชนชาติพันธุ์กะเหรี่ยง จึงมีประเพณีเฉพาะตัวตั้งแต่บรรพบุรุษจนถึงปัจจุบันก็ยังมีให้เห็นอยู่ เช่น ประเพณีกินข้าวห่อเดือน 9 ผูกข้อมือเรียกขวัญเดือน 9 และมีวิถีชีวิตการทำนาแบบชาวกะเหรี่ยง
ทุนทางธรรมชาติ หมู่บ้านโป่งกระทิงบน เป็นที่ราบเชิงเขามีพื้นที่ลุ่มมีน้ำซับและมีป่าไม้ที่อุดมสมบูรณ์ จึงเหมาะต่อการทำการเกษตรและการทำแหล่งท่องเที่ยวเชิงธรรมชาติ
ภาษา ได้แก่ ภาษาไทย และกะเหรี่ยง
ประชากรส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรม ทำไร่สับปะรด รับจ้างทั่วไป รับจ้างจิกตาสับปะรด และโรงงานทำสับปะรดกระป๋อง
มีระบบน้ำประปาหมู่บ้าน
มีสถานีอนามัย จำนวน 1 แห่ง ได้แก่ สถานีอนามัยตำบลบ้านบึง
มีโรงเรียนระดับประถมศึกษาถึงระดับมัธยมศึกษา 1 แห่ง คือ โรงเรียนบ้านโป่งกระทิงบน
วัฒนธรรมตามประเพณีไทยนิยม และตามประเพณีของชาวกะเหรี่ยง
- นมัสการสักการะ หลวงพ่อนวม วัดแจ้งเจริญ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 5
- เวียนเจดีย์ เสากลางบ้าน แรม 14 ค่ำ เดือน 5
- พิธีไหว้ต้นไม้ประจำหมู่บ้าน ขึ้น 3 ค่ำ เดือน 6
- ไร่ข้าว วิถีหมุนเวียน เดือน 6
- ผูกข้อมือเรียกขวัญเดือน 9 กินข้าวห่อ ขึ้น 9 ค่ำ เดือน 9
- ประเพณีแห่ฉัตร วันออกพรรษา ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 11
ชุมชนคุณธรรม. (ม.ป.ป.). ข้อมูลทั่วไปบ้านโป่งกระทิงบน. สืบค้น 25 มีนาคม 2568. จาก https://moral.mculture.go.th/moralcommunity/
กลุ่มเยาวชนต้นกล้ารักษ์ป่าบ้านโป่งกระทิงบน. (ม.ป.ป). ข้อมูลทั่วไปบ้านโป่งกระทิงบน. สืบค้น 25 มีนาคม 2568. จาก https://www.scbfoundation.com/stocks/media/files/
ชุมชนบ้านโป่งกระทิงบน. (2561). แผนที่ชุมชนบ้านโป่งกระทิงบน. สืบค้น 25 มีนาคม 2568. จาก https://www.facebook.com/profile.php