ชุมชนชาวมอญที่มีการอพยพเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผู้คนในชุมชนยังคงมีการสืบต่อวัฒนธรรมประเพณีของชาวมอญแบบดั้งเดิมเอาไว้ ได้แก่ การนับถือผี และมีวัดอมรญาติสมาคม หรือวัดมอญ เป็นศาสนสถานสำคัญประจำชุมชน
แต่เดิมมีชาวมอญมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณสองฝั่งคลองนี้เป็นจำนวนมาก และได้มีการติดต่อคมนาคมโดยใช้เส้นทางนี้มาตลอดจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ชาวมอญยังได้สร้างวัดขึ้น โดยให้ชื่อว่า “วัดมอญ” หรือ “วัดอมรญาติสมาคม” ซึ่งการเดินทางไปวัดจะต้องใช้เส้นทางเรือผ่านคลองนี้เพียงทางเดียว จึงทำให้ชาวบ้านเรียกว่า “บ้านคลองมอญ”
ชุมชนชาวมอญที่มีการอพยพเข้ามาอยู่อาศัยในพื้นที่ตั้งแต่สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ผู้คนในชุมชนยังคงมีการสืบต่อวัฒนธรรมประเพณีของชาวมอญแบบดั้งเดิมเอาไว้ ได้แก่ การนับถือผี และมีวัดอมรญาติสมาคม หรือวัดมอญ เป็นศาสนสถานสำคัญประจำชุมชน
พื้นที่ตำบลท่านัด ผู้ตั้งถิ่นฐานในระยะแรกๆ เป็นชาวมอญซึ่งอพยพเข้ามาในสมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้นติดต่อกันจนถึงสมัยกรุงธนบุรีรุ่นแรก ๆ มากับพวกมอญ 7 หัวเมือง ได้แก่ เมืองไทรโยค ท่าขนุน ท่ากระดาน ท่าตะกั่ว สุ่มสุ่ม ทองผาภูมิ และสิงห์ อาศัยอยู่แถบลำน้ำแม่กลองในสมัยรัชกาลที่ 5 ปรากฏว่ามีคนมอญอยู่ในประเทศไทยประมาณ 50,000 คน และอยู่ในเขตมณฑลราชบุรี 12,806 คน ดินแดนที่พวกมอญอาศัยอยู่แต่เดิมเป็นดินแดนที่รกร้างว่างเปล่า ไม่มีใครพักอาศัย การที่คนมอญได้อพยพมาอยู่ที่นี่ทำให้ดินแดนเหล่านี้กลายเป็นบ้านเมืองได้ การอพยพเข้ามาของคนมอญจึงมีคุณค่าในสายตาของไทย เพราะเป็นการเข้ามาทำประโยชน์แก่แผ่นดินไทย ชาวมอญจะคอยรายงานความเคลื่อนไหวของพม่าให้แก่คนไทยซึ่งทำหน้าที่เป็นนายด่านรักษาเขตแดนทางตะวันตก
เนื่องจากบ้านท่านัด เป็นเขตเชื่อมต่อระหว่างเขตพื้นที่ที่อยู่เหนือขึ้นไป ซึ่งชาวบ้านส่วนใหญ่จะประกอบอาชีพทำนา ส่วนพื้นที่ลุ่มทางใต้จะประกอบอาชีพทำสวน รวมไปถึงพืชเกษตรกรรมประเภทผัก ในสมัยก่อนบริเวณนี้เป็นศุนย์กลางแลกเปลี่ยนสินค้าระหว่างชาวบ้าน โดยที่ชาวบ้านในเขตพื้นที่สูงทางเหนือของบริเวณคลองท่านัดจะนำข้าวมาแลกกับพริก หอม กระเทียม ซึ่งเป็นพืชที่ปลูกมากทางตอนใต้ของตำบล ด้วยเหตุนี้พื้นที่บริเวณนี้จึงเป็นจุดแลกเปลี่ยนสินค้าสำคัญ ชาวบ้านจึงเรียกบริเวณดังกล่าวนี้ว่า “ท่านัด” หมายถึงจุดนัดพบเพื่อการแลกเปลี่ยนสินค้านั่นเอง แต่ด้วยสาเหตุที่ว่า หมู่ที่ 1 เป็นหมู่แรกของตำบล จึงได้ชื่อของตำบลมาอยู่ในชื่อหมู่บ้านด้วย
บ้านคลองมอญ ในสมัยก่อน ชาวมอญมาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณสองฝั่งคลองนี้เป็นจำนวนมาก และได้มีการติดต่อคมนาคมโดยใช้เส้นทางนี้มาตลอดจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ชาวมอญยังได้สร้างวัดขึ้น โดยให้ชื่อว่า “วัดมอญ” หรือ “วัดอมรญาติสมาคม” ในปัจจุบันการเดินทางไปวัดจะต้องใช้เส้นทางเรือผ่านคลองนี้เพียงทางเดียว จึงทำให้ชาวบ้านเรียกว่า “บ้านคลองมอญ”
ชุมชนบ้านคลองมอญ ห่างจากที่ว่าการอำเภอดำเนินสะดวก ประมาณ 5 กิโลเมตร อยู่ห่างจากตัวจังหวัดราชบุรี ประมาณ 51 กิโลเมตร และห่างจากกรุงเทพมหานคร ประมาณ 95 กิโลเมตร การเดินทางจากกรุงเทพฯ มายังชุมชนบ้านคลองมอญ สามารถเดินทางได้ทั้งรถยนต์ส่วนบุคคล และรถโดยสารประจำทางปรับอากาศ
สภาพพื้นที่ทางกายภาพ
ลักษณะภูมิประเทศโดยทั่วไป ส่วนใหญ่เป็นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำลำคลองหลายสายไหลผ่าน มีน้ำไหลตลอดปี พื้นดินส่วนใหญ่เป็นดินเหนียว ร่วน ทราย เหมาะแก่การทำสวนผลไม้ และปลูกพืชผักต่าง ๆ เช่น มะพร้าว องุ่น มะนาว ฝรั่ง ถั่วฝักยาว เป็นต้น
ทรัพยากรทางธรรมชาติ
คลองส่งน้ำ จำนวน 25 สาย อาทิเช่น คลองมอญ คลองหลวง เป็นต้น จะมีขนาดใหญ่ กว้าง ส่วนคลองอื่นที่ไม่ใช่คลองหลัก เช่น คลองฮกเกี้ยน
จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปีพ.ศ. 2565 ระบุจำนวนครัวเรือนและประชากรในบ้านคลองมอญ จำนวน 441 หลังคาเรือน ประชากรรวมทั้งหมด 1,387 คน แบ่งเป็นประชากรชาย 671 คน หญิง 716 คน
กลุ่มชาติพันธุ์
มอญอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ในบริเวณลุ่มแม่น้ำเจ้าพระยาและแม่น้ำแม่กลอง เพราะภัยสงคราม การอพยพเข้ามาสู่ประเทศไทย ครั้งสำคัญ ๆ มี 8 ครั้ง คือ สมัยอยุธยา 5 ครั้ง สมัยกรุงธนบุรี 1 ครั้ง และสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น 2 ครั้ง
ชาวมอญที่อพยพเข้ามาสู่ประเทศไทยนั้น มักจะได้รับการต้อนรับอย่างดีจากกษัตริย์ไทย และจะได้รับพระราชทานที่ดินที่เหมาะสมให้ตั้งหลักแหล่ง ซึ่งส่วนใหญ่มักจะอยู่ตามริมน้ำ โดยเฉพาะบริเวณสองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาตอนเหนือกรุงเทพฯ ขึ้นไป และลำน้ำแม่กลอง
ชาวมอญในลุ่มน้ำแม่กลอง ตั้งถิ่นฐานมากเฉพาะบริเวณสองฝั่งแม่น้ำแม่กลอง ตั้งแต่บ้านโป่งถึงโพธาราม ด้วยสาเหตุ
- เป็นแหล่งที่อุดมสมบูรณ์ เหมาะแก่การทำเกษตรกรรม การตั้งถิ่นฐานและการคมนาคม จึงมีการอพยพของชาวมอญ ทั้งจากพม่าและจากลุ่มน้ำเจ้าพระยามาอยู่
- บริเวณนี้ใกล้เส้นทางอพยพทางด่านเจดีย์สามองค์มากที่สุด และใกล้เมืองมอญมาก สะดวกต่อการกลับไปเยี่ยมบ้านเดิมหรือไหว้เจดีย์ละเกิ้ง (ชะเวดากอง)
ฉะนั้นจะเห็นว่า มีการอพยพของชาวมอญหลายระลอก เข้ามาบริเวณลุ่มแม่น้ำแม่กลอง บริเวณบ้านโป่ง-โพธาราม ตั้งแต่สมัยอยุธยา-ธนบุรี-กรุงเทพฯ มาสร้างชุมชนของตน เรียงรายเป็นระยะ โดยตั้งชื่อวัดตามชื่อเดิมในเมืองมอญ เช่น วัดตาล วัดมะขาม วัดม่วง วัดนครชุมน์ และวัดคงคาราม เป็นต้น
มอญด้านกลุ่มอาชีพ ประชากรในตำบลท่านัดส่วนใหญ่ประกอบอาชีพเกษตรกรรมทำสวนผลไม้ยืนต้นเป็นอาชีพหลัก โดยมีองุ่นและมะพร้าวเป็นพืชหลัก รองลงมาคือ มะนาว ฝรั่ง มะม่วง ชมพู่ มะละกอ มีการนำสวนไม้ล้มลุกบางส่วน เช่น กล้วยไม้ แก้วมังกร และมีการประกอบอาชีพรับจ้างเป็นอาชีพรอง อุตสาหกรรมส่วนใหญ่เป็นลักษณะอุตสาหกรรมในครัวเรือน เช่น โรงงานผลิตซีอิ๊ว กิจการเกี่ยวกับยานยนต์ ตลาด โลตัส เป็นต้น
มอญเป็นกลุ่มชาติพันธุ์หนึ่งในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ที่มีความสามารถ เมื่อมาอยู่ในประเทศไทย ก็ทำให้ดินแดนสองฟากฝั่งของแม่น้ำแม่กลองเจริญรุ่งเรืองด้วยวัฒนธรรม ซึ่งได้แบบอย่างที่เคร่งครัดตามแนวพุทธศาสนารามัญนิกาย ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 4 เป็นต้นมา แม้ในปัจจุบันการดำรงชีวิตของชาวมอญจะผสมผสานกลมกลืนไปกับชาวไทยจนไม่อาจจำแนกความแตกต่างของประเพณีได้อย่างชัดเจน แต่สิ่งหนี่งที่คงยึดถือปฏิบัติสืบต่อกันมา คือ การถือผี โดยเฉพาะผีเรือน และผีบรรพบุรุษ
การนับถือผี
สมาชิกในครอบครัว จะได้รับการสอนให้รู้จักและนับถือผีบรรพบุรุษประจำตระกูลของตน ทุกครอบครัว มักกำหนดให้ลูกชายคนโตเป็น “ต้นผี” หรือ “ผู้รับผี” ซึ่งจะเป็นผู้สืบทอดการเลี้ยง และการทำพิธีกรรมต่าง ๆ เพื่อให้เกิดสิริมงคล โชคดี และความสุขในครอบครัว ญาติพี่น้องที่อยู่ไกล ๆ หรือใกล้จะต้องกลับมาร่วมประกอบพิธี จะเห็นได้ว่าการสร้างบ้านนั้น ทุกหลังคาเรือนให้ความสำคัญกับ “เสาเอก” ของบ้าน จะถือเป็นเสาหลัก เป็นเสาที่นับถือที่สุด เพราะเป็นที่ไว้ผีบรรพบุรุษ ปู่ ย่า ตา ทวด
ศาสนา
แม้ชาวบ้านม่วงจะนับถือผีและมีพิธีกรรมความเชื่อ แต่ชาวบ้านม่วงยังนับถือพุทธศาสนาอย่างเคร่งครัด สะท้อนให้เห็นจากวิถีชีวิตประจำวัน พิธีกรรมเกี่ยวกับชีวิตและพิธีกรรมในรอบปี ตลอดชีวิตของชาวมอญนั้น เกี่ยวข้องกับวัดตลอด ตั้งแต่เกิดจนกระทั่งตาย
ทุนวัฒนธรรม
วัดอมรญาติสมาคม (วัดมอญ) เป็นวัดที่สร้างขึ้นโดยคนมอญ ประวัติความเป็นมาเล่ากันว่า เสมียนเกาะ เป็นเสมียนอยู่กรุงเทพฯ ได้หาไม้มาสร้างบ้านและยุ้งข้าว ไม้ที่เหลือจึงนำมาสร้างวัด และได้อาราธนาพระจากโพธาราม จังหวัดราชบุรี มาเป็นสมภาร จากนั้นวัดอมรญาติสมาคม ได้มีการพัฒนาเรื่อยมาจนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้สิ่งหนึ่งที่บ่งบอกถึงความเป็นศิลปะของชาวมอญ คือ หงส์คู่ ซึ่งปัจจุบันนี้เหลือเพียงเสาเดียว เนื่องจากถูกขโมยไปเมื่อหลายปีก่อน
กรมการปกครอง. (2565). ระบบสถิติทางการทะเบียน จำนวนประชากร. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566, จาก: http://stat.bora.dopa.go.th/.
สุภาภรณ์ จินดามณีโรจน์. (2552). ชุมชนมอญในประเทศไทย – มอญบ้านโป่ง – โพธาราม จ.ราชบุรี. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566, จาก: http://www.openbase.in.th/.
องค์การบริหารส่วนตำบลท่านัด. (2556). ข้อมูลพื้นฐาน. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 29 มีนาคม 2566, จาก: http://www.tanud.go.th/.