Advance search

สามัคคีศรีสุพรรณ

ชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ เป็นที่ตั้งของศาสนสถานที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ทั้งนี้ภายในชุมชนยังมีความหลากหลายของชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้มีกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์อยู่ภายในชุมชนอีกด้วย

หิรัญรูจี
ธนบุรี
กรุงเทพมหานคร
เขมชาติ ชนะไพร
1 มี.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
16 เม.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
30 เม.ย. 2023
วัดใหญ่ศรีสุพรรณ
สามัคคีศรีสุพรรณ

ชื่อของชุมชนมาจากชื่อของวัดที่ตั้งอยู่ภายในชุมชน ซึ่งสันนิษฐานว่ามีมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ราวปี พ.ศ. 2290 โดยวัดดังกล่าวนั้นมีชื่อเดิมที่ว่า "วัดใหญ่" ชาวบ้านจึงเรียกพื้นที่บริเวณชุมชนนั้นว่าวัดใหญ่ ก่อนที่ในปัจจุบันจะมีการเปลี่ยนแปลงมาเรียกชื่อเป็น "ชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ"


ชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ เป็นที่ตั้งของศาสนสถานที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา ทั้งนี้ภายในชุมชนยังมีความหลากหลายของชาติพันธุ์ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในช่วงต้นกรุงรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้มีกลุ่มผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมที่มีลวดลายเป็นเอกลักษณ์อยู่ภายในชุมชนอีกด้วย

หิรัญรูจี
ธนบุรี
กรุงเทพมหานคร
10600
13.730071834963768
100.48851423161284
กรุงเทพมหานคร

ชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ แต่เดิมชาวบ้านเรียกกันว่า "ชุมชนวัดใหญ่" โดยวัดใหญ่ศรีสุพรรณ สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายราวปี พ.ศ. 2290 โดยผู้มีอำนาจซึ่งมีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาตระกูลหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏชื่อ โดยสาเหตุที่เรียกกันว่า "วัดใหญ่" เพราะว่าเป็นวัดซึ่งผู้เป็นพี่ (เข้าใจว่าเป็นพี่ของเจ้าขรัวเงิน พระชนกของพระราชินีในรัชกาลที่ 2) ได้สร้างขึ้น และน้องได้สร้างวัดชื่อ "วัดน้อย" (วัดหิรัญรูจี) โดยสมัยก่อนที่นี่ใช้ชื่อว่า ชุมชนสามัคคีศรีสุพรรณ เนื่องจากมีผู้คนคนหลายเชื้อชาติมารวมกันอยู่ เช่น ไทย, จีน, ลาว, มอญ และ แขก ได้อยู่ร่วมกันอย่างสงบสุขกลมเกลียวเป็นหนึ่งเดียวกัน จึงเป็นที่มาของชื่อชุมชน

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ แขวงวัดกัลยาณ์ (เขตธนบุรี) มีถนนอิสรภาพเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ แขวงสมเด็จเจ้าพระยา (เขตคลองสาน) มีถนนประชาธิปกเป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ แขวงบางยี่เรือ (เขตธนบุรี) มีถนนรอบวงเวียนใหญ่ และถนนอินทรพิทักษ์เป็นเส้นแบ่งเขต
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ แขวงวัดท่าพระ (เขตบางกอกใหญ่) มีคลองบางกอกใหญ่เป็นเส้นแบ่งเขต

ประชากรส่วนมากในพื้นที่เป็นกลุ่มคนที่อพยพเข้ามาในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ มีหลากหลายกลุ่มด้วยกัน เช่น กลุ่มชาวจีน กลุ่มมุสลิม กลุ่มชาวไทยอีสาน กลุ่มคนลาว และกลุ่มอื่น ๆ เพิ่มเติมในระยะเวลาต่อมา กล่าวคือ ชุมชนดังกล่าวเป็นชุมชนแออัด จึงทำให้ผู้ที่อพยพเข้ามาในช่วงแรกนั้นได้มีการย้ายถิ่นฐานไปในบางส่วน จึงทำให้ปัจจุบันนี้ชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ มีความหลากหลายทางชาติพันธุ์

มอญ, ลาวเวียง

กลุ่มอาชีพส่วนมากในชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ จะนิยมค้าขายและรับจ้างอุตสาหกรรมในครัวเรือน เป็นหลัก ทั้งนี้ยังมีกลุ่มผู้สูงอายุภายในชุมชนดังกล่าว รวมกับชุมชนอื่น ๆ ในแขวงหิรัญรูจี ในเขตพื้นที่ธนบุรีได้ร่วมกันสร้างนวัตกรรมที่จะมาเสริมพลังในการพัฒนาคุณภาพชีวิตให้กับผู้สูงอายุเข้าสู่ยุคสังคมสูงวัย ด้วยการศึกษาบริบทของชุมชนเพื่อศึกษาสภาพแวดล้อมและปัจจัยอื่น ๆ ที่เกี่ยวข้องที่นำมาสร้างนวัตกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตของผู้สูงอายุให้มีความมั่นคงและยั่งยืนในการดำเนินชีวิตข้างหน้า ซึ่งผลจากการทำกิจกรรมดังกล่าวทำให้ผู้สูงอายุในกลุ่มชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ เกิดการสร้างงานและการสร้างรายได้เสริม

กลุ่มอาชีพปักเครื่องแต่งกายโขน

คุณวิษณุ นิลเทศ เป็นผู้นำอาชีพการปักเครื่องแต่งกายที่ใช้ในการประกอบการแสดงโขน แต่งกายแบบยืนเครื่อง พระ นาง ยักษ์ ลิง นอกจากตัวละครอื่น ๆ จะแต่งกายตามลักษณะนั้น ๆ เช่น ฤาษี กา ช้าง และควาย ฯลฯ ซึ่งในปัจจุบันภายในชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณเป็นกลุ่มอาชีพที่คงเหลือน้อย และมีแค่ไม่กี่หลังคาเรือนเท่านั้นที่ยังคงสืบทอดภูมิปัญญานี้

กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกัลยาผ้าฝ้าย

จัดตั้งขึ้นมาในปี พ.. 2558 ณ บ้านเลขที่ 82 ซอยวัดใหญ่ศรีสุพรรณ ถนนอินทรพิทักษ์ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีสมาชิกในกลุ่ม 5 คน มีแนวความคิดที่ว่า “เรียบง่ายแต่แตกต่าง” ในการผลิตผ้าฝ้ายที่มีคุณภาพและใช้การย้อมด้วยสีธรรมชาติ เพื่อความสะท้อนถึงการอนุรักษ์ภูมิปัญญาดั้งเดิมและความปลอดภัยแก่ผู้ใช้งาน และมีรูปแบบทันสมัยผ่านการตัดเย็บที่มีความประณีตในการค้นหาจุดต่างสร้างจุดขาย ซึ่งผ้าฝ้ายมีคุณสมบัติที่ดีในการซับเหงื่อ ระบายความร้อนได้ดี เนื้อค่อนข้างเหนียว ซักรีดและทำความสะอาดง่าย ทนความร้อนได้ดี สามารถรีดด้วยความร้อนสูงได้และสามารถนำมามัดย้อมให้เกิดลวดลายได้ โดยมีผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมที่มีการจำหน่ายแล้ว คือ ชุดสตรีผ้ามัดย้อม หมวก ผ้าเช็ดหน้า แลผ้าพันคอ

กลุ่มผู้ผลิตผลิตภัณฑ์ชุมชนมีผลิตภัณฑ์ที่หลากหลายโดยการออกแบบผลิตภัณฑ์ของใช้จำนวน 5 ผลิตภัณฑ์จากผ้ามัดย้อม คือ 1. หมอนอิง 2. หมอนรองคอ 3. โคมไฟประดับตั้งโต๊ะ 4. กล่องอเนกประสงค์ และ 5. กระเป๋าสตางค์เพื่อเป็นการช่วยส่งเสริมให้ผลิตภัณฑ์ชุมชนให้มีคุณภาพเพิ่มมูลค่า มีความสวยงามและเป็นเอกลักษณ์เฉพาะชุมชน ซึ่งจะสามารถก่อให้เกิดเศรษฐกิจชุมชนเข้มแข็งโดยการใช้ทรัพยากรที่มีอยู่และเป็นการต่อยอดภูมิปัญญา และการส่งเสริมรายได้ให้กับชุมชนอย่างยั่งยืน ซึ่งเป็นการยกระดับความเป็นอยู่ของชุมชนให้ดีขึ้น

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กัลยา ใจกลัด

ประธานกลุ่มวิสาหกิจ ชุมชนกัลยาผ้าฝ้าย ผู้ประกอบการผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมในชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ ได้เริ่มก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2558 โดยคุณกัลยา ใจกลัด พื้นเพเดิมเป็นคนภาคเหนือในจังหวัดลำปาง ด้วยอาชีพบรรพบุรุษมีการทำไร่ฝ้ายและมีการทอฝ้ายเป็นเครื่องนุ่งห่ม เช่น ผ้าห่ม เสื้อ ที่นอน โดยเป็นอุตสาหกรรมของครอบครัว ดังนั้น เมื่อย้ายภูมิลำเนามายังจังหวัดกรุงเทพมหานคร ก็ได้นำธุรกิจนี้มาต่อยอดและสืบสานอนุรักษ์ภูมิปัญญาท้องถิ่นของผ้าฝ้ายดั้งเดิม จึงได้เกิดธุรกิจผ้าฝ้ายและได้ก่อตั้ง กลุ่มวิสาหกิจชุมชนกัลยาผ้าฝ้าย ขึ้นมาในปี พ.ศ. 2558 ณ บ้านเลขที่ 82 ซอยวัดใหญ่ศรีสุพรรณ ถนนอินทรพิทักษ์ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีสมาชิกในกลุ่ม 5 คน มีแนวความคิดที่ว่า "เรียบง่ายแต่แตกต่าง"

ศาสนสถาน / โบราณสถาน

วัดใหญ่ศรีสุพรรณ 

ชาวบ้านเรียกกันว่า "วัดใหญ่" สร้างขึ้นสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายราวปี พ.ศ. 2290 ที่มีความศรัทธาในพระพุทธศาสนาตระกูลหนึ่งซึ่งไม่ปรากฏชื่อ ที่เรียกกันว่า "วัดใหญ่" เพราะว่าเป็นวัดซึ่งผู้เป็นพี่ (เข้าใจว่าเป็นพี่ของเจ้าขรัวเงิน พระชนกของพระราชินีในรัชกาลที่ 2 ได้สร้างขึ้นและน้องได้สร้างวัดชื่อ "วัดน้อย" (วัดหิรัญรูจี) มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ เริ่มในปี พ.ศ. 2498 สมัยพระครูประสาทธรรมกิจเป็นเจ้าอาวาส วัดใหญ่ศรีสุพรรณได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาประมาณปี พ.ศ. 2298 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 8 เมตร ยาว 16 เมตร ได้ทำพิธีผูกพัทธสีมา เมื่อประมาณปี พ.ศ. 2310 ต่อมาเมื่อปี พ.ศ. 2500 ได้ซ่อมใหม่มีช่อฟ้า หน้าบันลายดอกไม้ของเดิม นอกจากนี้ในปี พ.ศ. 2520 ได้ทำการบูรณะฝาผนังพื้นปูหินขัด เพดานเป็นไม้สักทาสีแดงมีลายไทยตามชื่อ พระประธานภายในอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ

ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อม

ผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่มีอัตลักษณ์รูปแบบสีสัน คือ เส้นใยฝ้ายที่เป็นวัตถุดิบจากธรรมชาติ รูปแบบที่เรียบง่ายที่เกิดจากกระบวนการออกแบบลวดลายและสีสันจากวัตถุดิบตามธรรมชาติ และได้นำสิ่งที่มีอยู่ในธรรมชาติมาสกัดจนเกิดเป็นสีสันต่าง ๆ เช่น สีดำได้มาจากแก่นและผลของมะเกลือ สีน้ำเงินจากต้นคราม สีเหลืองจากขมิ้น หัวไพร หรือ แก่นขนุน สีแดงได้จากครั่ง หรือจากการหมักโคลน โดยสีเหล่านี้ล้วนปลอดภัยจากสารเคมี และถือเป็นการนำเอาธรรมชาติรอบตัวมาใช้ให้เกิดประโยชน์ รวมทั้งใช้การสร้างสรรค์ลวดลายโดยใช้การแสดงออกทางอารมณ์ความรู้สึกภายในใจที่เกี่ยวข้องกับความงามและความพึงพอใจของแต่ละบุคคล โดยผลิตภัณฑ์ผ้ามัดย้อมของชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณนั้น ได้รับการสนับสนุนจากคณะวิศวกรรมศาสตร์และเทคโนโลยีอุตสาหกรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา ในการเข้ามาปรับปรุงและพัฒนารูปแบบทำให้เกิดความเป็นเอกลักษณ์และเป็นการเพิ่มมูลค่าของผลิตภัณฑ์ โดยผลิตภัณฑ์มีทั้งหมด 5 ชนิด ดังนี้
  1. หมอนอิง
  2. หมอนรองคอ
  3. โคมไฟประดับตั้งโต๊ะ
  4. กล่องอเนกประสงค์
  5. กระเป๋าสตางค์

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ธนวดี บุญลือ. (2554). การศึกษาวิจัยชุมชน โครงการเพื่อพัฒนาและแก้ไขความเหลื่อมล้ำทางสังคมในกรุงเทพมหานคร ชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณ แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยสยาม.

ธีร์วรา บวชชัยภูมิ และคณะ. (2564). การพัฒนาผลิตภัณฑ์จากผ้ามัดย้อม กรณีศึกษาชุมชนวัดใหญ่ศรีสุพรรณแขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร. วารสารสถาบันวิจัยและพัฒนา มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยา, 7(1), 206-217.

สำนักงานเขตธนบุรี. (2548). ย้อนอดีต 90 ปี เขตธนบุรี. กรุงเทพฯ : ม.ป.พ.