Advance search

ดีบุ

โดดเด่นการสร้างเสริมอาชีพ ทุ่งนาเขียวขจี

หมู่ที่ 5
บ้านตีบุ
ยะต๊ะ
รามัน
ยะลา
อบต.ยะต๊ะ โทร. 0-7329-9561
อับดุลเลาะ รือสะ
14 ก.พ. 2023
นิรัชรา ลิลละฮ์กุล
26 มี.ค. 2023
อับดุลเลาะ รือสะ
28 เม.ย. 2023
บ้านตีบุ
ดีบุ

พื้นที่แห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์ ล้อมรอบด้วยภูเขา สมัยก่อนชาวบ้านทำอาชีพขุดแร่ดีบุก จึงเป็นเหตุให้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า ตีบุ ที่มาจากคำว่า แร่ดีบุก เรื่อยมาชื่อเรียกจึงเพี้ยนจนเรียกว่า ตีบุ จนถึงปัจจุบัน


ชุมชนชนบท

โดดเด่นการสร้างเสริมอาชีพ ทุ่งนาเขียวขจี

บ้านตีบุ
หมู่ที่ 5
ยะต๊ะ
รามัน
ยะลา
95140
6.415935648
101.3862307
องค์การบริหารส่วนตำบลยะต๊ะ

เมื่อประมาณ 50 ปีที่แล้วมีชาวบ้านผู้ที่มีอยู่อาศัยในพื้นที่แห่งนี้ ชาวบ้านทำอาชีพขุดแร่ โดยในสมัยนี้พื้นที่แห่งนี้มีความอุดมสมบูรณ์ ล้อมรอบด้วยภูเขา จึงเป็นเหตุให้ตั้งชื่อหมู่บ้านว่า ตีบุ ที่มาจากคำว่า แร่ดีบุก

หมู่ที่ 5 ตั้งอยู่ในตำบลยะต๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ห่างจากอำเภอรามัน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 13 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดยะลา ไปทางทิศเหนือ 21 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 2,656 ไร่

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่ที่ 3 บ้านตะโล๊ะ ตำบลยะต๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ตำบลกาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 2 บ้านตูกู อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ตำบลบาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

สภาพพื้นที่ทางกายภาพ

ชุมชนบ้านตีบุ ตั้งอยู่ที่ราบค่อนข้างสูงและภูเขาสลับซับซ้อน มีภูมิอากาศเช่นเดียวกับภาคใต้ตอนล่างโดยทั่วไปของประเทศไทย ตั้งอยู่ในเขตมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือและลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มีสภาพอากาศแบบร้อนชื้น มี 2 ฤดู คือ ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่ เดือน มกราคม-เมษายน และฤดูฝนเริ่มตั้งแต่พฤษภาคม-ธันวาคม อุณภูมิต่ำสุดเฉลี่ยประมาณ 23.1 องศาเซลเซียสและสูงสุด เฉลี่ย 33.7 องศาเซลเซียส ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ย 22816-6 มิลลิเมตร ต่อปี มีฝนตกเฉลี่ย 135 วัน ต่อปี เดือนตุลาคม-ธันวาคม มีฝนตกชุกที่สุด

จากข้อมูลที่สำรวจโดยการเก็บข้อมูล จปฐ. ของบัณฑิตอาสา ระบุจำนวนครัวเรือนมีทั้งหมด 233 ครัวเรือน (ข้อมูลปี 2565) จำนวนประชากร 910 คน (ข้อมูลปี 2565) ชาย 443 คน หญิง 467 คน ทั้งหมดเป็นอิสลาม คนในชุมชนส่วนอยู่กับแบบครอบครัว ในละแวกใกล้เคียง มีความหลากหลายในช่วงวัย คนในสังคมมีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติทำให้คนในสังคมมีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกัน

มลายู

อาชีพหลัก ในพื้นที่บ้านตีบุ มีการประกอบอาชีพหลัก ๆ ได้แก่ ทำสวนยางพารา ปลูกไม้ผล ทำนา เย็บผ้า ค้าขาย

อาชีพเสริม การเลี้ยงโค เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลาในกระชัง ผ้ามัดย้อม

การซื้อขายแลกเปลี่ยนภายในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร เครื่องปรุง เนื้อสัตว์ ผักสด ของใช้ในครัวเรือน ผ่านร้านขายของชำในชุมชน โดยมีร้านค้าภายในชุมชนจำนวน 1 ร้าน โดยนำสินค้าจากในพื้นที่และภายนอกมาจำหน่าย

การซื้อขายแลกเปลี่ยนกับคนภายนอก ส่วนใหญ่เป็นพืชเศรษฐกิจที่ได้จากการทำเกษตรกรรม เช่น ทุเรียน ลองกอง มังคุด หรือ ซื้อสินค้าจากรถกับข้าว (รถพุ่มพวง) ที่เข้ามาในชุมชนหรือตลาดนัดภายในชุมชนในช่วงเย็นและพื้นที่ตลาดนัดรอบนอก

การออกไปทำงานนอกชุมชน การออกไปทำงานนอกชุมชน คิดเป็น 27% ของคนในชุมชน ออกไปรับจ้างทำงานด้านอุตสาหกรรม พนักงานบริษัททั่วไป แต่ยังกลับมาอาศัยอยู่ในพื้นที่

ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกชุมชน สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่อยู่กันเป็นกลุ่มตามโซน เป็นชุมชนที่มีพื้นที่ว่างจากการปลูกสร้างที่พักอาศัยน้อยมาก หรือละแวกใกล้เคียงกับที่อยู่อาศัย ทำให้คนในชุมชนสามารถเข้ากันได้ทุกกลุ่ม โดยส่วนใหญ่จะเป็นเครือญาติที่ตามมาอยู่ในชุมชน และมีกลุ่มแรงงานเข้ามาอาศัยอยูในพื้นที่

โครงสร้างอำนาจภายในชุมชน ตามโครงสร้างการปกครอง มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ทำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองท้องถิ่น ส่วนภายในชุมชนในการทำโครงการต่าง ๆ จากภายนอกและงานขับเคลื่อนชุมชน โดยมีนายอับดุลเล๊าะอิน กานิเซ็ง เป็นแกนนำชุมชน

การรวมกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นการรวมกลุ่มกันตามครอบครัวและกลุ่มที่สนิทกันหรือมีช่วงวัยเดียวกัน เช่น กลุ่มแกนนำชุมชนที่ทำงานชุมชนด้านต่าง ๆ กลุ่มสตรี กลุ่มเกษตรกร กลุ่มเด็กและเยาวชน รวมตัวกันเพื่อจัดกิจกรรมทางศาสนา และทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน ส่วนมากจะเป็นกลุ่มที่ไม่เป็นทางการไม่มีการจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่ม เพียงแต่เป็นการตั้งกลุ่มจากการเลือกกันเองในชุมชนและเป็นที่ยอมรับในพื้นที่ 

วัฒนธรรม ประเพณี ชาวบ้านปิแยะ นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 100 มีการประกอบศาสนกิจรวมกันทุกคืน ทำให้เกิดผลดีในด้านการปฏิบัติศาสนกิจแล้วยังเกิดผลดี คือการสร้างความสามัคคีและการแลกเปลี่ยนทัศนคติ ข่าวสาร กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา มีดังนี้

  • เมาลิดินนบี เป็นวันคล้ายวันประสูติของศาสดามูฮัมหมัด (ซล.) ศาสดาแห่งมนุษยชาติ ผู้ศรัทธาในศาสนาอิสลาม จะมีการรำลึกถึงคุณงามความดีหรือประวัติของท่านในอดีตกาล ในบรรยากาศแห่งความรัก และรำลึกถึงท่านอย่างแท้จริง ซึ่งจะจัดในเดือน เราะบีอุลเอาวัล เป็นเดือนที่ 3 ในปฏิทินอิสลาม

  • วันตรุษอิดิลฟิตรี หรือที่นิยมเรียกว่า วันรายอปอซอเพราะหลังจากที่มุสลิมได้ถือศีลอดมาตลอดในเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนที่ 9 ของศาสนาอิสลาม ก็จะถึงวันออกบวช ตอนเช้าจะมีการละหมาดร่วมกัน ทุกคนแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาด สวยงาม และมีการจ่าย ซะกาตฟิตเราะฮ์

  • วันตรุษอิดิลอัฏฮา หรือวันรายอฮัจยี เนื่องจากมุสลิมทั่วโลกเริ่มประกอบพิธีฮัจญ์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย มีการทำกุรบานหรือการเชือดสัตว์เพื่อเป็นอาหารแก่เพื่อนบ้านและคนยากจน เพื่อขัดเกลาจิตใจให้เป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ ตรงกับเดือน ซุลฮิจยะห์ ซึ่งเป็นเดือนที่ 12 ในปฏิทินของศาสนาอิสลาม

  • การถือศีลอด เป็นหลักปฎิบัติที่มุสลิมจำเป็นต้องถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ตลอดระยะเวลา 1 เดือน มุสลิมที่มีอายุเข้าเกณฑ์ศาสนบัญญัติจะต้องงด การกิน ดื่ม การร่วมประเวณีตลอดจนทุกอย่างที่เป็นสิ่งต้องห้าม ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งตกดิน ทุกคนต้องสำรวมกาย วาจา ใจ เพราะเดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่มีประเสริฐยิ่งของศาสนาอิสลาม ซึ่งในเดือนนี้ชาวมุสลิมจะไปละหมาดที่มัสยิด ซึ่งเป็นการละหมาดที่ปฏิบัติภายในเดือนรอมฎอนเท่านั้น เรียกว่า ละหมาดตะรอเวียะห์

  • การละหมาด เป็นการแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮ ซึ่งเป็นที่ศรัทธาของชาวมุสลิม ทุกคนต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยถือว่าเป็นการเข้าเฝ้าผู้ทรงสร้างที่ยิ่งใหญ่ การแต่งกายต้องสะอาด เรียบร้อย มีความสำรวม พระองค์กำหนดเวลาละหมาดไว้วันละ 5 เวลา

  • การทำฮัจญ์ อัลลอฮห์ทรงบังคับ ให้มุสลิมที่มีความสามารถด้านกำลังกาย กำลังทรัพย์ ต้องไปทำฮัจญ์ ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีขึ้นปีละครั้ง ชาวมุสลิมทั่วโลกจะเดินทางมารวมกัน เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮห์ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร มีฐานะทางสังคมอย่างไรต้องมาอยู่ที่เดียวกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ทุกคนมีฐานะเป็นบ่าวของอัลลอฮอย่างเท่าเทียมกัน ตรงกับเดือน ซุลฮิจยะห์ ซึ่งเป็นเดือนที่ 12 ในปฏิทินของศาสนาอิสลาม

  • การเข้าสุนัต เป็นพิธีกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวมุสลิม ถือกันว่ามุสลิมที่แท้จริงควรเข้าสุนัต ถ้าไม่ทำถือว่าเป็นมุสลิมที่ไม่สมบูรณ์ ไม่บริสุทธิ์ การเข้าสุนัต คือการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศของผู้ชายออก เพื่อสะดวกในการรักษาความสะอาด การเข้าสุนัตจะนิยมขลิบในช่วงเดือนเมษายนเนื่องจากเป็นช่วงปิดภาคการเรียนการสอนของเด็กในพื้นที่ กิจกรรมจะมีการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศ และมีการเตรียมอาหารเป็นข้าวเหนียวสีต่าง ๆ บางพื้นที่จะมีการขลิบเป็นหมู่คณะ โดยมีเด็กในชุมชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

  • ประเพณีการกวนอาซูรอ เป็นการรำลึกถึงความยากลำบากของศาสดา นบีนูฮ โดยเชื่อว่าในสมัยของท่านมีเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ น้ำท่วมโลกเป็นระยะเวลานาน ศาสดานบีนูฮ ซึ่งล่องลอยเรืออยู่เป็นเวลานาน ทำให้อาหารที่เตรียมใว้น้อยลง จึงได้นำส่วนที่พอจะมีเหลือเอามารวมกันแล้วกวนกิน จึงกลายเป็นตำนานที่มาของขนมอาซูรอ

คำว่า "อาซูรอ" คือคำในภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม ในที่นี้หมายถึงการนำของที่รับประทานได้ทั้งของคาวและของหวานจำนวน 10 อย่าง มากวนรวมกัน ประเพณีจะจัดในวันที่ 10 ของเดือนมูฮัรรอม ซึ่งเป็นเดือนแรกของฮิจเราะห์ศักราชตามปฏิทินอิสลาม เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาปีใหม่ของมุสลิม ลักษณะกิจกรรมจะมีการรวมตัวของชาวบ้านโดยที่ชาวบ้านจะนำวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเผือก มัน ฟักทอง กล้วย ข้าวสาร ถั่ว เครื่องปรุง ข่าตะไคร้ หอมกระเทียม เมล็ดผักชี ยี่หร่า เกลือ น้ำตาล กะทิ โดยวัตถุดิบทั้งหมดจะถูกกวนในกระทะเหล็กใช้เวลาเกือบ 6-7 ชั่วโมง โดยต้องกวนตลอด จนกระทั่งสุกแห้ง เมื่อเสร็จเรียบร้อยมีการแจกจ่ายแบ่งปันให้แก่ชาวบ้าน ภาพที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงความสัมพันธ์และสามัคคีของคนในชุมชน

  • ประเพณีการกินนาซิบารู คำว่า "นาซิบารู" หมายถึง ข้าวสารใหม่ที่ได้ผ่านกรรมวิธีจากการลงแขกเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงฤดูทำนา เมื่อเสร็จการทำนา ข้าวเปลือกที่ได้จะนำไปโรงสีข้าวเพื่อเปลี่ยนมาเป็นข้าวสาร หลังจากนั้นชาวบ้านจะเชิญผู้รู้ทางศาสนาและคนในชุมชนมาร่วมรับประทานอาหารที่บ้านเพื่อเป็นการขอบคุณพระผู้เป็นเจ้าที่ได้ทำนาสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี 

1. นางสาวมารินี  ประดู่  มีความชำนาญ การตัดเย็บเสื้อผ้ามืออาชีพ และยังเป็นวิทยากรชำนาญการสอนการตัดเย็บ โดยได้ไปเรียนรู้การตัดเย็บเสื้อผ้าจากนอกพื้นที่และมองว่าเป็นการสร้างรายได้ให้กับตนเองได้

ผลิตภัณฑ์ สตรีในพื้นที่ ได้มารวมกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี ส่งจำหน่ายในพื้นที่ 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้ โดยได้รับการสนับสนุนงบประมาณ จากกองทุนหมู่บ้าน เพื่อแก้ปัญหาความเดือดร้อน ด้านอาชีพ สร้างงาน สร้างรายได้ให้กับครอบครัวในช่วงว่างหลังเสร็จภารกิจจากงานประจำ การฝึกอาชีพของกลุ่มแม่บ้าน กลุ่มเยาวชน ที่ว่างงาน ที่ต้องการหาอาชีพเสริม มีรายได้เพิ่ม ที่อยู่นอกสถานประกอบการ ก็คือกลุ่มแม่บ้าน เช่น ค้าขาย ตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี กรีดยาง ก่อสร้าง จะเป็นลูกจ้างนอกสถานประกอบการ จึงเป็นที่มาของกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี

เดิมยังไม่มีการรวมกลุ่ม ต่างคนต่างเย็บที่บ้าน หลังจากมีโครงการ ให้มีการรวมกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าสตรีเข้ามา ซึ่งกลุ่มสตรีเหล่านี้เคยมีทักษะในการตัดเย็บอยู่แล้ว เป็นการมาเพิ่มเติมความรู้ โดยเปลี่ยนรูปแบบจากตัดเย็บเสื้อผ้าสตรี มาเป็นตัดเย็บเสื้อผ้า เนื่องจากเสื้อแบบเป็นที่นิยมของตลาดใน 3 จังหวัดชายแดนภาคใต้เป็นอย่างมาก ซึ่งไม่ค่อยจะมีร้านตัดเสื้อ จะมีเฉพาะร้านตัดเสื้อสตรี ทางกลุ่มจึงมีไอเดียเปลี่ยนเป็นตัดเย็บเสื้อตามแบบ เช่น เสื้อบาติก จากการที่ทางกลุ่มมีทักษะในการตัดเย็บอยู่แล้ว จึงเป็นการง่ายที่ทางกลุ่มจะหันมาตัดเสื้อจากแพทเทิร์น เพราะไม่แตกต่างมาก รายได้จากการตัดเย็บเสื้อผ้าต่อเดือนประมาณ 5 หมื่นกว่าบาท โดยเฉพาะช่วงเทศกาลก่อนฮารีรายอ นอกจากนั้น ยังรับออเดอร์จากหน่วยงานราชการต่าง ๆ ด้วย ทำให้มีรายได้พิเศษเข้ากลุ่ม หลังรับงานมาก็จะแบ่งงานให้กลุ่มกลับไปทำที่บ้าน แล้วก็จะมารวมยอดที่กลุ่ม ช่วงที่มีงานก็จะทำทุกวัน ช่วงหลังเทศกาล รายได้ก็จะน้อยลง 

ภาษาที่ใช้พูด :  ภาษามลายูท้องถิ่น

ภาษาที่ใช้เขียน : ภาษาไทยกลาง

สถานการณ์การใช้ภาษาของผู้คนในชุมชนส่วนมากใช้ภาษามลายูท้องถิ่นและบางส่วนใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร


ประชาชนส่วนใหญ่มีรายได้เฉลี่ยปีละ 41,725 บาท ครัวเรือนมีการออมจำนวน 189 ครัวเรือน

การประกอบอาชีพ ในพื้นที่บ้านตูกู มีการประกอบอาชีพหลากหลาย ประกอบด้วยการทำนาปลูกผัก เลี้ยงสัตว์ ทำสวนยางพารา ปลูกไม้ผล เช่น เงาะ ทุเรียน ลองกอง มังคุด

แรงงาน ส่วนใหญ่เป็นแรงงานในครัวเรือน เป็นแรงงานในการทำนา ทำสวนไม้ผล สวนยางพารา และแรงงานประเภทต่าง ๆ เช่น รับจ้าง ค้าขาย รับราชการ

สินค้าในตลาดมีปริมาณมากและราคาผลผลิตทางการเกษตรตกต่ำ


ชาวบ้านตูกูยึดมั่นในหลักศาสนา นับถือศาสนาอิสลาม 100% วิถีชีวิตอยู่กันแบบพี่ ๆ น้อง ๆ ใครเดือดร้อนก็ช่วยเหลือเกื้อกูลกัน อยู่กันเสมือนเครือญาติมีการประกอบศาสนกิจร่วมกันเป็นกลุ่มทุกคืน ไม่ว่าจะเป็นที่มัสยิด และสุเหร่า ทำให้เกิดผลดีนอกจากในด้านศาสนา แล้วยังมีผลดีในการแลกเปลี่ยนความคิดเห็น รับทราบข่าวสารและความเป็นอยู่ของชาวบ้าน

สถานประกอบศาสนกิจ ได้แก่ มัสยิด จำนวน 3 แห่ง คือ 1. มัสยิดนูรูลอิฮซาน โต๊ะแย๊ะ 2. มัสยิดยาแมะ ตีบุ 3. มัสยิดดารุสสาลามการศึกษา ได้แก่ โรงเรียนคีรีบูรณวัฒนา ตีบุ

เยาวชนขาดการศึกษา ไม่มีงานรองรับ

ในชุมชนบ้านตีบุ มีความโดดเด่นในเรื่องการพัฒนาชุมชนการส่งเสริมอาชีพให้คนในชุมชน

อับดุลเล๊าะอิน กานิเซ็ง. (12 กุมภาพันธ์ 2566). ข้อมูลชุมชนบ้านตีบุ. (โซเฟีย ลือแบปัตตานี, ผู้สัมภาษณ์)

มารินี ประดู่. (12 กุมภาพันธ์ 2566). ภูมิปัญญาปราชญ์ชุมชน. (โซเฟีย ลือแบปัตตานี, ผู้สัมภาษณ์)

ฮาสือน๊ะ เจ๊ะเต๊ะ และซูไบดา สาแม. (12 กุมภาพันธ์ 2566). สภาพแวดล้อมประชากร. (โซเฟีย ลือแบปัตตานี, ผู้สัมภาษณ์)

อบต.ยะต๊ะ โทร. 0-7329-9561