Advance search

บ้านตะโล๊ะหะลอ

ถิ่นเสือสมิง วงเวียนใหญ่ตะโล๊ะหะลอ

หมู่ที่ 2
บ้านตะโล๊ะหะลอ
ตะโล๊ะหะลอ
รามัน
ยะลา
อบต.ตะโล๊ะหะลอ โทร. 0-7329-9821
อับดุลเลาะ รือสะ
10 ก.พ. 2023
นิรัชรา ลิลละฮ์กุล
24 มี.ค. 2023
อับดุลเลาะ รือสะ
28 เม.ย. 2023
บ้านตะโล๊ะหะลอ
บ้านตะโล๊ะหะลอ

ที่มาของชื่อหมู่บ้านมาจากคำว่า "ตะโล๊ะหมายถึง ทุ่งนา ภูเขาและมีป่าล้อม พื้นนา และคำว่า "หะลอหรือ "ฮาลอ"  หมายถึง เสือสมิง โดยชุมชนตะโล๊ะหะลอเป็นชุมชนที่เลี้ยงเสือสมิงในสมัยโบราณและเป็นแหล่งของเสือจำนวนมาก จึงขนานนามว่า "ตะโล๊ะหะลอ"


ชุมชนชนบท

ถิ่นเสือสมิง วงเวียนใหญ่ตะโล๊ะหะลอ

บ้านตะโล๊ะหะลอ
หมู่ที่ 2
ตะโล๊ะหะลอ
รามัน
ยะลา
95140
6.47298021557841
101.490686684846
องค์การบริหารส่วนตำบลตะโล๊ะหะลอ

บ้านตะโล๊ะหะลอเป็นชุมชนใหญ่เก่าแก่มาก เป็นชุมชนกึ่งชนบทและกึ่งชุมชนเมือง ซึ่งที่มาของชื่อหมู่บ้าน คือ มาจากคำว่า "ตะโล๊ะหมายถึง ทุ่งนาและภูเขาและมีป่าล้อมพื้นนา และคำว่า "หะลอ" หรือ "ฮาลอ" หมายถึง เสือสมิง โดยชุมชนตะโล๊ะหะลอเป็นชุมชนที่เลี้ยงเสือสมิงในสมัยโบราณและเป็นแหล่งของเสือจำนวนมาก จึงขนานนามว่า "ตะโล๊ะหะลอ" และคนกลุ่มแรกที่เข้ามาก่อตั้งหมู่บ้านคือ โต๊ะกลูบง, โต๊ะเงาะเดร์และโต๊ะกูปลีตอ

บ้านตะโล๊ะหะลออยู่ห่างจากที่ว่าการอำเภอรามัน ประมาณ 14 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดประมาณ 32 กิโลเมตร การเดินทางมายังชุมชนบ้านตะโล๊ะหะลอ สามารถเดินทางได้ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล รถโดยสารสองแถว

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติอต่อกับ บ้านบือเล็ง หมู่ที่ 1 ตำบลตะโล๊ะหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านบึงน้ำใส หมู่ที่ 5 ตำบลตะโล๊ะหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลสาวอ อำเภอรือเสาะ จังหวัดนราธิวาส
  • ทิศตะวันตก  ติดต่อกับ บ้านบือแนบูเกะ หมู่ที่ 4 ตำบลตะโล๊ะหะลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

สภาพพื้นที่กายภาพ

สภาพทางภูมิศาสตร์ของหมู่บ้านตะโล๊ะหะลอ มีลักษณะเป็นภูเขาและที่สูงและเป็นป่าทึบหนาแน่นสลับกับที่ราบลุ่มริมคลอง มีบึงน้ำเป็นส่วนใหญ่ ซึ่งมีที่นาและที่ทำมาหากินติดกับแม่น้ำสายบุรีและมีลุ่มน้ำสายบุรีติดกับภูเขาล้อมรอบ ปัจจุบันหนองน้ำที่เคยมีอยู่ในอดีตยังคงปรากฏอยู่และสามารถใช้ประโยชน์ทางการเกษตรและเป็นที่พักผ่อนหย่อนใจของประชาชนในพื้นที่ใกล้เคียง

จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี พ.ศ. 2565 ระบุจำนวนครัวเรือน และประชากรชุมชนบ้านโล๊ะหะลอ 584 จำนวน หลังคาเรือน ประชากรรวมทั้งหมด 1,971 คน แบ่งประชากรชาย 955 คน หญิง 1,016 คน ส่วนใหญ่เป็นชาวไทยเชื้อสายมลายูและบางส่วนเป็นไทยพุทธ คนในชุมชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวที่มีความหลากหลายช่วงวัย มีเพียงส่วนน้อยที่อาศัยเป็นครอบครัวเดี่ยว จากรากฐานความสัมพันธ์เชิงเครือญาติทำให้ผู้คนในสังคมมีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกัน

มลายู

ผู้คนในชุนชนตะโล๊ะหะลอ มีการรวมกลุ่มที่เป็นทางการ

กลุ่มสัจจะ เป็นกลุ่มที่จัดตั้งเพื่อช่วยเหลือคนในชุมชมในการออมเงินโดยจะเก็บเงินคนละ 1 บาท โดยนำเงินส่วนนี้ออมไว้ที่กลุ่มเมื่อได้จำนวนตามที่กำหนดสามารถทำการกู้ยืมได้ตามเงื่อนไขที่กลุ่มได้กำหนด

กลุ่มโครงการฟื้นฟูอาชีพและพัฒนาอาชีพชุมชนท้องถิ่น เป็นกลุ่มที่จัดตั้งขึ้นเพื่ออนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของคนในพื้นที่อย่าง กริชรามันห์

ในรอบปีของผู้คนบ้านตะโล๊ะหะลอ มีวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นดังต่อไปนี้

วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม

  • วันรายอแนหรือรายอหก ความหมายรายอแน คือ คำว่า "รายอ" ในภาษามลายูแปลว่า ความรื่นเริง และ คำว่า "แน" คือ หก ในทางปฏิบัติเมื่อถึงวันตรุษอีฎี้ลฟิตรี จะเฉลิมฉลองวันอีดใหญ่และวันต่อมาชาวบ้านมักจะถือศีลอด 6 วัน ในเดือนเชาวาลต่อเนื่องจนครบ 6 วัน เมื่อเสร็จสิ้นการถือศีลอด คนในพื้นที่จะถือโอกาสนี้เฉลิมฉลองวันรายอแน โดยจะเดินทางไปทำบุญให้กับบรรพบุรุษที่ล่วงลับที่กุโบร์หรือสุสาน ชุมชนตะโล๊ะหะลอจะจัดงานรายอหกที่สุสานตะโล๊ะหะลอเนื่องจากชุมชนแห่งนี้มีขนาดใหญ่ทำให้งานวันรายอหกมีผู้คนมาร่วมงานอย่างเนื่องแน่น

  • กิจกรรมฟื้นฟูค่ำคืนนิสฟูซะห์บาน ค่ำคืนนิสฟูซะห์บานจะตรงตามปฎิทินอิสลาม วันที่ 14 เดือน ซะบาน โดยมีลักษณะกิจกรรม คือ มีการละหมาดฟัรดู อ่านอัลกุรอาน ซูเราะห์ยาซีน 3 จบ ซึ่งแต่ละจบจะมีดุอาร์ ขอพรจากอัลลอฮ์ เมื่อเสร็จพิธีการ จะมีการกินเลี้ยงร่วมรับประทนอาหาร และอาหารบ้างส่วนจะนำแจกจ่ายให้ชาวบ้านในหมู่บ้าน

  • วันตรุษอิดิลฟิตรี หรือที่นิยมเรียกว่า วันรายอปอซอ เพราะหลังจากที่มุสลิมได้ถือศีลอดมาตลอดในเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนที่ 9 ของศาสนาอิสลาม ก็จะถึงวันออกบวช ตอนเช้าจะมีการละหมาดร่วมกัน ทุกคนแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาด สวยงาม และมีการจ่าย ซะกาตฟิตเราะฮ์

  • วันอาซูรอ ตรงวันขึ้น 10 ค่ำ เดือนมูฮัรรอม ซึ่งตรงกับเดือนแรกของปฏิทินอิสลาม จัดขึ้นเพื่อระลึกถึงประวัติของนบีนุฮ์ ตอนเกิดอุทกภัยครั้งใหญ่

  • วันตรุษอิดิลอัฏฮา หรือวันรายอฮัจยี เนื่องจากมุสลิมทั่วโลกเริ่มประกอบพีธีฮัจญ์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย จะมีการทำกุรบานหรือการเชือดสัตว์เพื่อเป็นอาหารแก่เพื่อนบ้านและคนยากจน เพื่อขัดเกลาจิตใจให้เป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ ตรงกับเดือน ซุลฮิจยะห์ ซึ่งเป็นเดือนที่ 12 ในปฏิทินของศาสนาอิสลาม

  • การถือศีลอด เป็นหลักปฎิบัติที่มุสลิมจำเป็นต้องถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ตลอดระยะเวลา 1 เดือน มุสลิมที่มีอายุเข้าเกณฑ์ศาสนบัญญัติจะต้องงด การกิน ดื่ม การร่วมประเวณีตลอดจนทุกอย่าง ที่เป็นสิ่งต้องห้าม ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งตกดิน ทุกคนต้องสำรวมกาย วาจา ใจ เพราะเดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่มีประเสริฐยิ่งของศาสนาอิสลาม ซึ่งในเดือนนี้ชาวมุสลิมจะไปละหมาดที่มัสยิด ซึ่งเป็นการละหมาดที่ปฏิบัติภายในเดือนรอมฎอนเท่านั้น เรียกว่า ละหมาดตะรอเวียะห์

  • การละหมาด เป็นการแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์ ซึ่งเป็นที่ศรัทธาของชาวมุสลิม ทุกคนต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยถือว่าเป็นการเข้าเฝ้าผู้ทรงสร้างที่ยิ่งใหญ่ การแต่งกายต้องสะอาด เรียบร้อย มีความสำรวม พระองค์กำหนดเวลาละหมาดไว้วันละ 5 เวลา

  • การทำฮัจญ์ อัลลอฮ์ทรงบังคับ ให้มุสลิมที่มีความสามารถด้านกำลังกาย กำลังทรัพย์ ต้องไปทำฮัจญ์ ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีขึ้นปีละครั้งชาวมุสลิมทั่วโลกจะเดินทางมารวมกัน เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร มีฐานะทางสังคมอย่างไร ต้องมาอยู่ที่เดียวกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ทุกคนมีฐานะเป็นบ่าวของอัลลอฮ์อย่างเท่าเทียมกัน ตรงกับเดือน ซุลฮิจยะห์ ซึ่งเป็นเดือนที่ 12 ในปฏิทินของศาสนาอิสลาม

  •  การเข้าสุนัต เป็นพิธีกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวมุสลิม ถือกันว่ามุสลิมที่แท้จริงควรเข้าสุนัต ถ้าไม่ทำถือว่าเป็นมุสลิมที่ไม่สมบูรณ์ ไม่บริสุทธิ์ การเข้าสุนัต คือการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศของผู้ชายออก เพื่อสะดวกในการรักษาความสะอาด การเข้าสุนัตจะนิยมขลิบในช่วงเดือนเมษายนเนื่องจากเป็นช่วงปิดภาคการเรียนการสอนของเด็กในพื้นที่ กิจกรรมจะมีการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศ และมีการเตรียมอาหารเป็นข้าวเหนียวสีต่าง ๆ บางพื้นที่จะมีการขลิบเป็นหมู่คณะ มีเด็กในชุมชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ

การประกอบอาชีพของประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมเป็นหลัก ได้แก่ สวนยางพารา สวนผลไม้ ค้าขาย บางส่วนรับราชการ เป็นต้น

1. นายตีพะลี อะตะบู มีความเชี่ยวชาญในการทำกริชรามันห์ หัวนกพิงกะ มากเป็นพิเศษโดยให้ความสำคัญกับการทำกริชตามโครงสร้างของกริชจากตระกูลปันไดสาระ ทั้งการตีใบกริช การทำหัวกริช การแกะสลักลวดลายดอกสิละบนหัวกริช การทำฝักกริช หรือจรรยาบรรณการทำกริช 25 ข้อ ที่ยึดถือปฎิบัติอย่างเคร่งครัด ท่านได้รับเกียรติในฐานะครูศิลป์ของแผ่นดิน สาขาช่างศิลหัตถกรรม ประเภทเครื่องโลหะ (กริชรามัน) ครูภูมิปัญญาไทยรุ่นที่ 4 ด้านศิลปกรรม (การทำกริช)

ทุนวัฒนธรรม

โรงผลิตกริชรมันห์ เป็นสถานที่ผลิตกริชรามันห์ที่ทรงคุณค่าอีกทั้งเป็นแหล่งให้ความรู้การทำกริชซึ่งนับว่าหาได้ยากแล้วในพื้นที่แห่งนี้ 

ภาษามลายู หรือภาษามาเลย์ เป็นภาษาหนึ่งในตระกูลภาษาออสโตรนีเซียน ซึ่งใช้ในดินแดนประเทศ มาเลเซีย อินโดนีเซีย บรูไน และภาคใต้ของประเทศไทย

ประเทศไทยมีจังหวัดที่มีประชากรพูดภาษามลายู คือ ปัตตานี ยะลา นราธิวาสและบางอำเภอของจังหวัดสงขลา ประชากรที่นี้ส่วนใหญ่เขียนและบันทึกโดยใช้อักษรยาวี ปัจจุบันคนในชุมชนยังคงรักษาไว้ซึ่งภาษาท้องถิ่นของพื้นที่อย่างเหนี่ยวแน่น


การเปลี่ยนแปลงของสังคมไปสู่ความทันสมัย ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด คือ การสร้างบ้านเรือนที่มีความทันสมัยมากขึ้นประกอบกับอิทธิพลทางการศึกษาสมัยใหม่ทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงจากเดิมมากขึ้น ความท้าทายของชุมชนบ้านตะโล๊ะหะลอเผชิญปัญหาเกี่ยวกับการขยายตัวของชุมชนที่ใหญ่ขึ้นมากกว่าเดิม เนื่องจากเป็นชุมชนที่อยู่บนถนนสายหลักที่จะไปผ่านไปสู่พื้นที่อื่นๆ แต่อย่างไรก็ตามประชาชนมีการปรับตัวเข้ากับสถานการณ์ในการเปลี่ยนของพื้นที่แห่งนี้

ในชุมชนมีจุดน่าสนใจอื่น ๆ ได้แก่ คอฟฟี่ริมทาง

ซูไรดา เจะนิ. (2559). การศึกษาภูมินามของหมู่บ้านในอำเภอรามัน จังหวัดยะลา. ทุนอุดหนุนจากงบประมาณการศึกษาประจำปี 2559. มหาวิทยาลัยราชภัฎยะลา.

กรมการปกครอง. (2565). ระบบสถิติทางการทะเบียน จำนวนประชากร. ออนไลน์. สืบค้นเมื่อวันที่ 10 กุมภาพันธ์ 2566. เข้าถึงได้จาก https://stat.bora.dopa.go.th/

อบต.ตะโล๊ะหะลอ โทร. 0-7329-9821