ชุมชนวิถีชาวไทยพุทธและมุสลิมอาศัยอยู่ร่วมกันจนถูกขนานนามว่าเป็น “ชุมชนสองศาสนา" ประเพณี วัฒนธรรม มีความผสมผสานอย่างไม่แบ่งแยก และมีวิถีชีวิตในการอยู่ร่วมกันกับป่า
คำว่า "ตะโหมด" เพี้ยนมาจากคำว่า "โต๊ะหมูด" ผู้นำชาวอิสลามที่ได้อพยพหนีศึกสงครามมาจากไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย และอาจมาจากคำว่า "ตระ" ซึ่งเป็นชื่อของช่องเขาที่เป็นเส้นทางค้าขายโบราณของชาวอินเดียที่เดินทางมาจากฝั่งทะเลอันดามัน
ชุมชนวิถีชาวไทยพุทธและมุสลิมอาศัยอยู่ร่วมกันจนถูกขนานนามว่าเป็น “ชุมชนสองศาสนา" ประเพณี วัฒนธรรม มีความผสมผสานอย่างไม่แบ่งแยก และมีวิถีชีวิตในการอยู่ร่วมกันกับป่า
ชุมชนตะโหมดนับเป็นชุมชนเก่าแก่ชุมชนหนึ่ง จากหลักฐานทางโบราณคดี สันนิษฐานว่า ตะโหมดเป็นชุมชนที่มีการตั้งถิ่นฐานตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนต้น โคยมีการค้นพบพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ขนาดหน้าตัก 20 เซนติเมตร เป็นศิลปะอู่ทอง ซึ่งพบบริเวณสระน้ำของวัดเหนือ (ปัจจุบันอยู่ทางทิศใต้ของวัดตะโหมด) และยังมีวัดถ้ำพระ เป็นวัดร้างตั้งอยู่ที่เขาพระหมู่ที่ 2 บ้านหัวช้าง ตำบลตะโหมด สันนิษฐานว่าเป็นวัดที่สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากปรากฎหลักฐานในเพลาวัดเขียนบางแก้วว่า วัดถ้ำพระ เป็นวัดหนึ่งที่ขึ้นกับคณะป่าแก้วหัวเมืองพัทลุง บริเวณวัดมีถ้ำเรียกว่าถ้ำหัวช้าง เดิมภายในถ้ำมีพระพุทธรูปปั้นปางไสยาสน์หนึ่งองค์ขนาดความยาว 14 เมตร ฐานพระมีรูปช้างปูนปั้นโผล่แบกฐานเจ็ดเชือก และมีพระพุทธรูปปูนปั้นบปางมารวิชัยพระพุทธรูปไม้จำหลักอีกหลายองค์ แต่ปัจจุบันวัดและพระพุทธรูปดังกล่าวได้ถูกทำลายไปหมดแล้ว นอกจากนี้ยังมีการสันนิษฐานว่า คำว่า "ตะโหมด" มีที่มาจากคำว่า "โต๊ะหมูด" ซึ่งเป็นมุสลิม ที่ได้อพยพหนีศึกสงครามมาจากไทรบุรี ประเทศมาเลเซีย มาเจอที่บ้านตะโหมด ซึ่งเป็นที่ราบเหมาะแก่การทำเกษตรกรรม เพราะอยู่ใกล้เทือกเขา มีแม่น้ำหลายสายจากเทือกเขาต่าง ๆ จึงได้ตั้งรกรากสร้างบ้านเรือนเป็นครั้งแรก และเรียกชื่อบ้านแห่งนี้ว่า "บ้านโต๊ะหมูด" ในสมัยนั้นคนมุสลิมไม่ค่อยพูดชัดเจนทางภาษาไทย คนไทยจึงได้เรียก "บ้านโต๊ะหมูด" เป็น "บ้านตะโหมด" คำว่า "โต๊ะหมูด" จึงเพี้ยนมาเป็นบ้านตะโหมดจนถึงปัจจุบัน ซึ่งปัจจุบันที่นี่พี่น้องชาวไทยพุทธและมุสลิมอาศัยอยู่ร่วมกันด้วยความปรองดองมาเนิ่นนานจนถูกขนานนามว่า “ชุมชนสองศาสนา”
ชาวตะโหมดที่มาตั้งบ้านเรือนในระยะแรกได้เข้ามาถากถางบริเวณพื้นที่ราบที่ติดต่อกับเชิงเขาให้เป็นทุ่งนา อาศัยลำน้ำที่เกิดจากเทือกเขาบรรทัดสำหรับการเพาะปลูก และอาศัยผลผลิตจากป่าเพื่อการดำรงชีพ ชาวบ้านกับป่าจึงมีความสัมพันธ์กันอย่างใกล้ชิด ชาวบ้านในสมัยก่อนให้ความเคารพและนอบน้อมต่อผืนป่าสูงมา เกิดความเชื่อเกี่ยวกับสิ่งศักดิ์สิทธิ์ สำนึกในบุญคุณ ยำเกรงต่อผืนป่า เช่น เชื่อว่ามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่เป็นเจ้าป่าเจ้าเขาจึงไม่ควรตัดไม้ขนาดใหญ่มาสร้างบ้านเรือน เพราะเชื่อว่าเป็นที่สิงสถิตของสิ่งศักดิ์สิทธิ์ ส่วนการล่าสัตว์เป็นอาหารก็ต้องขอจากเจ้าเขาเจ้าป่าก่อนเป็นสำคัญ สำหรับวิถีชีวิตของชาวตะโหมดในการอยู่ร่วมกับป่านั้น พบว่าชาวตะโหมดได้พึ่งพิงป่าในด้านต่าง ๆ คือ เป็นแหล่งอาหาร ยารักษาโรค เครื่องมือเครื่องใช้ในชีวิตประจำวัน แหล่งรายได้และประเพณีความเชื่อ
ชุมชนตะโหมด มีทั้งหมด 12 หมู่บ้าน พื้นที่ของชุมชนบ้านตะโหมดในปัจจุบันมีบริเวณครอบคลุมอำเภอตะโหมด ซึ่งมีพื้นที่ประมาณ 2.642 ตารางกิโลเมตร หรือประมาณ 165,162.32 ไร่ โดยแบ่งพื้นที่เป็นพื้นราบ และภูเขา บริเวณที่ตั้งของชุมซนเป็นที่ราบเหมาะสำหรับทำการเกษตร ทำนา ทำสวน และทำไร่ เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้มีทั้งที่เป็นที่ราบเชิงเขา และเนินควน มีการทำนาเพื่อพอกินในครอบครัว ที่มีการทำนาเพื่อขายก็มีบ้างแต่เป็นเพียงส่วนน้อย มีการทำสวนผลไม้เกือบทุกครัวเรือน ผลไม้ที่นิยมปลูก ได้แก่ ทุเรียน ลองกอง ลางสาด มังคุด เป็นต้น และปลูกพืชไร่อยู่บ้าง เช่น ข้าวโพด มันสำปะหลัง มันเทศ เป็นต้น และบางครอบครัวมีการเลี้ยงสัตว์เพื่อใช้เป็นอาหาร เช่น วัว หมู เป็ด ไก่และปลา เป็นต้น
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดกับ ตำบลโคกม่วง อำเภอเขาชัยสน จังหวัดพัทลุง
- ทิศใต้ ติดกับ ตำบลคลองใหญ่ อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง
- ทิศตะวันออก ติดกับ ตำบลแม่ขรี ตำบลคลองใหญ่
- ทิศตะวันตก ติดกับ เทือกเขาบรรทัด
ลักษณะภูมิประเทศ
เนื่องจากตำบลตะโหมคตั้งอยู่เชิงเขาบรรทัดและลาดต่ำไปทางทิศตะวันออก ทำให้มีพื้นที่ราบสลับเนินเขา และมีที่ราบลุ่มเหมาะแก่การเกษตร มีแม่น้ำลำคลองที่มีต้นกำเนิดมาจากเทือกเขาบรรทัด 4 สาย คือ คลองกง ไหลผ่านหมู่ที่4, 9 และ 12 คลองตะโหมด ไหลผ่านหมู่ที่ 1, 3, 4และ 11 คลองหัวช้าง ไหลผ่านหมู่ที่ 2, 7, 8 และไปบรรจบกับคลองโหะจังกระที่หมู่ 8 คลองโหละจังกระ ไหลผ่านหมู่ที่ 6, 7 และ 8 ส่วนทางทิศตะวันตกของตำบลตะโหมดมีเขาหัวช้าง เขาตีนป่า และเขาหลักไก่ ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาหินปูน
ภูมิอากาศ
ส่วนสภาพภูมิอากาศเนื่องจากได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ และลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ทำให้มี 2 ฤดู คือฤคูร้อน ระหว่างเดือนกุมภาพันธ์ - พฤษภาคม และฤดูฝน คือ ระหว่างเดือนพฤษภาคม - มกราคม ปริมาณน้ำฝนเฉลี่ยตลอดปี 2,473.6 มิลลิเมตร โดยในช่วงแรกของฤคูฝนได้รับอิทธิพลจากลมมรสุมตะวันตกเฉียงใต้ ซึ่งมีปริมาณน้ำฝนน้อยกว่าช่วงหลังที่ได้รับอิทธิพลลมมรสุมตะวันออกเฉียงเหนือ อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดทั้งปี 27.57 องศาเซลเชียส โดยอุณหภูมิสูงสุดเดือนเมษายน เฉลี่ย 33.5 องศาเซลเซียส และอุณหภูมิต่ำสุดเดือนมกราคม เฉลี่ย 21.0 องศาเซลเซียส
ชุมชนตำบลตะโหมดมีประชากรทั้งหมด 8,972 คน จากครัวเรือน 1,700 ครัวเรือน โดยเป็นผู้ชาย 4,445 คน ผู้หญิง 4,527 คน นับถือศาสนาพุทธ คิดเป็นร้อยละ 60 ของครัวเรือนทั้งหมด นับถือศาสนาอิสลามร้อยละ 40 ของครัวเรือนทั้งหมด
มลายูกลุ่มสภาลานวัด ซึ่งเกิดจากการที่คนในชุมชนตะโหมดมีความเป็นสังคมเครือญาติ จึงมีการไปมาหาสู่และทำกิจกรรมร่วมกันอยู่เสมอ โดยมีวัดตะโหมดเป็นศูนย์กลางในการทำกิจกรรมและสมาชิกในชุมชนยังมักจะมาปรึกษาหารือร่วมกัน เพื่อหาแนวทางการแก้ปัญหาต่าง ๆ ในชุมชน โดยมีพระครูอุทิตกิจจาทรเจ้าอาวาสวัคตะโหมดเป็นประธานการประชุม ต่อมากลุ่มคนดังกล่าวจึงเห็นพ้องกันว่า ควรจะเชิญสมาชิกในชุมชนทุกสาขาอาชีพมาร่วมกันหาแนวทางแก้ปัญหาในชุมชนเดือนละ 1 ครั้ง เพื่อให้แนวทางการพัฒนาชุมชนเกิดจากการมีส่วนร่วมของคนในชุมชนอย่างแท้จริง สภาลานวัดตะโหมดจึงมีการจัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อ พ.ศ. 2538 โดยมีปรัชญาของสภาลานวัด คือ สร้างปัญญา พัฒนาสังคม ระดมความคิด เพื่อชีวิตประชาชน สภาลานวัดตะโหมดมีวัตถุประสงค์ ดังนี้
- เพื่อช่วยเหลือและสนับสนุนในการพัฒนาชุมชนหมู่บ้านในทุก ๆ ด้านให้ดียิ่งขึ้น
- เพื่อสนับสนุนการปฏิบัติงานของเจ้าหน้าที่ของรัฐ และองค์กรต่าง ๆ ในพื้นที่
- เพื่อรักษาและส่งเสริมการศึกษา ศาสนา วัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณีที่ดีงามขอ
- เพื่อสร้างความรัก ความสามัคคีในหมู่บ้านให้ทุกคนมีส่วนรับผิดชอบต่อหมู่บ้านและชุมชน
- เพื่อนำภูมิปัญญาท้องถิ่นมาประยุกต์ใช้ในการพัฒนาสภาพความเป็นอยู่ให้มีประสิทธิภาพยิ่งขึ้น
แนวทางการดำเนินงานของสภาลานวัด มีการคัดเลือกคณะกรรมการฝ่ายบริหารจากสมาชิกทั้งหมด เพื่อทำหน้าที่กำหนคนโยบายและแนวทางการดำเนินงานโดยจะแบ่งการดำเนินงานออกเป็น 4 ฝ่าย ซึ่งกลุ่มองค์กรต่าง ๆ ในชุมชนจัดอยู่ในฝ่ายต่าง ๆ ของสภาลานวัด ดังนี้
- ด้านสังคม ได้แก่เทศบาลตำบลตะโหมด องค์การบริหารส่วนตำบลตะโหมด กำนัน ผู้ใหญ่บ้าน ตำบลตะโหมด กรรมการชุมชน 8 ชุมชน ตำรวจชุมชนบ้านตะโหมด กลุ่มผู้สูงอายุสภาลานวัดตะโหมด กลุ่มเยาวชนบ้านตะโหมด
- ด้านเศรษฐกิจ ได้แก่ กลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด กลุ่มแม่บ้านตะโหมด กลุ่มออมทรัพย์หมู่บ้านต่าง ๆ ชมรมไม้ผลบ้านตะโหมดท้องถิ่น
- ด้านการศึกษา ศาสนา และวัฒนธรรม ได้แก่ วัดตะโหมค โรงเรียนประชาบำรุง โรงเรียนวัดตะโหมด โรงเรียนบ้านคลองใหญ่ ศูนย์พัฒนาเค็กเล็กบ้านตะโหมด มัสยิด กลุ่มพุทธบุตร
- ด้านสิ่งแวคล้อมและการท่องเที่ยว ได้แก่ หน่วยรักษาพันธุ์สัตว์ป่าบ้านตะโหมด ศูนย์ส่งเสริมและพัฆนาป่าชุมชนในพื้นที่แนวกันชนรอบเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าเขาบรรทัด ป่าชุมชนขาหัวช้าง สถานีอนามัยบ้านตะโหมด อาสาสมัครบ้านตะโหมด สถานีอนามัยบ้านเกาะเรียน อาสาสมัครบ้านเกาะเรียน สถานีอนามัยบ้านคลองใหญ่ อาสาสมัครบ้านคลองใหญ่ ชมรมเพื่อสุขภาพสภาลานวัดตะโหมด
กลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด ก่อตั้งกลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมดโดยเริ่มต้นแนวคิดเมื่อปี พ.ศ. 2517 โดยนายเฉลียว ชนินทยุทธวงศ์ ผู้ใหญ่บ้านหมู่ที่ 3 ตำบลตะโหมดในขณะนั้น ได้ชักชวนผู้นำร่วมกันจัดตั้งกลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมด โดยสมาชิกครั้งแรกประมาณ 67 คน กลุ่มนี้มีวัตถุประสงค์เพื่อช่วยเหลือพี่น้องเกษตรกรทำนาตะโหมดให้มีความเป็นอยู่ที่ดีขึ้น การดำเนินงานปัจจุบันของกลุ่มเกษตรกรทำนาตะโหมดมีสำนักงานตั้งอยู่หมู่ที่ 3 ตำบลตะโหมดมีสมาชิกประมาณ 876 คนและมีเงินทุนหมุนเวียนสำหรับการบริหารจัดการประมาณ 40 ล้านบาท โดยคณะกรรมการดำเนินงานต้องมาจากการเลือกตั้งจากที่ประชุมใหญ่สามัญประจำปี ๆ ละ 1 ครั้ง การทำธุรกิจของกลุ่มนี้มี 4 ประเภท คือรับฝากเงินทั้งจากผู้ที่เป็นสมาชิกและไม่ใช่สมาชิก บริการสินเชื่อโดยการให้สมาชิกกู้เงินเพื่อนำไปใช้ในเกษตรร้านค้าสำหรับจำหน่ายสินค้าทางเกษตรและเครื่องอุปโภคบริโภคทั่วไป และการรวบรวมผลผลิตของสมาชิกทั้งยางพาราแผ่นและผลไม้ โดยเฉพาะอย่างยิ่งยางพาราแผ่นจะมีการดำเนินการทั้งแบบเป็นคนกลางในการรับซื้อและการซื้อแบบแทรกแซงราคาเป็นช่วงช่วงตามนโยบายของรัฐบาล
กลุ่มป่าชุมชนเขาหัวช้าง การก่อตั้งกลุ่มป่าชุมชนเขาหัวช้าง เป็นส่วนที่เกิดผลต่อเนื่องมาจากการดำเนินงานของกลุ่มสภาวะและตาหมด ในด้านสิ่งแวดล้อมและการท่องเที่ยวโดยกลุ่มป่าชุมชนเขาหัวช้างได้จัดตั้งเขตป่าชุมชนเขาหัวช้าง ซึ่งมีวัตถุประสงดังต่อไปนี้ เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาเกี่ยวกับทรัพยากรสิ่งแวดล้อมทางธรรมชาติ เพื่อใช้เป็นแหล่งศึกษาทางด้านสมุนไพร เพื่อใช้เป็นแหล่งอาหารและยารักษาโรค เพื่อให้เป็นที่อยู่อาศัยของสัตว์ป่า เพื่อเป็นการส่งเสริมประเพณีและวัฒนธรรมของชุมชน เพื่อให้มีการจัดการป่าไม้แบบมีส่วนร่วมโดยชุมชนเป็นผู้ดำเนินการ เพื่อใช้เป็นแหล่งที่พักผ่อนของชุมชนและการท่องเที่ยวในเชิงอนุรักษ์ เพื่อการอนุรักษ์แหล่งต้นน้ำลำธาร โดยการดำเนินงานของกลุ่มป่าชุมชนเขาหัวช้างปัจจุบันมีนายจรัญ ราชาราวี เป็นประธานและมีกรรมการบริหารจำนวน 15 คนโดยสมาชิกของกลุ่มได้ร่วมกันกำหนดหน้าที่ของคณะกรรมการป่าชุมชนเขาหัวช้างเอาไว้ การดำเนินงานกิจกรรมของกลุ่มป่าชุมชนเขาหัวช้าง ในช่วงที่ผ่านมาซึ่งได้ร่วมกันดำเนินกิจกรรมต่าง ๆ มาโดยตลอด
กลุ่มลำเนาไพร ตั้งอยู่ในหมู่ที่ 6 บ้านโหล๊ะจังกระ กลุ่มลำเนาไพรได้ทำงานร่วมกับกลุ่มอาสาสมัครพิทักษ์ป่ามีวัตถุประสงค์ในการทำงาน คือ เพื่อพิทักษ์รักษาป่าและทำป่าให้เป็นแหล่งเรียนรู้ ปัจจุบันมีสมาชิก 22 คน มีการเลือกคณะกรรมการขึ้นมาทำงานสำหรับการดำเนินการดำเนินงานของกลุ่มนี้ เช่น การจัดการท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ในบริเวณบ้านโหล๊ะจันกระหินลาน เขาเจ็ดยอด เป็นต้น และการทำธนาคารข้าวสาร หากจะจัดกิจกรรมอะไรจึงจำเป็นต้องดูแลเรื่องอาหารการกินให้เพียงพอก่อนแล้วจึงจะสามารถพัฒนาอย่างอื่นต่อไปได้และที่สำคัญการจัดให้มีธนาคารข้าวสารที่สามารถเป็นแหล่งรวบรวมข่าวสารโดยเฉพาะอย่างยิ่งเรื่องสภาพป่าไม้ในชุมชนในอีกทางหนึ่ง
ประชาชนในเขตชุมชนตะโหมดอยู่ร่วมกันสองศาสนามาอย่างยาวนาน มีความรักใคร่ ปรองดองยอมรับซึ่งกันและกันในประเพณี วัฒนธรรม มีความผสมผสานอย่างไม่แบ่งแยก และมีวิถีชีวิตในการอยู่ร่วมกันกับป่า
วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม
- ประเพณีวันขึ้นปีใหม่ วันขึ้นปีใหม่กิจกรรมที่ชาวตะโหมดปฏิบัติสืบทอดกันมาเป็นประจำ คือการสวดมนต์ข้ามปี ณ วัดตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง และการทำบุญตักบาตรเพื่อเป็นสิริมงคล
- ประเพณีสองศาสนา เป็นประเพณีที่พี่น้องชาวไทยพุทธและมุสลิมมารวมกัน โดยไม่มีกรอบทางประเพณีและศาสนาขวางกั้น อยู่กันด้วยความสมานฉันท์และสามัคคี รักใคร่ปรองดองช่วยเหลือซึ่งกันและกันโดยสร้างประเพณีร่วมกัน คือ ประเพณีทำบุญสองศาสนาเพื่อทำบุญเยี่ยมหลุมศพสองศาสนาที่จัดขึ้นในวันที่ 15 เมษายนของทุกปี
- ประเพณีเทศกาลทําบุญวันสารทเดือนสิบ ชาวภาคใต้ทั่วไปเรียกว่า "วันชิงเปรต” หรือ "ประเพณีชิงเปรต” แต่ทางภาคกลางเรียกว่า"วันสารท”หรือ "ประเพณีวันสารทไทย” เป็นการทำบุญอุทิศส่วนกุศลให้แก่เปรตชนหรือบิดามารดา ปู่ย่า ตายาย ที่ล่วงลับไปแล้วตามคติความเชื่อของชาวบ้านทั่วไป โดยการทาบุญบริจาคทานถวายพระภิกษุสงฆ์ เป็นการอุทิศส่วนกุศลให้กับผู้ตาย กำหนดเวลาทำบุญเดือนสิบ ไว้ 2 ครั้ง คือ วันแรม 1 ค่ำ เดือนสิบ และวันแรม 15 ค่ำ เดือนสิบ ชาวบ้านมีความเชื่อกันว่าวันแรม 1 ค่ำ เป็นวันที่ยมบาลปล่อยให้เปรตชนขึ้นมาเยี่ยมลูกหลานในเมืองมนุษย์ บุตรหลานจะเป็นผู้ทำบุญเลี้ยงต้อนรับครั้งหนึ่ง เรียกว่า "ทำบุญเดือนสิบแรก” เมื่อ ถึงวันแรม 15 ค่ำเป็นวันที่เปรตชนจะต้องกลับยมโลก บุตรหลานจะทำบุญเลี้ยงส่งอีกครั้งหนึ่ง พร้อมกับส่งสิ่งของให้นำติดตัวกลับไปด้วย การทำบุญเดือนสิบของคนจังหวัดพัทลุง ก่อนถึงวันทำบุญเดือนสิบ จะเตรียมทำขนมที่จะนาไปวัดและแจกจ่าย แก่คนเฒ่าคนแก่ ญาติมิตร นอกจากนี้ยังมีข้าวสาร กะปิ น้าตาล พริก กระเทียม ปลาเค็ม เป็นต้น การทำบุญเดือนสิบของชาวตะโหมด จะจัดที่วัดตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง เป็นประจำทุกปี
วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ
ประชากรส่วนใหญ่ของชุมชนตะโหมดจะประกอบอาชีพเกษตรกรรมซึ่งเป็นการทำนา ทำสวน และทำไร่ เนื่องจากพื้นที่บริเวณนี้มีทั้งพื้นที่ราบสลับกับเนินเขาเตี้ย มีการทำนาเพื่อพอรับประทานในครอบครัว บางส่วนมีการทำนาเพื่อขายบ้างแต่เป็นเพียงส่วนน้อยเท่านั้น มีการทำสวนผลไม้เกือบทุกครัวเรือน ผลไม้ที่นิยมปลูก ได้แก่ ทุเรียน ลองกอง ลางสาด มังคุด สะตอ ส้มโชกุน เป็นต้น ไม้ผลจากตำบลชุมชนตะโหมดจะมีรสชาติดีเป็นที่นิยมรับประทานของประชาชนทั้งภายในจังหวัดพัทลุงและจังหวัดใกล้เคียง มีการปลูกพืชไร่จำพวก ข้าวโพด มันสำปะหลัง มันเทศ แตงกวาและถั่ว เป็นต้น นอกจากนั้นยังพบว่าบางครอบครัวมีการเลี้ยงสัตว์ เพื่อใช้เป็นอาหารและขายบ้างเล็กน้อย สัตว์ที่เลี้ยงได้แก่ วัว หมู เป็ด ไก่และปลา เป็นต้น ส่วนอาชีพค้าขายส่วนใหญ่เป็นร้านค้าแบบขายของชำและขายของในตลาดนัดภายในชุมชนและชุมชนใกล้เคียง
ทุนทางธรรมชาติ
ชุมชนตะโหมด มีทรัพยากรธรรมชาติเป็นแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่อยู่ในพื้นที่ที่สามารถนำมาเป็นจุดขายด้านการท่องเที่ยวได้ ประกอบด้วย 1) น้ำตกลานหม่อมจุ้ย เป็นน้ำตกที่อยู่ท่ามกลางป่าที่ร่มรื่น ลักษณะของน้ำตกจะแบ่งเป็นชั้นๆ แต่ละชั้นมีชื่อต่างกันมีแอ่งน้ำที่สามารถเล่นน้ำได้ 2) อ่างเก็บน้ำเขาหัวช้างมีทัศนียภาพที่สวยงามเหมาะสำหรับการท่องเที่ยว 3) จุดชมวิวควนตาคมเป็นลานเปิดโล่งมีลมพัดตลอดเวลามีความหนาวเย็นกำลังดีสามารถขึ้นมาชมวิวแบบสามร้อยหกสิบองศาได้ทั้งยามเย็นและยามเช้า 4) น้ำตกลาดเตยที่อยู่ท่ามกลางผืนป่าเขียวขจีร่มรื่นมีน้ำใสไหลเย็นตลอดปี มีพันธุ์ไม้ป่าดิบชื้นหลายชนิดในภาคใต้ที่แปลกตา
ทุนทางวัฒนธรรม
วัดตะโหมด เป็นวัดเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 100 ปี เป็นศูนย์กลางของชุมชนบ้านตะโหมด มีพัฒนาการพร้อมกับการเจริญเติบโตของชุมชนสภาพแวดล้อม มีธรรมชาติ ป่าเขา ธารน้ำตก ที่ร่มเย็นและได้รับการดูแลให้เป็นระเบียบสวยงามอยู่เสมอ เป็นศูนย์รวมใจ และเป็นศูนย์กลางการพัฒนาของชุมชน ทั้งด้านสังคม การศึกษา ประเพณีวัฒนธรรม ตลอดถึงด้านเศรษฐกิจ และสิ่งแวดล้อม มีศิลปวัฒนธรรม ทางด้านประวัติศาสตร์โบราณคดี วัฒนธรรม ศิลปกรรม สถาปัตยกรรม รวมทั้งเชื่อมโยงความเป็นมาทางวัฒนธรรมกับชุมชน และการตั้งถิ่นฐานของชุมชน ซึ่งเป็นสถานที่อันศักดิ์สิทธิเป็นผู้ปกปักรักษาและคุ้มครองชาวตะโหมดให้อยู่เย็นเป็นสุข
ทุนบุคคล
ชุมชนบ้านตะโหมด มีทุนบุคคลที่เป็นพระสงฆ์ ปราชญ์ชาวบ้าน ครู ผู้นำชุมชน ที่สามารถให้ความรู้ และถ่ายทอดประสบการณ์ที่มีอยู่ให้เป็นประโยชน์แก่นักท่องเที่ยว อีกทั้งคนในชุมชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมต่าง ๆ และกำหนดทิศทางในการท่องเที่ยวของชุมชน โดยกติกาในการอยู่ร่วมกันเปิดโอกาสให้คนในชุมชนมีส่วนร่วมในการทำกิจกรรมและมีการกระจายรายได้ให้แก่คนในชุมชนและผู้มีส่วนเกี่ยวข้อง
สมพร เกื้อไข่และคณะ. (2565). การสื่อสารเพื่อการจัดการการท่องเที่ยวโดยชุมชนตะโหมด จังหวัดพัทลุง. วารสารเทคโนโลยีภาคใต้, 15(2), 1-11.
ธฤษวรรณ นนทพุทธ. (2545). การพัฒนากระบวนการเรียนรู้โดยชุมชนในการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศ: กรณีศึกษาป่าชุมชนเขาหัวช้าง ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครรินทร์.
พระมิ่งศิษฐ์ สังข์บริสุทธิ์. (2561). พระสงฆ์กับการขับเคลื่อนการจัดการทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อมของชุมชน : กรณีศึกษา ชุมชนตะโหมด ตำบลตะโหมด อำเภอตะโหมด จังหวัดพัทลุง. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตร์มหาบัณฑิต สาขาสิ่งแวดล้อมศึกษา คณะการจัดการสิ่งแวดล้อม มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์.