Advance search

ปูแล

จุดชมวิวเทือกเขาลังกะ

หมู่ที่ 6
บ้านปูลัย
บาลอ
รามัน
ยะลา
เทศบาลบาลอ โทร. 0-7329-9523
อับดุลเลาะ รือสะ
15 ก.พ. 2023
นิรัชรา ลิลละฮ์กุล
24 มี.ค. 2023
อับดุลเลาะ รือสะ
27 เม.ย. 2023
บ้านปูลัย
ปูแล

ประวัติชุมชนปูลัยแต่เดิมมาจากชื่อต้นไม้ขนาดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่กลางหมู่บ้านในภาษามลายูท้องถิ่นเรียกว่า "ปูแล" แปลว่า ต้นตีนเป็ด ชาวบ้านกล่าวว่าพื้นที่แห่งนี้ในสมัยก่อนถูกล้อมรอบด้วยทุ่งนา โดยหมู่บ้านจะอยู่กลางทุ่งนา ลักษณะคล้ายกับเกาะ ภาษามลายู เรียกว่า "ปูลา" ต่อมาคำเหล่านี้มีการพูดด้วยสำเนียงของคนท้องถิ่นจึงเรียกติดปากว่า "ปูลัย"


ชุมชนชนบท

จุดชมวิวเทือกเขาลังกะ

บ้านปูลัย
หมู่ที่ 6
บาลอ
รามัน
ยะลา
95140
6.4570985738899
101.444623768329
องค์การบริหารส่วนตำบลบาลอ

ประวัติชุมชนปูลัยแต่เดิมมากจากชื่อต้นไม้ขนาดใหญ่ซึ่งตั้งอยู่กลางหมู่บ้านในภาษามลายูท้องถิ่นเรียกว่า "ปูแล" แปลว่า ต้นตีนเป็ด ชาวบ้านกล่าวว่าพื้นที่แห่งนี้ในสมัยก่อนจะล้อมรอบด้วยทุ่งนา โดยหมู่บ้านจะอยู่กลางทุ่งนา ลักษณะคล้ายกับเกาะ ภาษามลายู เรียกว่า "ปูลา" ต่อมาคำเหล่านี้มีการพูดด้วยสำเนียงของคนท้องถิ่นจึงเรียกติดปากว่า "ปูลัย"

พื้นที่ของชุมชนปูลัยจะมีลักษณะเป็นทุ่งนาซึ่งในอดีตเป็นพื้นที่สำคัญในการทำนาส่งข้าวไปพื้นที่อื่น ในสมัยก่อนพื้นที่รอบนอกชุมชนจะมีท่าเทียบเรือขนส่งสินค้า กล่าวกันว่าจะมีชาวบ้านนำข้าวสารมาแลกเปลี่ยนกับปลาแห้งหรือบูดูที่บริเวณท่าเทียบเรือที่ชุมชนละแอ

บ้านปูลัยอยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอรามัน ประมาณ 9 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 22 กิโลเมตร การเดินทางมายังชุมชนบ้านปูลัยสามารถเดินทางได้ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล 

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านละแอ หมู่ที่ 5 ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ เขาลังกะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านบาลอ หมู่ที่ 1 ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ บ้านบาลูกาปาลัส หมู่ที่ 7 ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

สภาพพื้นที่กายภาพ

สภาพทั่วไปของบ้านปูลัยมีลักษณะพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่มเหมาะแก่การทำนาและบางส่วนเป็นพื้นที่ติดเนินภูเขา โดยพื้นที่ของหมู่บ้านแบ่งเป็นพื้นที่สองส่วน บริเวณพื้นที่ส่วนในมีลักษณะพื้นที่ลุ่มเป็นที่อยู่อาศัยของชาวบ้านส่วนใหญ่ บ้านเรือนมีลักษณะเป็นบ้านไม้ทรงเก่าหลายหลังมีถนนขนาดเล็กลัดเลาะไปมาได้ ส่วนพื้นที่ด้านนอกบริเวณเชิงเขาจะมีการเพาะปลูกและทำการเกษตร ได้แก่ ปลูกยางพารา ทุเรียน และผลไม้ตามฤดู บางส่วนเป็นพื้นที่ทำนาแต่ไม่มีการทำนาแล้วในปัจจุบัน

จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2565 ระบุจำนวนครัวเรือน และประชากรชุมชนบ้านปูลัย จำนวน 278 หลังคาเรือน ประชากรรวมทั้งหมด 751 คน แบ่งประชากรชาย 361 คน หญิง 390 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยมุสลิมมลายู 100 เปอร์เซ็นต์ คนในชุมชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวที่มีความหลากหลายช่วงวัย มีเพียงส่วนน้อยที่อาศัยเป็นครอบครัวเดี่ยว จากรากฐานความสัมพันธ์เชิงเครือญาติทำให้ผู้คนในสังคมมีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกัน

มลายู

ผู้คนในชุนชนปูลัยมีการรวมกลุ่มที่เป็นทางการ

กลุ่มเลี้ยงไก่ดำ เป็นกลุ่มที่ได้รับการสนับสนุนจากภาครัฐเพื่อกระตุ้นเศรษฐกิจในชุมชนโดยมีผู้ใหญ่บ้าน เป็นผู้รับผิดชอบอีกทั้งยังเล็งเห็นการเลี้ยงไก่ดำเป็นการต่อยอดสร้างเครือค่ายของกลุ่มเลี้ยงไก่ในพื้นทีอีกด้วย

ด้านกลุ่มอาชีพ พื้นที่แห่งนี้ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพการเกษตร ปลูกต้นยาง ทุเรียน ลองกอง เป็นต้น ในอดีตเคยเป็นพื้นที่นาแต่ปัจจุบันไม่มีการทำนาแล้ว พบว่าบางส่วนทำงานราชการประมาณจากประชากรทั้งหมดในพื้นที่

ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกชุมชน สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่มีความสัมพันธ์ที่ดีต่อกัน มีการช่วยเหลือกันในชุมชน ในกิจกรรมของชุมชน เช่น งานเมาลิด งานมัสยิด งานแต่งงาน เป็นต้น เป็นชุมชนที่อาศัยอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ ทำให้คนในชุมชนสามารถเข้าได้ทุกกลุ่ม โดยส่วนใหญ่จะเป็นเครือญาติที่ตามมาอยู่ในชุมชน

ในรอบปีของผู้คนบ้านปูลัย มีวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นดังต่อไปนี้

วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม

  • งานเมาลิดนบี เป็นวันแห่งการยกย่องวันเกิดของท่านนบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.) คำว่า เมาลิด เป็นภาษาอาหรับแปลว่า เกิด, ที่เกิด หรือวันเกิด ซึ่งหมายถึงวันเกิดของท่านนบีมูฮัมหมัด (ซ.ล.) ตรงกับวันที่ 12 เดือนรอบือุลเอาวัล หรือเดือนที่ 3 ตามปฏิทินอิสลาม กิจกรรมในงานเมาลิดได้แก่ การอัญเชิญคัมภีร์อัล-กุรอาน การกล่าวสรรเสริญ อ่านซางี เพื่อระลึกถึงท่านนบีมูฮัหมัด (ซ.ล.) นอกจากนี้ยังมีการเลี้ยงอาหารแก่ผู้ที่ไปร่วมงานด้วย
  • วันรายอแนหรือรายอหก ความหมายรายอแน คือ คำว่า "รายอ" ในภาษามลายูแปลว่า ความรื่นเริง และ คำว่า "แน" คือ หก ในทางปฏิบัติ เมื่อถึงวันตรุษอีฎี้ลฟิตรี จะเฉลิมฉลองวันอีดใหญ่และวันต่อมาชาวบ้านมักจะถือศีลอด 6 วัน ในเดือนเชาวาลต่อเนื่องไปเลย จนครบ 6 วัน เมื่อเสร็จสิ้นการถือศีลอด คนในพื้นที่จะถือโอกาสนี้เฉลิมฉลองวันรายอแน โดยจะเดินทางไปทำบุญให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับที่กุโบร์หรือสุสาน
  • กิจกรรม ฟื้นฟูค่ำคืนนิสฟูซะห์บาน ค่ำคืนนิสฟูซะห์บานจะตรงตามปฎิทินอิสลาม วันที่ 14 เดือน ซะบาน โดยมีลักษณะกิจกรรม คือ มีการละหมาดฟัรดู อ่านอัลกุรอาน ซูเราะห์ยาซีน 3 จบ ซึ่งแต่ละจบจะมีดุอาร์ ขอพรจากอัลลอฮ์ เมื่อเสร็จพิธีการ จะมีการกินเลี้ยงร่วมรับประทานอาหาร และอาหารบางส่วนจะนำแจกจ่ายให้ชาวบ้านในหมู่บ้าน
  • วันตรุษอิดิลฟิตรี หรือที่นิยมเรียกว่า วันรายอปอซอเพราะหลังจากที่มุสลิมได้ถือศีลอดมาตลอดในเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนที่ 9 ของศาสนาอิสลาม ก็จะถึงวันออกบวช ตอนเช้าจะมีการละหมาดร่วมกัน ทุกคนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาด สวยงาม และมีการจ่าย ซะกาตฟิตเราะฮ์
  • วันอาซูรอ ตรงวันขึ้น 10 ค่ำ เดือนมูฮัรรอม ซึ่งตรงกับเดือนแรกของปฏิทินอิสลาม จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงประวัติของนบีนุฮ์ ตอนเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่
  • วันตรุษอิดิลอัฏฮา หรือวันรายอฮัจยี เนื่องจากมุสลิมทั่วโลกเริ่มประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย มีการทำกุรบานหรือการเชือดสัตว์เพื่อเป็นอาหารแก่เพื่อนบ้านและคนยากจน เพื่อขัดเกลาจิตใจให้เป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ ตรงกับเดือน ซุลฮิจยะห์ ซึ่งเป็นเดือนที่ 12 ในปฏิทินของศาสนาอิสลาม
  • การถือศีลอด เป็นหลักปฎิบัติที่มุสลิมจำเป็นต้องถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ตลอดระยะเวลา 1 เดือน มุสลิมที่มีอายุเข้าเกณฑ์ศาสนบัญญัติจะต้องงด การกิน ดื่ม การร่วมประเวณีตลอดจนทุกอย่างที่เป็นสิ่งต้องห้าม ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งตกดิน ทุกคนต้องสำรวมกาย วาจา ใจ เพราะเดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่มีประเสริฐยิ่งของศาสนาอิสลาม ซึ่งในเดือนนี้ชาวมุสลิมจะไปละหมาดที่มัสยิด ซึ่งเป็นการละหมาดที่ปฏิบัติภายในเดือนรอมฎอนเท่านั้น เรียกว่า ละหมาดตะรอเวียะห์
  • การละหมาด เป็นการแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์ซึ่งเป็นที่ศรัทธาของชาวมุสลิม ทุกคนต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยถือว่าเป็นการเข้าเฝ้าผู้ทรงสร้างที่ยิ่งใหญ่ การแต่งกายต้องสะอาด เรียบร้อย มีความสำรวม พระองค์กำหนดเวลาละหมาดไว้วันละ 5 เวลา
  • การทำฮัจญ์ อัลลอฮ์ทรงบังคับ ให้มุสลิมที่มีความสามารถด้านกำลังกาย กำลังทรัพย์ ต้องไปทำฮัจญ์ ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีขึ้นปีละครั้งชาวมุสลิมทั่วโลกจะเดินทางมารวมกัน เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร มีฐานะทางสังคมอย่างไรต้องมาอยู่ที่เดียวกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ทุกคนมีฐานะเป็นบ่าวของอัลลอฮ์อย่างเท่าเทียมกัน จะตรงกับเดือน ซุลฮิจยะห์ ซึ่งเป็นเดือนที่ 12 ในปฏิทินของศาสนาอิสลาม
  • การเข้าสุนัต เป็นพิธีกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวมุสลิม ถือกันว่ามุสลิมที่แท้จริงควรเข้าสุนัต ถ้าไม่ทำถือว่าเป็นมุสลิมที่ไม่สมบูรณ์ ไม่บริสุทธิ์ การเข้าสุนัต คือการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศของผู้ชายออก เพื่อสะดวกในการรักษาความสะอาด การเข้าสุนัตจะนิยมขลิบในช่วงเดือนเมษายนเนื่องจากเป็นช่วงปิดภาคการเรียนการสอนของเด็กในพื้นที่ กิจกรรมจะมีการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศ และมีการเตรียมอาหารเป็นข้าวเหนียวสีต่าง ๆ บางพื้นที่จะมีการคลิปเป็นหมู่คณะ มีเด็กในชุมชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพของประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก เช่น ปลูกยางพารา ทุเรียน ลองกอง บางส่วนทำการค้าขายและเลี้ยงไก่ซึ่งได้จัดตั้งเป็นชมรมเลี้ยงไก่ดำในหมู่บ้าน

1. นางรอมละ ตอแลมา ผู้เชี่ยวชาญในการทำคลอดแผนโบราณ ซึ่งได้รับการสืบทอดความจากรุ่นสู่รุ่นกล่าวว่ากันว่า ท่านเป็นที่รู้จักของคนในพื้นที่และนอกพื้นที่

ทุนวัฒนธรรม

มัสยิดปูลัย เป็นศูนย์รวมจิตใจของคนในชุมชนสถานที่แห่งนี้ไม่เพียงเป็นที่ละหมาดแต่ยังเป็นสถานที่รวมคนในชุมชนจัดกิจกรรม เช่น บรรยายธรรมศาสนา ละศีลอดและร่วมรับประทานพร้อมกัน จัดการละเล่นพื้นบ้านในบริเวณมัสยิด เป็นต้น

ภาษามลายู หรือภาษามาเลย์ เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ซึ่งใช้ในดินแดนประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน และภาคใต้ของประเทศไทย

ประเทศไทยมีจังหวัดที่มีประชากรพูดภาษามลายู คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาสและบางอำเภอของจังหวัดสงขลา ประชากรที่นี่ส่วนใหญ่เขียนและบันทึกโดยใช้อักษรยาวี ปัจจุบันคนในชุมชนยังคงรักษาไว้ซึ่งภาษาท้องถิ่นในพื้นที่อย่างเหนียวแน่น ชุมชนปูลัยยังคงสื่อสารภาษามลายูท้องถิ่นกันอย่างแพร่หลาย


การเปลี่ยนแปลงของสังคมไปสู่ความทันสมัย ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัดคือ การสร้างบ้านเรือนที่มีความทันสมัยมากขึ้นประกอบกับอิทธิพลทางการศึกษาสมัยใหม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเดิมมากขึ้น


ความท้าทายของชุมชนบ้านปูลัยเผชิญปัญหากับความท้าทายเกี่ยวกับไฟไหม้บ้านเรือนเนื่องจากพื้นที่ชุมสร้างบ้านด้วยไม้ทำให้บ้านเรือนเสียหายมาแล้วหลายหลังแต่อย่างไรก็ตามผู้ใหญ่บ้านในพื้นที่ได้เสนอต่อภาครัฐให้การวางสายดับเพลิงในบริเวณหมู่บ้านเพื่อง่ายต่อการใช้งานในเวลาที่มีเหตุฉุกเฉิน

ในชุมชนมีจุดน่าสนใจอื่น ๆ ได้แก่ จุดชมวิวเขาลังกะ 

ซูไรดา เจะนิ. (2559). การศึกษาภูมินามของหมู่บ้านในอำเภอรามัน จังหวัดยะลา. ทุนอุดหนุนจากงบประมาณการศึกษาประจำปี 2559.มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

กรมการปกครอง. (2565). ระบบสถิติทางการทะเบียน จำนวนประชากร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 14 กุมภาพันธ์ 2566. เข้าถึงได้ จาก https://stat.bora.dopa.go.th/

เทศบาลบาลอ โทร. 0-7329-9523