Advance search

ตะโล๊ะมีแย

เต็มไปด้วยนาข้าว ประชาอยู่เย็นเป็นสุข

หมู่ที่ 4
บ้านตะโล๊ะมีแย
กาลอ
รามัน
ยะลา
อบต.กาลอ โทร. 0-7372-9792
อับดุลเลาะ รือสะ
18 ก.พ. 2023
นิรัชรา ลิลละฮ์กุล
26 มี.ค. 2023
อับดุลเลาะ รือสะ
28 เม.ย. 2023
บ้านตะโล๊ะมีแย
ตะโล๊ะมีแย

หมู่บ้านตะโละมีแย เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งในหมู่บ้าน ต้นไม้ต้นนี้มีลำต้นสูงใหญ่ มีใบดก และที่แก่นไม้ของต้นมีแยต้นนี้ก็จะมีหยดน้ำไหลออกจากต้นด้วย 


ชุมชนชนบท

เต็มไปด้วยนาข้าว ประชาอยู่เย็นเป็นสุข

บ้านตะโล๊ะมีแย
หมู่ที่ 4
กาลอ
รามัน
ยะลา
95140
6.397994458
101.3797385
องค์การบริหารส่วนตำบลกาลอ

หมู่บ้านตะโละมีแย เป็นชื่อของต้นไม้ชนิดหนึ่งในหมู่บ้าน ต้นไม้ต้นนี้มีลำต้นสูงใหญ่ มีใบดก และที่แก่นไม้ของต้นมีแยนี้ก็จะมีหยดน้ำไหลออกจากต้น พืชชนิดนี้มีสรรพคุณหลายอย่าง สามารถนำมาทำเป็นยาสมุนไพรได้ คำว่า “ตะโละ” คือ หมู่บ้านที่อยู่ไกลจากบ้านคนอื่น ๆ และ "มีแย" หมายถึง ต้นไม้ชนิดหนึ่ง ในปัจจุบันหมู่บ้านตะโล๊ะมีแย มีพื้นที่สำหรับการทำการเกษตรและพื้นที่สำหรับที่อยู่อาศัย โดยพื้นที่ส่วนใหญ่จะเป็นทุ่งนา บ้านตะโล๊ะแบ่งออกเป็น 2 โซน มีบ้านตือลากอบือเจ๊าะ บ้านกือติงกาเตาะ และบางส่วนจะกระจายไปตามพื้นที่เกษตรกรรมของตนเอง โดยมีศาสนสถานเป็นศูนย์กลาง บริเวณที่มีประชากรที่อยู่หนาแน่น ได้แก่ ชุมชนบ้านกาลอ หมู่ที่ 2

บ้านตะโล๊ะมีแย หมู่ที่ 4 ตั้งอยู่ในตำบลกาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา ห่างจากอำเภอรามัน ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ 17 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัด มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ตำบลยะต๊ะ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่ที่ 3 บ้านทำนบ ตำบลกาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่ที่ 4 บ้านมาแฮ ตำบลบือมัง อำเภอรามัน จังหวัดยะลา
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่ที่ 2 บ้านกาลอ ตำบลกาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา

สภาพพื้นที่ทางกายภาพ

ชุมชนบ้านตะโล๊ะมีแย ตั้งอยู่ที่ราบค่อนข้างสูงและภูเขาสลับซับซ้อน มีภูมิอากาศเช่นเดียวกับภาคใต้ตอนล่างโดยทั่วไปของประเทศไท เป็นหมู่บ้านพหุวัฒธรรมที่มีชุมชนอิสลามล้อมรอบชุมชนไทยพุทธ เป็นหมู่บ้านที่เข้มแข็ง สามัคคี สามารถอยู่ร่วมกันได้เป็นอย่างดี ทั้งยังเป็นหมู่บ้านที่มีศักยภาพเหมาะในการประกอบอาชีพเกษตรกรรมแบบผสมผสานตามหลักปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียง และเป็นหมู่บ้านที่เป็นพื้นที่ที่ยังไม่เกิดเหตุการณ์ความไม่สงบ (เป็นพื้นที่สีเขียว) เพราะในหมู่บ้านมีความเข้มแข็ง ปลอดภัย มีการช่วยเหลือสอดส่องดูแล และมีการบริหารจัดการที่ดี

จากข้อมูลที่สำรวจโดยการเก็บข้อมูล จปฐ. ของบัณฑิตอาสา ระบุจำนวนครัวเรือนมีทั้งหมด 105 ครัวเรือน (ข้อมูลปี 2565) จำนวนประชากร 462 คน (ข้อมูลปี 2565) ชาย 232 คน หญิง 250 คน ทั้งหมดเป็นอิสลาม คนในชุมชนส่วนอยู่กับแบบครอบครัว ในละแวกใกล้เคียง มีความหลากหลายในช่วงวัย คนในสังคมมีความสัมพันธ์เชิงเครือญาติทำให้คนในสังคมมีความเอื้อเฟื่อเผื่อแผ่ระหว่างกัน

มลายู

อาชีพหลัก มีการประกอบอาชีพหลัก ๆ ได้แก่ ทำสวนยางพารา ปลูกไม้ผล ทำนา ค้าขาย

อาชีพเสริม การเลี้ยงโค เลี้ยงเป็ดเลี้ยงไก่ เลี้ยงปลาในกระชัง ทำนา เย็บผ้า

การซื้อขายแลกเปลี่ยนภายในชุมชน ส่วนใหญ่เป็นสินค้าจำเป็นในชีวิตประจำวัน เช่น อาหาร เครื่องปรุง เนื้อสัตว์ ผักสด ของใช้ในครัวเรือน ผ่านร้านขายของชำในชุมชน โดยมีร้านค้าภายในชุมชนจำนวน 1 ร้าน โดยนำสินค้าจากในพื้นที่และภายนอกมาจำหน่าย

การซื้อขายแลกเปลี่ยนกับคนภายนอก ส่วนใหญ่เป็นพืชเศรษฐกิจที่ได้จากการทำเกษตรกรรม เช่น ทุเรียน ลองกอง หรือ ซื้อสินค้าจากรถกับข้าว (รถพุ่มพวง) ที่เข้ามาในชุมชนหรือตลาดนัดภายในชุมชนในช่วงเย็นและพื้นที่ตลาดนัดรอบนอก

การออกไปทำงานนอกชุมชน การออกไปทำงานนอกชุมชน คิดเป็น 45% ของคนในชุมชน ออกไปรับจ้างทำงานด้านอุตสาหกรรม พนักงานบริษัททั่วไป แต่ยังกลับมาอาศัยอยู่ในพื้นที่

ความสัมพันธ์ระหว่างสมาชิกชุมชน สมาชิกชุมชนส่วนใหญ่อยู่กันเป็นกลุ่มตามโซน เป็นชุมชนที่มีพื้นว่างจากการปลูกสร้างที่พักอาศัยน้อยมาก หรือละแวกใกล้เคียงกับที่อยู่อาศัย ทำให้คนในชุมชนสามารถเข้าได้ทุกกลุ่ม โดยส่วนใหญ่จะเป็นเครือญาติ ที่ตามมาอยู่ในชุมชน และมีกลุ่มแรงงานเข้ามาอาศัยอยูในพื้นที่

โครงสร้างอำนาจภายในชุมชน ตามโครงสร้างการปกครอง มีผู้ใหญ่บ้านเป็นผู้ทำงานร่วมกับหน่วยงานปกครองท้องถิ่น ส่วนภายในชุมชนในการทำโครงการต่าง ๆ จากภายนอกและงานขับเคลื่อนชุมชน โดยมีนายมือเสาะ หะนะกาแมเป็นแกนนำชุมชน

การรวมกลุ่ม ส่วนใหญ่เป็นการรวมกลุ่มกันตามครอบครัวและกลุ่มที่สนิทกันหรือมีช่วงวัยเดียวกัน เช่น กลุ่มแกนนำชุมชนที่ทำงานชุมชนด้านต่าง ๆ กลุ่มสตรี กลุ่มเกษตรกร กลุ่มผู้นำศาสนา ผู้นำในชุมชน กลุ่มเด็กและเยาวชน รวมตัวกันเพื่อจัดกิจกรรมทางศาสนา และทำกิจกรรมร่วมกันในชุมชน ส่วนมากจะเป็นกลุ่มที่ไม่เป็นทางการไม่มีการจดทะเบียนจัดตั้งกลุ่ม เพียงแต่เป็นการตั้งกลุ่มจากการเลือกกันเองในชุมชน และเป็นที่ยอมรับในพื้นที่ 

ด้านวัฒนธรรม ประเพณี ชาวบ้านตะโล๊ะมีแย นับถือศาสนาอิสลาม ร้อยละ 100 มีการประกอบศาสนกิจรวมกันทุกคืน ทำให้เกิดผลดีในด้านการปฎิบัติศาสนกิจแล้วยังเกิดผลดี คือการสร้างความสามัคคีและการแลกเปลี่ยนทัศนคติ ข่าวสาร กิจกรรมวันสำคัญทางศาสนา มีดังนี้

  • เมาลิดินนบี เป็นวันคล้ายวันประสูติของศาสดามูฮัมหมัด (ซล.) ศาสดาแห่งมนุษยชาติ ผู้ศรัทธาในศาสนาอิสลาม มีการรำลึกถึงคุณงามความดีหรือประวัติของท่านในอดีตกาล ในบรรยากาศแห่งความรัก และรำลึกถึงท่านอย่างแท้จริง ซึ่งจะจัดในเดือน เราะบีอุลเอาวัล ซึ่งเป็นเดือนที่ 3 ในปฏิทินอิสลาม

  • วันตรุษอิดิลฟิตรี หรือที่นิยมเรียกว่า วันรายอปอซอ เพราะหลังจากที่มุสลิมได้ถือศีลอดมาตลอดในเดือนรอมฎอน ซึ่งเป็นเดือนที่ 9 ของศาสนาอิสลาม ก็จะถึงวันออกบวช ตอนเช้าจะมีการละหมาดร่วมกัน ทุกคนจะแต่งกายด้วยเสื้อผ้าที่สะอาด สวยงาม และมีการจ่าย ซะกาตฟิตเราะฮ์

  • วันตรุษอิดิลอัฏฮา หรือวันรายอฮัจยี เนื่องจากมุสลิมทั่วโลกเริ่มประกอบพีธีฮัจญ์ ณ เมืองเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย มีการทำกุรบาน หรือการเชือดสัตว์เพื่อเป็นอาหารแก่เพื่อนบ้านและคนยากจน เพื่อขัดเกลาจิตใจให้เป็นผู้มีความเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ต่อเพื่อนมนุษย์ ตรงกับเดือน ซุลฮิจยะห์ ซึ่งเป็นเดือนที่ 12 ในปฏิทินของศาสนาอิสลาม

  • การถือศีลอด เป็นหลักปฎิบัติที่มุสลิมจำเป็นต้องถือศีลอดในเดือนรอมฎอน ตลอดระยะเวลา 1 เดือน มุสลิมที่มีอายุเข้าเกณฑ์ศาสนบัญญัติจะต้องงด การกิน ดื่ม การร่วมประเวณีตลอดจนทุกอย่าง ที่เป็นสิ่งต้องห้าม ตั้งแต่ดวงอาทิตย์ขึ้นจนกระทั่งตกดิน ทุกคนต้องสำรวมกาย วาจา ใจ เพราะเดือนรอมฎอนเป็นเดือนที่มีประเสริฐยิ่งของศาสนาอิสลาม ซึ่งในเดือนนี้ชาวมุสลิมจะไปละหมาดที่มัสยิด ซึ่งเป็นการละหมาดที่ปฏิบัติภายในเดือนรอมฎอนเท่านั้น เรียกว่า ละหมาดตะรอเวียะห์

  • การละหมาด เป็นการแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์ ซึ่งเป็นที่ศรัทธาของชาวมุสลิมทุกคนต้องปฏิบัติอย่างเคร่งครัด โดยถือว่าเป็นการเข้าเฝ้าผู้ทรงสร้างที่ยิ่งใหญ่ การแต่งกายต้องสะอาด เรียบร้อย มีความสำรวม พระองค์กำหนดเวลาละหมาดไว้วันละ 5 เวลา

  • การทำฮัจญ์ อัลลอฮ์ทรงบังคับให้มุสลิมที่มีความสามารถด้านกำลังกาย กำลังทรัพย์ ต้องไปทำฮัจญ์ ณ นครเมกกะ ประเทศซาอุดีอาระเบีย ซึ่งมีขึ้นปีละครั้ง ชาวมุสลิมทั่วโลกจะเดินทางมารวมกัน เพื่อแสดงความจงรักภักดีต่ออัลลอฮ์ไม่ว่าคนนั้นจะเป็นใคร มีฐานะทางสังคมอย่างไร ต้องมาอยู่ที่เดียวกัน ทำกิจกรรมร่วมกัน ทุกคนมีฐานะเป็นบ่าวของอัลลอฮ์อย่างเท่าเทียมกัน ตรงกับเดือน ซุลฮิจยะห์ ซึ่งเป็นเดือนที่ 12 ในปฏิทินของศาสนาอิสลาม

  • การเข้าสุนัต เป็นพิธีกรรมที่สำคัญอย่างหนึ่งของชาวมุสลิม ถือกันว่ามุสลิมที่แท้จริงควรเข้าสุนัต ถ้าไม่ทำถือว่าเป็นมุสลิมที่ไม่สมบูรณ์ ไม่บริสุทธิ์ การเข้าสุนัต คือ การขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศของผู้ชายออก เพื่อสะดวกในการรักษาความสะอาด การเข้าสุนัตจะนิยมขลิบในช่วงเดือนเมษายนเนื่องจากเป็นช่วงปิดภาคการเรียนการสอนของเด็กในพื้นที่ กิจกรรมจะมีการขลิบหนังหุ้มอวัยวะเพศ และมีการเตรียมอาหารเป็นข้าวเหนียวสีต่าง ๆ บางพื้นที่จะมีการขลิบเป็นหมู่คณะ โดยมีเด็กในชุมชนเข้าร่วมเป็นจำนวนมาก

  • ประเพณีการกวนอาซูรอ เป็นการรำลึกถึงความยากลำบากของศาสดา นบีนูฮ โดยเชื่อว่าในสมัยของท่านมีเหตุการณ์อุทกภัยครั้งใหญ่ น้ำท่วมโลกเป็นระยะเวลานาน ศาสดานบีนูฮ ซึ่งล่องลอยเรืออยู่เป็นเวลานาน ทำให้อาหารที่เตรียมไว้น้อยลง จึงได้นำส่วนที่พอจะมีเหลือเอามารวมกันแล้วกวนกิน จึงกลายเป็นตำนานที่มาของขนมอาซูรอ

คำว่า "อาซูรอ" คือคำในภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม ในที่นี้หมายถึงการนำของที่รับประทานได้ทั้งของคาวและของหวานจำนวน 10 อย่าง มากวนรวมกัน ประเพณีจะจัดในวันที่ 10 ของเดือนมูฮัรรอม ซึ่งเป็นเดือนแรกของฮิจเราะห์ศักราชตามปฏิทินอิสลาม เรียกได้ว่าเป็นช่วงเวลาปีใหม่ของมุสลิม ลักษณะกิจกรรมจะมีการรวมตัวของชาวบ้านโดยที่ชาวบ้านจะนำวัตถุดิบที่หาได้ในท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นเผือก มัน ฟักทอง กล้วย ข้าวสาร ถั่ว เครื่องปรุง ข่าตะไคร้ หอมกระเทียม เมล็ดผักชี ยี่หร่า เกลือ น้ำตาล กะทิ โดยวัตถุดิบทั้งหมดจะถูกกวนในกระทะเหล็กใช้เวลาเกือบ 6-7 ชั่วโมง โดยต้องกวนตลอด จนกระทั่งสุกแห้ง เมื่อเสร็จเรียบร้อยมีการแจกจ่ายแบ่งปันให้แก่ชาวบ้าน ภาพที่เกิดขึ้นสะท้อนถึงความสัมพันธ์และสามัคคีของคนในชุมชน

  • ประเพณีการกินนาซิบารู คำว่า "นาซิบารู" หมายถึง ข้าวสารใหม่ที่ได้ผ่านกรรมวิธีจากการลงแขกเก็บเกี่ยวข้าวในช่วงฤดูทำนา เมื่อเสร็จการทำนา ข้าวเปลือกที่ได้จะนำไปโรงสีข้าวเพื่อเปลี่ยนมาเป็นข้าวสาร หลังจากนั้นชาวบ้านจะเชิญผู้รู้ทางศาสนาและคนในชุมชนมาร่วมรับประทานอาหารที่บ้านเพื่อเป็นการขอบคุณพระผู้เป็นเจ้าที่ได้ทำนาสำเร็จลุล่วงได้ด้วยดี

พฤติกรรมการกินอยู่ การทำงาน

การทำงานส่วนใหญ่ประกอบอาชีพทำสวนยาง ทำเกษตรผสมผสาน และค้าขายเป็นหลัก เนื่องจากเป็นพื้นที่ทางผ่านสำหรับเดินทางไปนราธิวาส และพื้นที่ที่เป็นของสมาชิกชุมชน รวมถึงการออกไปรับจ้างทำงานภายนอกชุมชนในบางช่วงเวลา

อาหาร ใช้วัตถุดิบที่หาได้จากในชุมชน เช่น ผักพื้นบ้านที่ได้จากละแวกบ้านและในไร่ ของป่าตามฤดูกาล ข้าว ส่วนเนื้อสัตว์และผักภายนอกซื้อจากรถพุ่มพวงและร้านค้าในชุมชน ที่จะรับสินค้าจากข้างนอกเข้ามาขาย เช่น เนื้อ ไก่ ไส้กรอกลูกชิ้น ผักต่าง ๆ ไข่ไก่ ส่วนเครื่องปรุงต่าง ๆ เช่น น้ำปลา ซีอิ๊ว น้ำมันพืช จะซื้อจากร้านขายของชำเป็นหลัก

1. นายมือเสาะ หะนะกาแม  มีความชำนาญ การทำดอดอยสูตรเฉพาะในพื้นที่ตะโล๊ะมีแย การทำการละแมหรือดอดอยมีมาอย่างยาวนานใช้สูตรเดิมจนถึงปัจจุบัน สูตรได้รับการตกทอดความรู้จากรุ่นสู่รุ่น

อาหาร

นายมือเสาะ หะนะกาแม อิหม่ามประจำมัสยิดนูรุลอิสลาม บ้านตะโล๊ะมีแย หมู่ที่ 4 ต.กาลอ อ.รามัน จ.ยะลา ร่วมกับชาวบ้านชุมชนบ้านโต๊ะมีแย ต.บ้านกาลอ อ.รามัน ร่วมสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำกาละแมโบราณ (ดอดอย) เพื่อเสริมสร้างความรัก ความสามัคคี ในชุมชน ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น เข้ามามีส่วนร่วมในการขับเคลื่อนกิจกรรม ปลูกจิตสำนึกให้คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์ฟื้นฟูการทำขนมพื้นบ้าน กาละแมโบราณ และเพื่อถ่ายทอดภูมิปัญญาของบรรพบุรุษแก่เยาวชนรุ่นหลัง โดยได้รับสนับสนุนงบประมาณจากกรมการศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม ได้ร่วมกันจัดกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูการกวนขนมกาละแม ดำเนินการโดยสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา ร่วมกับชุมชนคุณธรรมพลังบวรลานธรรม ลานวิถีไทย และมัสยิดนูรุลอิสลาม หมู่ที่ 4 ต.กาลอ อ.รามัน จ.ยะลา สำหรับความพิเศษของการทำกาละแม(ดอดอย) ในชุมชนแห่งนี้ มีผู้สูงอายุในพื้นที่ นายมือเสาะ หะนะกาแม อิหม่ามประจำมัสยิดนูรุลอิสลาม ได้ถ่ายทอดสูตรการทำกาละแมและขั้นตอนการทำเตาดินให้แก่คนในชุมชน โดยการกวนกาละแมจะแตกต่างจากที่อื่น เพราะจะใช้เตาดินที่ขุดขึ้นมาเพื่อใช้สำหรับการกวนกาละแม และจะต้องใช้ความชำนาญในการทำเตาดินโดยเฉพาะภายใต้การเปลี่ยนแปลงในสังคมปัจจุบัน ส่งผลให้เกิดการปรับเปลี่ยนวิถีชีวิตของคนในชุมชนและความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ทำให้คนในชุมชนต้องดิ้นรนทำมาหากิน เพื่อนำเงินมาดูแลครอบครัวจนลืมใส่ใจบุตรหลาน ซึ่งในยุคโลกาภิวัฒน์และเทคโนโลยีทำให้เยาวชนหลงลืมความเป็นอัตลักษณ์ของท้องถิ่น ลืมรากเหง้า ลืมจารีตประเพณีวัฒนธรรมอันดีงามของชุมชน เนื่องจากเยาวชนรุ่นใหม่ใช้เวลาในการท่องโลกโซเชียล เล่นเกมส์ออนไลน์ รับประทานสำเร็จรูป ทานขนมขบเคี้ยวดื่มน้ำหวานซึ่งหาซื้อได้ตามร้านสะดวกซื้อที่มีอยู่มากมายในปัจจุบัน ทำให้ขนมพื้นบ้านที่วางขายอยู่ตามหมู่บ้าน ชุมชน มีแต่ผู้สูงอายุที่หาซื้อไปรับประทานพร้อมกับน้ำชาในช่วงเช้าชุมชนคุณธรรมพลังบวรบ้านตะโละมีแย ได้เล็งเห็นถึงความสำคัญในการสืบสานประเพณีวิถีวัฒนธรรมท้องถิ่น จึงได้ร่วมกับสำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดยะลา ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น จัดกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูการกวนขนมกาละแม (ดอดอย) ขึ้นเพื่อเป็นกลไกในการส่งเสริมความเข้มแข็งแก่ชุมชน ซึ่งทำคนให้ชุมชนและเยาวชนเกิดความตระหนักและเข้ามามีส่วนร่วมในการอนุรักษ์ฟื้นฟูวิถีวัฒนธรรมอันดีงามของท้องถิ่น โดยมี นายมือเสาะ หะนะกาแม อิหม่ามประจำมัสยิดนูรุลอิสลาม บ้านตะโล๊ะมีแย หมู่ที่ 4 ตำบลกาลอ อำเภอรามัน จังหวัดยะลา เป็นแกนนำหลักในการจัดกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูการกวนกาละแม (ดอดอย) และในปัจจุบันขนมกาละแม (ดอดอย) ที่วางขายตามท้องตลาดมีรสชาติไม่อร่อย มีกลิ่นเหม็นที่ทำจากกะทิ และมีการผสมแป้งในปริมาณมาก นอกจากนี้ยังหารับประทานได้ยากเนื่องจากมีขั้นตอนที่ยุ่งยากและใช้ระยะเวลาในการทำ 17-18 ชั่วโมง ผู้นำศาสนา ผู้นำชุมชน และผู้นำท้องถิ่น ร่วมกันจัดกิจกรรมอนุรักษ์ฟื้นฟูการกวนขนมกาละแมขึ้น เนื่องจากหมู่บ้านมีภูมิปัญญาท้องถิ่นในการทำกาละแมซึ่งเป็นผู้สูงอายุที่เหลือเพียงคนเดียวจึงได้ถ่ายทอดขั้นตอนการทำเตาดินและสูตรการทำกาละแมให้แก่คนในหมู่บ้าน ชุมชนเพื่อสืบทอดต่อไป

นายมือเสาะ หะนะกาแม อิหม่ามประจำมัสยิดนูรุลอิสลาม ได้เปิดเผยว่า การกวนกาละแมของหมู่บ้านตะโล๊ะมีแยจะมีความแตกต่างจากที่อื่น เพราะจะกวนกาละแมจากเตาดินโดยแบ่งขั้นตอนการทำเตาดิน โดยการขุดดินสำหรับทำเตาไฟ ขุดที่ความลึก 7 เซนติเมตร กว้าง 7 เซนติเมตร เพื่อเป็นฐานเตารองกระทะ จากนั้นจะขุดดินสำหรับใส่ไม้ฟื้น กว้าง 30 เซนติเมตร ยาว 1.20 เมตร ลึก 7 เซนติเมตร มีการวางช่องระบายควันขนาดกว้าง 1.25 เมตร ลึก 7 เซนติเมตรการ ทำปล่องไฟเพื่อให้ควันลอยออกจากปล่องไฟโดยไม่ฟุ้งไปทั่ว การขุดดินจะต้องขุดให้ได้ขนาดกับกระทะและให้มีช่องว่างเพื่อให้ไม้ฟืนได้มีการลุกโชนของไฟอย่างทั่วถึง ซึ่งการขุดเตาดินจะต้องมีความเชี่ยวชาญเฉพาะ เพราะหากทำไม่ได้ขนาดหรือไม่ได้มาตรฐานที่วางไว้จะทำให้ไฟจากฟื้นไม่ลุกโซน ควันไฟจากฟันลอยฟุ้งไปทั่วและจะทำให้ผู้ที่กวนกาละแมไม่แสบตา นอกจากนี้มีการเตรียมมะพร้าว การคั้นน้ำกะทิแบบโบราณ น้ำตาล แป้ง และส่วนประกอบของกะละแม กวนประมาณ 17-18 ชั่วโมง ก็จะได้กาละแมที่มีรสชาติหอมกะทิและมีกลิ่นหอมจากเตาฟืนไม่หวาน และเหนียวนุ่มกำลังดี รสชาติแบบโบราณ ความเป็นเอกลักษณ์ในพื้นที่

ภาษาที่ใช้พูด : ภาษามลายูท้องถิ่น

ภาษาที่ใช้เขียน : ภาษาไทยกลาง

สถานการณ์การใช้ภาษาของผู้คนในชุมชนส่วนมากใช้ภาษามลายูท้องถิ่นและบางส่วนใช้ภาษาไทยในการสื่อสาร


ไม่มีโรงงานอุตสาหกรรมในหมู่บ้านทำให้แรงงานออกไปทำงานนอกพื้นที่และแรงงานบางส่วนไม่มีงานทำ ราคาพืชผลทางการเกษตรตกต่ำ


สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงการเป็นอยู่เนื่องจากมีเทคโนโลยีเข้ามาทดแทน ไม่ว่าด้านคมนาคม ด้านเศรษฐกิจ ด้านการเป็นอยู่ มีการเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปมาก และยังมีการเปลี่ยนทางด้านการเข้าถึงข้อมูลข่าวสารที่ทั่วถึงมากยิ่งขึ้น แต่ขาดการคัดกรองข้อมูลอันเป็นเท็จ อาจจะมีการเสพข่าวสารเฟคนิวส์ ทำให้มีการวิตกกังวลในการใช้ชีวิตประจำวัน ทางด้านเศรษฐกิจ สินค้าเกษตรมีราคาตกต่ำทำให้อัตราการออกไปทำงานนอกพื้นที่มากยิ่งขึ้น เนื่องจากขาดสภาพคล่องทางการเงินที่รับผลกระทบจากทางด้านเศรษฐกิจ ด้านสาธารณสุข ผู้ใหญ่ในพื้นที่บางคนยังมีความวิตกกังวลในการเข้ามาของโรคโควิด-19 แต่ยังพอปรับสภาพการเป็นอยู่ได้ทัน แม้จะไม่มากก็ตาม


 การดูแลสุขภาพขาดการออกกำลังกาย ขาดเครื่องมือ/อุปกรณ์ในการออกกำลังกาย ความสะอาดหมู่บ้านทิ้งขยะเกลื่อนกลาด

ในชุมชนบ้านตะโล๊ะมีแยมีความโดดเด่นด้านอาหารของชุมชน คือ ดอดอย

ซาบีนา เด็งพาแน. (12 กุมภาพันธ์ 2566). ข้อมูลชุมชนบ้านตะโล๊ะมีแย. (โซเฟีย ลือแบปัตตานี, ผู้สัมภาษณ์)

นายมือเสาะ หะนะกาแม. (12 กุมภาพันธ์ 2566). ภูมิปัญญาปราชญ์ชุมชน. (โซเฟีย ลือแบปัตตานี, ผู้สัมภาษณ์)

มะหะมะ หะนะกาแม และภาวิณี พะยุซี. (12 กุมภาพันธ์ 2566). สภาพแวดล้อมประชากร. (โซเฟีย ลือแบปัตตานี, ผู้สัมภาษณ์)

วรรณวิไล สนิทผล. (2565). ชาวบ้านชุมชนบ้านโต๊ะมีแย หมู่ที่ 4 ต.กาลอ อ.รามัน ร่วมสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นการทำกาละแมโบราณ (ดอดอย). ค้นจาก https://thainews.prd.go.th/

อบต.กาลอ โทร. 0-7372-9792