Advance search

ชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม จุดเด่นสำคัญของชุมชนนี้คือการจัดการขยะอย่างเป็นระบบหรือที่เรียกว่า "Zero Waste" โดยมีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง นำขยะอินทรีย์มาทำปุ๋ยหมัก และนำขยะรีไซเคิลไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน นอกจากนี้ ชุมชนยังพัฒนาเกษตรกรรมด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ระบบเกษตรอัจฉริยะ ที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน อีกทั้งความร่วมมือระหว่างคนในชุมชนและภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ก็เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็งและก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

หมู่ที่ 1
บ้านรางพลับ
กรับใหญ่
บ้านโป่ง
ราชบุรี
ทต.กรับใหญ่ โทร. 0 3229 1298
ธนพร บุรีเลิศ
25 มี.ค. 2025
สลิลทิพย์ เนื้อนุ่ม
11 เม.ย. 2025
สลิลทิพย์ เนื้อนุ่ม
11 เม.ย. 2025
บ้านรางพลับ

บ้านรางพลับ เป็นชุมชนซึ่งตั้งขึ้นมาสมัยบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคน โดยมีรำรางน้ำไหลเป็นสายใหญ่ หรือเรียกว่า ห้วยลำราง ซึ่งมีต้นไม้ชนิดหนึ่งขึ้นอยู่หนาแน่น เรียกว่า ต้นพลับ ชาวบ้านจึงพากันตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ตามลักษณะภูมิประเทศ ว่า "บ้านรางพลับ"


ชุมชนต้นแบบที่นำแนวคิดการพัฒนาอย่างยั่งยืนมาใช้ได้อย่างเป็นรูปธรรม จุดเด่นสำคัญของชุมชนนี้คือการจัดการขยะอย่างเป็นระบบหรือที่เรียกว่า "Zero Waste" โดยมีการคัดแยกขยะตั้งแต่ต้นทาง นำขยะอินทรีย์มาทำปุ๋ยหมัก และนำขยะรีไซเคิลไปสร้างมูลค่าเพิ่มให้กับชุมชน นอกจากนี้ ชุมชนยังพัฒนาเกษตรกรรมด้วยเทคโนโลยีสมัยใหม่ เช่น ระบบเกษตรอัจฉริยะ ที่ช่วยให้เกษตรกรสามารถเพิ่มผลผลิต ลดต้นทุน และรักษาสิ่งแวดล้อมไปพร้อมกัน อีกทั้งความร่วมมือระหว่างคนในชุมชนและภาคีเครือข่ายต่าง ๆ ก็เป็นแรงผลักดันสำคัญที่ทำให้ชุมชนเข้มแข็งและก้าวหน้าอย่างต่อเนื่อง

บ้านรางพลับ
หมู่ที่ 1
กรับใหญ่
บ้านโป่ง
ราชบุรี
70190
13.89792984310186
99.8572137864711
เทศบาลตำบลกรับใหญ่

เรื่องราวของชุมชน เป็นชุมชนลาวเวียงประวัติดั้งเดิมมาจากชาวลาวที่ถูกกวาดต้อนอพยพมาจากนครเวียงจันทร์ สาธารณรัฐประชาธิปไตยประชาชนลาว เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2321-2322 โดยสมเด็จพระเจ้ากรุงธนบุรี โปรดเกล้าฯ ให้เจ้าพระยามหากษัตริย์ศึก และเจ้าพระยาสุรสีห์ ยกทัพขึ้นไปตีเอาเมืองเวียงจันทร์ ด้วยเมืองเวียงจันทร์ในขณะนั้นไม่ปรองดองขาดความสามัคคีกันเกิดความอ่อนแอ และถูกหัวเมืองอื่น ๆ เข้ารุกรานอยู่บ่อย ๆ ชาวนครเวียงจันทร์ได้รับความเดือดร้อน เมื่อเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกและเจ้าพระยาสุรสีห์ตีได้นครเวียงจันทร์ จึงกวาดต้อนอพยพผู้คนเข้ามาสู่ประเทศไทย ส่วนหนึ่งอพยพมาไว้ที่ราชบุรีและได้สร้างบ้านเรือนชุมชนขึ้นแถววัดพญาไม้บริเวณ อำเภอเมืองราชบุรี ส่วนหนึ่งได้มีตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ ตำบลบ้านสิงห์ต่อมาบางส่วนได้แยกย้ายมาตั้งถิ่นฐานทำกินที่บ้านรางพลับในปัจจุบัน

บ้านรางพลับ เป็นชุมชนซึ่งตั้งขึ้นมาสมัยบรรพบุรุษหลายชั่วอายุคน โดยมีลำรางน้ำไหลเป็นสายใหญ่ หรือเรียกว่า ห้วยลำราง ซึ่งมีต้นไม้ชนิดหนึ่งขึ้นอยู่หนาแน่น เรียกว่า ต้นพลับ ชาวบ้านจึงพากันตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ตามลักษณะภูมิประเทศ ว่า "บ้านรางพลับ" ซึ่งเป็นหมู่บ้านขนาดใหญ่ คนในชุมชนอพยพมาจากหลายพื้นที่ คนส่วนใหญ่เป็นลาวภาคกลาง ได้แก่ ลาวเวียง ลาวโซ่ง ลาวญวน และมีบางส่วนมาจากเพชรบุรี (ไทย) มีเชื้อชาติจีนบางส่วน

ลักษณะภูมิประเทศ พื้นที่ทั้งหมด 3.7 ตารางกิโลเมตร บ้านรางพลับห่างจากอำเภอ 16 กิโลเมตร ถนนภายในหมู่บ้านเป็นลาดยาง 13 สาย สาธารณูปโภค มีไฟฟ้าและน้ำประปาครบทุกครัวเรือน มีอาณาเขต ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 2 ตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 12 ตำบลท่าผา อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 10 ตำบลกรับใหญ่ อำเภอบ้านโป่ง จังหวัดราชบุรี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ตำบลดอนขมิ้น และตำบลยางม่วง อำเภอท่ามะกา จังหวัดกาญจนบุรี

สถานที่สำคัญในชุมชน

สถานที่สำคัญภายในชุมชน ได้แก่ ศาลาอเนกประสงค์ จำนวน 2 แห่ง ศูนย์พัฒนาคุณภาพชีวิตและส่งเสริมอาชีพผู้สูงอายุ หอกระจายข่าวในชุมชน ลานกีฬา 1 แห่ง โรงสีข้าวชุมชน โรงงานอุตสาหกรรม 2 แห่ง ได้แก่ โรงงานประดับยนต์ C.N.K ร้านค้าขายของชำ 2 แห่ง ร้านอาหาร 3 แห่ง

ชุมชนบ้านรางพลับ ประกอบด้วย 366 ครัวเรือน มีประชากรรวมทั้งสิ้น 1,211 คน แยกเป็นเพศชาย 547 คน และเพศหญิง 664 คน ภายในชุมชนมีผู้สูงอายุจำนวน 235 คน โดยเป็นชาย 80 คน และหญิง 155 คน นอกจากนี้ ยังมีประชากรกลุ่มคนพิการรวม 51 คน ซึ่งแบ่งเป็นชาย 32 คน และหญิง 19 คน

จีน, ไทดำ, ไทยวน, ลาวเวียง

การประกอบอาชีพ ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพ เกษตรกรรมดังนี้

อาชีพ ทำนา ทำไร่ พืชผัก ไม้ผล ไม้ยืนต้น ประมง ปศุสัตว์ รวม
พื้นที่ทำการเกษตร 860 826 301 68 61 10 15 2,141
ครัวเรือน 129 79 52 44 12 1 19 336

 

กองทุนกลุ่มอาชีพ

ชื่อกลุ่ม ผู้นำ/ประธาน ข้อมูลการจัดตั้ง/สมาชิก/กิจกรรมกลุ่ม ฯลฯ
กองทุนหมู่บ้านรางพลับ นางวงจันทร์  อามหน้อย ก่อตั้งปี 2544 สมาชิก 163 คน
ประปาหมู่บ้าน นายสนั่น เตชะดี  
อาสาสมัครสาธารณสุข (อสม.)   นางผ่องศรี แก่นน้อย  
กลุ่มฌาปนกิจหมู่บ้าน ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 1, ผู้ใหญ่บ้าน หมู่ที่ 2  

วิถีชีวิต ชุมชนบ้านรางพลับมีความโดดเด่นคือ การน้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต เป็นแนวปฏิบัติของชุมชนในการบริหารจัดการขยะและการสร้างมูลค่าเพิ่มจากขยะ นำกลับมาใช้สิ่งที่เกิดประโยชน์ ผลิตเป็นสินค้าเกิดรายได้ บริหารจัดการพื้นที่ในครัวเรือนปลุกผักพืชสวนครัวไว้รับประทานเอง เหลือนำมาแบ่งปัน และจำหน่ายก่อเกิดรายได้ คนในชุมชนอยู่ดีกินดีมีความพอประมาณในการพึ่งพาตนเอง ทำการเกษตร ทำไร่อ้อย ทำนา ปลูกผัก รับจ้างทั่วไป เลี้ยงสัตว์ ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ ทำนา สมุนไพรพื้นบ้าน อาหารพื้นบ้าน

วิถีวัฒนธรรม

วัฒนธรรมประเพณี ชาวบ้านรางพลับอพยพมาจากหลายพื้นที่ ส่วนใหญ่เป็นลาวภาคกลาง คือ ลาวเวียง ลาวโซ่ง ไทยวน ภาษาที่ใช้เป็นภาษาลาว ยวน นับถือพุทธศาสนา ถือตาม ฮีตคอง คือ ฮีต 12 คอง 14 ค่ำ คือ งานบุญครบทั้ง 12 เดือน กิจกรรมประเพณีของชุมชนจะเกี่ยวข้องกับกลุ่มชาติพันธ์ุ เช่น ประเพณีสารทลาว ประเพณีตำข้าวเม่า ประเพณีเผาข้าวหลามเพ็ญเดือนสาม การลงแขกเกี่ยวข้าว ประเพณีจุลกฐิน คนลาวเวียง ทานอาหารลาว แต่งกายแบบลาวเวียงในเทศกาลสำคัญ มีการแสดงพื้นบ้านคือ วงพิณแคน เป็นการแสดงของชาติพันธุ์ลาว ดนตรีที่ใช้เป็นวงผสม มีแคน พิณ ซอ

วิถีทางเศรษฐกิจ

ผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ ข้าวหอมมะลิ 105 และข้าวหอมปทุมธานี 1 เป็นสินค้า OTOP ภายใต้โครงการ 9101 ตามรอยเท้าพ่อ ใต้ร่มพระบารมีเพื่อการเกษตรอย่างยั่งยืน วิสาหกิจชุมชนบ้านรางพลับ

ปราชญ์ท้องถิ่น

1.นางผ่องศรี แก่นน้อย : แพทย์แผนไทย, สมุนไพร, หมอพื้นบ้าน

2.นายศิริ เชยวงศ์อารี : ศาสนพิธี

3.นายสมบูรณ์ ฉิมฉลอง : ช่างไม้

4.นายสมบูรณ์ วงศ์ษา : ช่างไม้

5.นายบุญศรี โพธิ์เย็น : ช่างไม้

6.นางสำราญ ทิวากร : การเกษตร

7.นางทอง ธรรมจง : อาหารพื้นบ้าน

8.นางฟอง ทองกันยา

9.นางสมจิตร รุ่งเรือง

แหล่งเรียนรู้ชุมชน/แหล่งท่องเที่ยวชุมชน

  • หมู่บ้านคุณธรรมบ้านรางพลับ น้อมนำปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการบริหารจัดการชุมชน ให้ชุมชนปลอดขยะ หน้าบ้านน่ามอง ได้รับรางวัลชนะเลิศระดับประเทศ "ชุมชนปลอดขยะ" คนเข้ามาเที่ยวในชุมชนจึงร่วมกันเป็นแหล่งเรียนรู้ ศูนย์การเรียนรู้ชุมชนปลอดขยะ (ZERO WEST) เพื่อถ่ายทอดองค์ความรู้ในการบริหารจัดการขยะให้กับชุมชนอื่น เข้ามาศึกษาดูงาน มีกิจกรรมและฐานการเรียนรู้ เช่น ฐานการเรียนรู้สวนผักผสาน การปลูกผักหมักปุ๋ย ฐานการเรียนรู้การบริหารจัดการขยะ ฐานการเรียนรู้นำวัสดุรีไซเคิลมาต่อยอด เป็นต้น
  • วัดป่าสันติพุทธาราม มีพระมหาวีรพงศ์ วีรวังโส เป็นเจ้าอาวาส เป็นแหล่งเรียนรู้ด้านทรัพยากรธรรมชาติ การใช้พลังงานทดแทน การนำของเก่ากลับมาใช้ใหม่ เป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม ไม่มีการเผาใช้ศาสตร์การห่มดิน เพื่อเก็บความชื้น ได้แก่ ศูนย์การเรียนรู้เกษตรทฤษฎีใหม่ โคกหนองนา
  • โรงสีข้าวชุมชน เป็นแหล่งเรียนรู้ชุมชนด้านเศรษฐกิจพอเพียงการปลูกข้าว มีขั้นฐานการเรียนรู้การปลูกข้าว การสีข้าว ทุกขั้นตอนและแหล่งจำหน่ายข้าวสารปลอดสารพิษ เนื่องจากคนในชุมชนทำนาปลูกข้าว จึงตั้งโรงสีขึ้นมาเพื่อให้คนในชุมชนสีข้าวเพื่อรับประทาน และจำหน่าย สร้างรายได้ และแหล่งเรียนรู้สำหรับคนที่สนใจศึกษาดูงานการเกษตรเกี่ยวกับข้าว

ภาษาไทย ภาษาลาวเวียง ส่วนใหญ่เป็นลาวภาคกลาง ได้แก่ ลาวเวียง ลาวโซ่ง ลาวญวน และมีบางส่วนมาจากเพชรบุรี (ไทย) มีเชื้อชาติจีนบางส่วน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. (2566). ภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้าน ในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง. ราชบุรี : คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง

ทต.กรับใหญ่ โทร. 0 3229 1298