
ชุมชนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นทั้งด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวไทยวนที่ยังคงรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิม ทั้งด้านภาษา การแต่งกาย และงานหัตถกรรม โดยเฉพาะ “ผ้าจกไทยวน” ที่มีลวดลายวิจิตรงดงาม เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ภายในชุมชนยังมี "กาดวิถีชุมชนคูบัว" ซึ่งเป็นตลาดพื้นบ้านจัดขึ้นในวัดโขลงสุวรรณคีรี ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับอาหารพื้นเมือง การแสดง และวิถีชีวิตแบบไทยวนอย่างแท้จริง อีกทั้งยังตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองโบราณคูบัว ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญ
ชุมชนที่มีเอกลักษณ์โดดเด่นทั้งด้านประวัติศาสตร์และวัฒนธรรมท้องถิ่น ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชาวไทยวนที่ยังคงรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิม ทั้งด้านภาษา การแต่งกาย และงานหัตถกรรม โดยเฉพาะ “ผ้าจกไทยวน” ที่มีลวดลายวิจิตรงดงาม เป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมาหลายชั่วอายุคน ภายในชุมชนยังมี "กาดวิถีชุมชนคูบัว" ซึ่งเป็นตลาดพื้นบ้านจัดขึ้นในวัดโขลงสุวรรณคีรี ให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัสกับอาหารพื้นเมือง การแสดง และวิถีชีวิตแบบไทยวนอย่างแท้จริง อีกทั้งยังตั้งอยู่ในพื้นที่เมืองโบราณคูบัว ซึ่งเป็นแหล่งโบราณคดีสำคัญ
บ้านสระโบสถ์หรือเดิมคือบ้านโพธิ์งาม หรือบ้านล้อง ประชาชนในระยะแรกอพยพมาจากอำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย และยังคงรักษาวิถีชีวิต ศิลปวัฒนธรรมไทยวนไว้อย่างเคร่งครัด ต่อมาได้ผสมผสานกลมกลืนกับประเพณีของชุมชนภาคกลาง ซึ่งเป็นคนดั้งเดิมของชาวราชบุรี ความเคร่งครัดของวิถีชีวิตลดน้อยลง ดังนั้นศิลปวัฒนธรรมและวิถีชีวิตแบบเดิมเริ่มเลือนหายไปคงเหลือเอกลักษณ์ความเป็นไทยวนในอดีต ซึ่งเหลือให้เห็นเพียงภาษาพูดและศิลปะการทอผ้าจก ซึ่งเป็นมรดกทางศิลปวัฒนธรรมการแต่งกายของผู้หญิงไทยวน
บ้านสระโบสถ์มีพื้นที่ 950 ไร่ หรือ 1.52 ตารางกิโลเมตร มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 5 บ้านตะโก ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
- ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลบ่อกระดาน อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 บ้านใต้ ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 7 บ้านใหม่, หมู่ที่ 8 บ้านหนองยายแก้ว (บ้านหนองผ้าขาว) และ หมู่ที่ 12 บ้านหัวนา ตำบลคูบัว อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี
สาธารณูปโภค มีไฟฟ้า โทรศัพท์บ้าน โทรศัพท์มือถือ และประปาหมู่บ้านครอบคลุมทุกครัวเรือน
ลักษณะภูมิประเทศ เป็นที่ราบลุ่ม มีคลองน้ำทิ้งไหลผ่านหมู่บ้าน เหมาะกับการทำเกษตรกรรมทำนา ชาวบ้านตั้งถิ่นฐานอาศัยออกเป็น 4 กลุ่ม
การเดินทางเข้าหมู่บ้าน โดยทางรถยนต์ระยะทางจากอำเภอเมืองราชบุรี ไปทางทิศใต้ของตัวเมืองราชบุรี โดยใช้ทางหลวงหมายเลข 3339 ระยะทางประมาณ 5.250 กิโลเมตร
สถานที่สำคัญในชุมชน ได้แก่ อาคารอเนกประสงค์ ตลาดนัดวัดโขลง (ตลาดกำนันยงค์) กาดวิถีชุมชน คูบัว วัดโขลงสุวรรณคีรี จิปาถภัณฑ์สถานบ้านคูบัว กศน. ตำบลคูบัว ป้อมตำรวจ (สายตรวจวัดโขลงฯ) โบราณสถานหมายเลข 18, 24-25
บ้านสระโบสถ์คูบัว มีประชากรรวมทั้งสิ้น 764 คน เป็นชาย 366 คน หญิง 398 คน ผู้สูงอายุ (อายุ 60 ปี บริบูรณ์ขึ้นไป) รวมทั้งสิ้น 149 คน มีครัวเรือน จำนวน 271 ครัวเรือน
ไทยวนการประกอบอาชีพ ส่วนใหญ่ทำเกษตรกรรม บางส่วนรับราชการ รับจ้างทั่วไป ค้าขายและธุรกิจส่วนตัว มีอาชีพเสริมหรืออาชีพรอง ได้แก่ ทอผ้าจก ปลูกพืชผักสวนครัว เลี้ยงสัตว์
กลุ่มอาชีพชุมชน ได้แก่ กลุ่มเพื่อการเกษตร กลุ่มสตรีอาสาพัฒนา กลุ่ม อสม. กลุ่มฌาปนกิจบ้านสระโบสถ์ กองทุนในหมู่บ้าน กองบุญสวัสดิการชุมชนตำบลคูบัว คณะกรรมการการท่องเที่ยวในชุมชน
วิถีชีวิตและอัตลักษณ์ชุมชน
เรื่องราวของบ้านสระโบสถ์ทางประวัติศาสตร์จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ ชุมชนบ้านสระโบสถ์และชุมชนโดยรอบ เป็นที่ตั้งของเมืองโบราณคูบัว ลักษณะของแผนผังของเมืองโบราณเป็นรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้าขนาดใหญ่ กว้าง 800 เมตร ยาว 2000 เมตร ลักษณะเป็นเนินดินตามธรรมชาติ มีการก่อสร้างเป็นคูน้ำ 1 ชั้นและ คันดิน 2 ชั้น ล้อมรอบตัวเมือง ซึ่งมีลักษณะการสร้างเมืองเป็นแบบทวารวดี
คนในชุมชนส่วนใหญ่สืบเชื้อสายไท-ยวน มีบรรพบุรุษอพยพย้ายถิ่นฐานมาจากทางตอนเหนือของไทย แคว้นล้านนา ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 1 ได้ขับไล่พม่าออกจากเชียงแสน แล้วเคลื่อนย้ายชาวเชียงแสนไปตามหัวเมืองต่าง ๆ มาจนถึงเมืองราชบุรี ชาวไท-ยวนได้กระจายตัวตั้งถิ่นฐานอยู่ที่ตำบลคูบัว ทำให้มีวิถีชีวิต วัฒนธรรมประเพณีเป็นอัตลักษณ์ทางภาษา การแต่งกาย การทอผ้า อาหารท้องถิ่น และประเพณี
วิถีชีวิต คนในชุมชนส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายไท-ยวน มีบรรพบุรุษมาจากภาคเหนือของประเทศไทย คงมีการใช้ภาษาพูดไท-ยวน การแต่งกายแบบวัฒนธรรมดั้งเดิมใช้ผ้าทอพื้นเมืองและผ้าจก ในเทศกาลหรืองานประเพณีสำคัญ ส่งเสริมการแต่งกายในกิจกรรมการท่องเที่ยวเชิงวัฒนธรรม “กาดวิถีชุมชนคูบัว” ชาวบ้านส่วนใหญ่จะทำการเกษตร ทำนา น้อมนำหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงมาใช้ในการดำเนินชีวิต ปลูกผักเกษตรอินทรีย์ ทอผ้า รับจ้างทั่วไป
ภูมิปัญญาท้องถิ่น ได้แก่ การทอผ้าจกไท-ยวน มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์สืบทอดกันมาตามบรรพบุรุษ ส่วนอาหารท้องถิ่น ได้แก่ แกงผำ แกงหยวกกล้วย แกงผักปัง ปลาร้าทอด
วิถีวัฒนธรรม
วัฒนธรรมประเพณี ทำบุญประเพณี 12 เดือนตามเทศกาลประเพณีไทย เช่น ประเพณีสงกรานต์ มีกิจกรรมแห่พระพุทธศรีสุวรรณภูมิ แห่พระเจดีย์ทราย รำถวายสิ่งศักดิ์สิทธิ์ แต่งกายไท-ยวน ประเพณีทานขันข้าว ประเพณีตักบาตรเทโว ประเพณีบุญสลากภัต
วิถีทางเศรษฐกิจ
มีการจัดโปรแกรมเส้นทางการท่องเที่ยวชุมชน ในสถานที่สำคัญของตำบลคูบัว 1) วัดโขลงสุวรรณคีรี 2) วัดคูบัว 3) สหกรณ์การเกษตรไท-ยวนราชบุรี จำกัด 4) ศูนย์ส่งเสริมอาชีพทอผ้าจกบ้านใต้ หมู่ 4 5) วัดแคทราย 6) บ้านคุณยายซ้อน 7) บ้านหัตถกรรมผลิตภัณฑ์จากไม้ 8) จิปาถภัณฑ์สถานบ้านคูบัว 9) โบราณสถานหมายเลข 18 10) กาดวิถีชุมชนคูบัว
ผลิตภัณฑ์ชุมชน ได้แก่ ผลิตภัณฑ์โดดเด่นผ้าทอคูบัว ผ้าจกทอมือ ผ้าทอพื้นเมือง มีลวดลายเอกลักษณ์ เช่น ลายเซีย ลายนกคู่ ลายโก้งเก้ง ลายปลา เป็นต้น ผลิตภัณฑ์อื่น ๆ เช่น ลูกประคบ สมุนไพรน้ำอ้อยดำ ข้าวอินทรีย์
ปราชญ์ท้องถิ่น
ลำดับที่ | ชื่อ-สกุล | ภูมิปัญญาปราชญ์ท้องถิ่น |
1 | พระครูใบฎีกาสุพจน์ ธีรวโส | ศาสนาและวัฒนธรรม |
2 | นายตรีพล อารมณ์ชื่น | การท่องเที่ยวชุมชน |
3 | นายสมศักดิ์ มณฑา | การท่องเที่ยวชุมชน |
4 | นางอุทัยวรรณ ใจกว้าง | การท่องเที่ยวชุมชน สมุนไพรพื้นบ้าน อาหารท้องถิ่น |
5 | นางมณี สุขเกษม | การทอผ้าจกไท-ยวน |
6 | นางเรไร สิริปัญญา | อาหารพื้นถิ่น แกงหยวกกล้วย |
7 | นางมาลี ภู่ห้วย | แกงผำ |
- ชาวบ้านให้ความร่วมมือในการพัฒนาชุมชนเป็นอย่างดี
- มีเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ มีโบราณสถาน พิพิธภัณฑ์พื้นบ้าน กาดวิถีชุมชน ตลาดนัด
- มีภูมิปัญญาผ้าทอผ้าจกไท-ยวน
- มีภูมิปัญญาปราชญ์ท้องถิ่นด้านเศรษฐกิจพอเพียง
- มีพื้นที่เหมาะกับการเพาะปลูกทำการเกษตร
- มีถนนเชื่อมต่อหลายสายภายในหมู่บ้าน ทุกครัวเรือนมีไฟฟ้าและน้า ประปา
- หมู่บ้านเป็นแหล่งท่องเที่ยวชุมชน
- ส่วนราชการให้การสนับสนุนการดำเนินงานต่าง ๆ ของหมู่บ้าน
- ผู้นำชุมชนมีความเข้มแข็ง เสียสละ รับผิดชอบ
- นโยบาย อบต. ส่วนราชการ หน่วยงานอื่น ๆ เช่น สทบ. ธนาคาร ที่จะแก้ไขปัญหาของหมู่บ้านและประชาชน
- แหล่งเรียนรู้ชุมชน/แหล่งท่องเที่ยวชุมชน ได้แก่
- วัดโขลงสุวรรณคีรี
- โบราณสถานหมายเลข 18, 24-25 โบราณสถานหมายเลข 18 ตั้งอยู่ในบริเวณวัดโขลงสุวรรณคีรี เป็นโบราณสถานสมัยทวาราวดี มีขนาดใหญ่ที่สุด ลักษณะเป็นมูลเนินดินคล้ายภูเขา รูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า สันนิษฐานเป็นฐานของวิหาร
- จิปาถภัณฑ์สถานบ้านคูบัว เป็นพิพิธภัณฑ์ท้องถิ่น เป็นแหล่งเรียนรู้เกี่ยวกับชาติพันธุ์ไท-ยวน ที่รวบรวมเรื่องราววิถีชีวิตและภูมิปัญญาการทอผ้าจกไท-ยวน ซึ่งเป็นเอกลักษณ์และมรดกทางวัฒนธรรมของชาวไท-ยวน รวมทั้งเป็นแหล่งรวบรวมข้อมูลด้านวัฒนธรรม และการจำลองแสดงวิถีชีวิตชาวบ้าน จำนวน 10 ห้องมีเรื่องราวดังนี้ เรื่องราวภูมิปัญญาสมัยทวาราวดี เครื่องมือการทำมาหากิน มุมหลับนอนสอนลูกหลาน ระดมความคิดเห็นของคนในชุมชน วิถีชีวิตความเป็นอยู่ของชาวไท-ยวน ทำมาหากินของชาวไท-ยวน ภูมิปัญญาทอผ้าอนุรักษ์ผ้า และชาติพันธุ์ในจังหวัดราชบุรี
- กาดวิถีชุมชนคูบัว เป็นตลาดจำหน่ายสินค้าชุมชนที่มีจุดเด่นด้านทุนวัฒนธรรม คือโบราณสถานเก่าแก่ มีการใช้ภาษาพูด สื่อสารกับนักท่องเที่ยว มีการแต่งกายผ้าทอไท-ยวน สร้างอัตลักษณ์ชุมชน มีจำหน่าย อาหารพื้นบ้าน ผ้าจก ผ้าพื้นเมือง นักท่องเที่ยวเข้ามาเที่ยวสัมผัสประสบการณ์ท้องถิ่นได้ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ เวลา 09.30-19.30 น มีการแสดงศิลปวัฒนธรรม ตั้งแต่เวลา 17.00 น.
ภาษาไทยวน
- วัดโขลงสุวรรณคีรี บ้านสระโบสถ์
- โบราณสถานหมายเลข 18 ตั้งอยู่บริเวณวัดโขลงสุวรรณคีรี และจิปาถะภัณฑ์สถานบ้านคูบัวและ
- กาดวิถีชุมชนคูบัว ตั้งอยู่บริเวณวัดโขลงสุวรรณคีรี
มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง. (2566). ภูมิปัญญาปราชญ์ชาวบ้าน ในการพึ่งพาตนเองตามหลักเศรษฐกิจพอเพียง. ราชบุรี : มหาวิทยาลัยราชภัฏหมู่บ้านจอมบึง