Advance search

สี่แยกบ้านแขก

พื้นที่ที่มีชาวมุสลิมอยู่ร่วมกันจำนวนมาก มีพื้นที่ติดกับชุมชนบ้านสมเด็จและชุมชนบางไส้ไก่ กระทั่งกลายเป็นย่านที่รวมผู้คนหลายศาสนาหลากวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน โดยมี "วัดหิรัญจูรี" เป็นศาสนสถานสำคัญที่เปรียบเสมือนสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของผู้คนในชุมชน

หิรัญรูจี
ธนบุรี
กรุงเทพมหานคร
ปพิชญา ทับสมุทร
17 มี.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
13 เม.ย. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
30 เม.ย. 2023
สี่แยกบ้านแขก

พื้นที่ที่มีชาวมุสลิมอยู่ร่วมกันจำนวนมากจนถูกเรียกว่า "บ้านแขก"


พื้นที่ที่มีชาวมุสลิมอยู่ร่วมกันจำนวนมาก มีพื้นที่ติดกับชุมชนบ้านสมเด็จและชุมชนบางไส้ไก่ กระทั่งกลายเป็นย่านที่รวมผู้คนหลายศาสนาหลากวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน โดยมี "วัดหิรัญจูรี" เป็นศาสนสถานสำคัญที่เปรียบเสมือนสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของผู้คนในชุมชน

หิรัญรูจี
ธนบุรี
กรุงเทพมหานคร
10600
สำนักงานเขตธนบุรี โทร. 0-2465-2089
13.75496
100.48722
กรุงเทพมหานคร

ในอดีตชุมชนสี่แยกบ้านแขกเป็นสวนสำหรับปลูกผลไม้ ไม่มีสิ่งก่อสร้างใด ๆ จนกระทั่งสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาศรีสุริยวงศ์ (ช่วง บุนนาค) เดินทางไปยังประเทศสิงคโปร์เพื่อดูความเจริญของบ้านเมือง เมื่อกลับมาจึงพลอยได้ตระเวนตรวจตราตามหัวเมืองภาคใต้ และได้ผ่านมายังเมืองปัตตานี ท่านได้เห็นสถาปัตยกรรมที่งดงาม เป็นเหตุให้เชื้อเชิญช่างชาวมุสลิมที่มีฝีมือ ตลอดจนทายาทเจ้าเมืองเดินทางกลับมากรุงเทพฯ ได้ปันที่ดินส่วนตัวให้อาศัยอยู่บริเวณด้านหลังสวน ต่อมากลายเป็นสถานที่ตั้งมหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จเจ้าพระยาในปัจจุบัน

มุสลิมที่บ้านแขกนั้นเป็นกลุ่มช่างฝีมือหลวงที่มีความสามารถเรื่องทำทอง ตีทอง ทำทองรูปพรรณ แกะลวดลายลงยาฝังเพชรพลอย ทำให้มีการกระจายชุมชนแหล่งผลิตไปตามย่านต่าง ๆ มาทางตรอกศิลป์ที่เคยเป็นย่านเดิมของช่างแกะลวดลายและช่างตีทองคำเปลว ไปจนถึงย่านวัดสุทัศน์ฯ ที่มีถนนตีทอง ทำให้งานช่างทองกลายเป็นงานอาชีพของผู้คนภายในเมืองเก่าและกลายเป็นช่างทองหลวงรับราชการในพระบรมมหาราชวังก็มาก ตลอดจนสืบเนื่องไปรับราชการในกองกษาปณ์ยุคเดิมที่ครั้งยังทำเครื่องราชอิสริยาภรณ์แก่รัฐบาล

ชาวชุมชนมุสลิมหลังสวนตรงนี้ ต่อมาเรียกว่า ‘บ้านแขก’ หรือ ‘ก๊กสมเด็จ’ เพราะเป็นสถานที่รวมผู้คนชาวมุสลิมไว้มากมาย กระทั่งก่อเกิดเป็นชุมชนบ้านแขก ตั้งติดกับชุมชนบ้านสมเด็จและชุมชนบางไส้ไก่ (จากประเทศลาว) จนกลายเป็นย่านที่รวมผู้คนหลากหลายศาสนาหลากวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน และอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างสันติสุขเสมอมา

แยกบ้านแขก เป็นสี่แยกที่มีจุดตัดระหว่างถนนประชาธิปกกับถนนอิสรภาพ ตั้งอยู่ในพื้นที่แขวงหิรัญรูจี เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร และเป็นแยกสุดท้ายก่อนที่จะไปยังสะพานพระปกเกล้าเพื่อไปยังฝั่งพระนคร

  • ทิศเหนือ ติดกับ ซอยโรงรับจำนำสี่แยกบ้านแขก
  • ทิศใต้ ติดกับ ถนนประชาธิปก
  • ทิศตะวันออก ติดกับ ถนนอิสรภาพ
  • ทิศตะวันตก ติดกับ ชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จ

กลุ่มคนที่อาศัยอยู่ในพื้นที่ชุมชนสี่แยกบ้านแขกมีความสัมพันธ์ในลักษณะเครือญาติ มีการช่วยเหลือเกื้อกูลและทำกิจกรรมร่วมกันอยู่เสมอ โดยเฉพาะกิจกรรมทางศาสนาและกิจกรรมพิเศษที่เป็นเอกลักษณ์ของชุมชน ซึ่งชุมชนสี่แยกบ้านแขกประกอบด้วย 264 ครัวเรือน มีประชากรจำนวน 1,160 คน

มลายู
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

วัดหิรัญจูรี เดิมชื่อ "วัดน้อย" สร้างในสมัยกรุงธนบุรี ประมาณปี พ.ศ. 2321 โดยเจ้าขรัวเงิน พระชนกของกรมสมเด็จพระศรีสุรยนทรามาตย์ พระมเหสีในรัชกาลที่ 2 และสมัยรัชกาลที่ 4 พระยาอนุชิตได้ทำการบูรณปฏิสังขรณ์แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง เมื่อปี พ.ศ. 2379 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนามว่า วัดหิรัญจูรี และโปรดให้หล่อพระพุทธรูปด้วยเงินทั้งองค์ปางมารวิชัย ประดิษฐานไว้ในพระอุโบสถ เพื่อเป็นพระพุทธรูปประจำวัด

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

สำนักศิลปะและวัฒนธรรม มหาวิทยาลัยราชภัฏบ้านสมเด็จ. (2550). การศึกษาองค์ความรู้และแนวทางการพัฒนาการท่องเที่ยวแบบยั่งยืน ย่านกุฎีจีนและพื้นที่เกี่ยวเนื่อง เขตธนบุรี ใน บทสรุปสำหรับผู้บริหาร. กรุงเทพฯ: มหาวิทยาลัยบ้านสมเด็จเจ้าพระยา.

สุธาน บัวใหญ่. (2558). สี่แยกบ้านแขก…ลมหายใจหลายวัฒนธรรม. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อ 17 มีนาคม 2566, จาก https://www.sarakadee.com/

พิสิฐ เจริญสุข. (2551). พระอารามหลวง เล่ม 1. กรุงเทพฯ: กรมศาสนา กระทรวงวัฒนธรรม.