"พระธาตุคู่ดูสง่า น้ำตกแม่สุกงามตา สำเนียงภาษาบอกถิ่น หมู่บ้านแม่คู่แผ่นดิน ลิ้นจี่ดีมีมากมาย หลากหลายผลิตภัณฑ์"
บริเวณที่ตั้งหมู่บ้านมีต้นไม้ชนิดหนึ่ง ขึ้นอยู่ตามลำห้วยของหมู่บ้าน และออกดอกส่งกลิ่นหอมตลบอบอวนไปทั่วทั้งหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านได้รับกลิ่นหอมจากดอกไม้ชนิดนี้มาตลอด คนในหมู่บ้านจึงเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า “ต้นสีสุก” (ต้นอโศกอินเดียสีทอง) และใช้ชื่อนี้ในการตั้งหมู่บ้าน
"พระธาตุคู่ดูสง่า น้ำตกแม่สุกงามตา สำเนียงภาษาบอกถิ่น หมู่บ้านแม่คู่แผ่นดิน ลิ้นจี่ดีมีมากมาย หลากหลายผลิตภัณฑ์"
ประวัติความเป็นมาของบ้านแม่สุกเหนือ หมู่ที่ 1 สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ทราบแน่ชัด แต่จากหลักฐานและประกอบกับคำบอกเล่าของผู้เฒ่าผู้แก่ภายในหมู่บ้านเล่าต่อกันมาว่า เมื่อปีพุทธศักราช 2383 มีพระภิกษุซึ่งเดินทางมาจากบ้านขอหัวช้าง เมืองปาน (ปัจจุบัน อ.เมืองปาน จ.ลำปาง) คือ “ครูบายาสมุทร” เข้ามาก่อตั้ง พร้อมกับพระภิกษุสงฆ์ที่มาด้วยกันคือ ครูบาโน, พระกันธิยะ, พระกัญจนะ, พระอินตาวิชัย, พระธนันชัย, พระมานะวงศ์, พระอโนชัย, พระธัมมะจัย, พระอภิชัย ส่วนฝ่ายฆราวาสนั้นมี หาญฟ้าเขียว, หาญธนู, หาญศิริ, แสนปัญญา, แสนอุทธโยธา, แสนสาร, แสนบุญโยง, แสนแก้ว, แสนใจ, ต้าวมิ่ง, ต้าวพรหม, ต้าวใจ ร่วมกับชาวบ้านที่เดินทางมาจากบ้านขอหัวช้าง ประมาณ 50 ครอบครัว เข้ามาก่อตั้งรกราก และเห็นว่าพื้นที่นี้มีความอุดมสมบูรณ์ จึงได้ลงหลัก ปักฐาน ทำมาหากินรวมตัวกันเป็นหมู่บ้านที่ใหญ่ขึ้น โดยมีผู้ก่อตั้งครั้งแรกก็คือ “ท่านหาญฟ้าเขียว” เป็นคนบ้านขอหัวช้าง อำเภอเมืองปาน จังหวัดลำปาง พร้อมด้วย “ท่านพระยาศิริ ศิริคำน้อย” เป็นหัวหน้าชาวบ้านแม่สุก อำเภอพาน จังหวัดเชียงราย มาตั้งหมู่บ้านในบริเวณที่ราบเชิงเขา รวม 3 หมู่บ้าน ได้แก่ บ้านแม่สุก บ้านแม่จว้า บ้านแม่จว้าใต้ รวมกันเป็นหนึ่งตำบล
ในบริเวณหมู่บ้านนี้ได้มีต้นไม้ชนิดหนึ่งจะขึ้นอยู่ตามลำห้วยของหมู่บ้าน และได้ออกดอกส่งกลิ่นหอมตลบอบอวนไปทั่วทั้งหมู่บ้าน ทำให้ชาวบ้านได้รับกลิ่นหอมจากดอกไม้ชนิดนี้มาตลอด คนในหมู่บ้านจึงเรียกต้นไม้ชนิดนี้ว่า“ต้นสีสุก” (ต้นอโศกอินเดียสีทอง) ในคราวนั้นทางหมู่บ้านก็ยังไม่มีชื่อหมู่บ้านอย่างเป็นทางการ และตอนนั้นทางผู้เฒ่าผู้แก่ในหมู่บ้านก็ได้ปรึกษาหารือกันว่าในหมู่บ้านของเราจะต้องมีการตั้งชื่อหมู่บ้านอย่างเป็นทางการแล้ว และเราควรจะตั้งชื่อหมู่บ้านว่าหมู่บ้านอะไรดี และก็ได้มีชาวบ้านได้เสนอชื่อหมู่บ้านว่าให้ใช้ชื่อหมู่บ้านว่า “บ้านสีสุก” ดีกว่าเพราะว่าเรามีต้นไม้สีสุกอยู่เป็นจำนวนมาก และประกอบกับราษฎรจำนวนหนึ่งของพวกเราได้ก็อพยพมาจากบ้านแม่สุก อำเภอแจ้ห่ม และอำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง แต่ต่อมาเลยเปลี่ยนชื่อเป็น “บ้านแม่สุก”
จุลศักราช 1149 ปีมะแม นพศก พุทธศักราช 2330 พระเจ้าเมืองอังวะสั่งให้อะแซหวุ่นกี้เป็นแม่ทัพยกกองทัพใหญ่มาทางหัวเมืองฝ่ายเหนือ เช่น เมืองฝาง เมืองเชียงราย เมืองเชียงแสน และเมืองพะเยา รวมเข้าด้วย เจ้านายและประชาชนตื่นตกใจต่างพากันอพยพครอบครัวหลบหนีข้าศึกพม่าไปอยู่เมืองลำปาง ครอบครัวชาวเมืองเชียงรายไปตั้งอยู่ที่ห้าแยกเมืองลำปาง ได้ร่วมกันสร้างวัดโดยถือเอาตามนามเมืองเดิมที่มาจากเชียงรายว่า “วัดเชียงราย” มาจนบัดนี้ ฝ่ายครอบครัวของชาวเมืองปุ เมืองสาด ที่ถูกกวาดต้อนมาตั้งบ้านเรือนอยู่บ้านวัดเมืองศาสตร์เดี๋ยวนี้ ส่วนชาวเมืองพะเยา ได้อพยพไปตั้งหลักอยู่บ้านปงสนุกด้านใต้ฝั่งขวาของแม่น้ำวัง คือ บ้านปงสนุกในปัจจุบัน เมืองพะเยาในสมัยนั้นในบริเวณตัวเมืองรกร้างไปเป็นเวลานานถึง 56 ปี (พระธรรมวิมลโมลี. (ม.ป.ป.). อัครดุษฎีบัณฑิตแห่งภูกามยาว. พะเยา: วัดศรีโคมคำ.)
ปี พ.ศ. 2386 ในรัชสมัยของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมหาราช รัชกาลที่ 3 ทรงโปรดให้เจ้าหลวงวงศ์ นําชาวเมืองพะเยามาจากเมืองลําปาง แล้วฟื้นฟูเมืองพะเยาขึ้นมาใหม่ ให้เมืองพะเยาเป็นเมืองขึ้นของเมืองลําปาง จากนั้น เมืองพะเยามีเจ้าผู้ครองเมืองต่อมาอีกหลายองค์ เจ้าผู้ครองเมืององค์สุดท้ายคือ พระยาประเทศอุดรทิศ (เจ้าหนานไชยวงศ์ศีติสาร) ที่ปรากฏในพงศาวดารเมืองเงินยางเชียงแสน
ข้อสมมุติฐานที่ผู้เฒ่าผู้แก่ในพะเยาเล่าตรงกันคือบรรพบุรุษอพยพมาจากลำปาง
จุลศักราช 1209 พุทธศักราช 2390 ท่านครูบายาสมุทร และ ท่านครูบาโน ร่วมกับชาวบ้านสร้างวัดแม่สุกขึ้นมา เพื่อที่จะให้เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้านแม่สุก ซึ่งวัดแม่สุก เดิมชื่อ “วัดแม่สีสุกสมุทรน้ำล้อมวราราม” เนื่องจากสภาพแวดล้อมในอดีตบริเวณวัดรอบล้อมไปด้วยแม่น้ำลำธาร 4 ด้าน และทั่วพื้นที่ในหมู่บ้านและวัดจะมีต้นไม้ชนิดหนึ่ง ซึ่งชาวบ้าน เรียกกันว่า “ไม้สีสุก” (อโศก) ต้นไม้ชนิดนี้เมื่อผลิดอกจะส่งกลิ่นหอมตลบอบอวนไปทั่วบ้าน จึงเป็นที่มาของคำว่า “แม่สุก” อีกประการหนึ่ง วัดแห่งนี้มีพระภิกษุ ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้าน ชื่อ“ยาสมุทร” เป็นผู้นำชาวบ้านประมาณ 50 หลังคาเรือน สร้างวัดขึ้นมาแล้วตั้งชื่อวัดว่า “แม่สุกสมุทรน้ำล้อมวราราม” โดยเอาคำว่า “แม่สุก” มาจากชื่อของแม่น้ำและต้นไม้สีสุก คำว่า “สมุทร” เป็นชื่อของพระสงฆ์ที่เป็นผู้นำในการสร้าง ส่วนคำว่า “น้ำล้อม” มาจากสภาพบริเวณวัด ที่มีแม่น้ำลำธารล้อมรอบทั้ง 4 ด้าน
พ.ศ. 2397 ชาวบ้านค้นพบแหล่งน้ำธรรมชาติเก็บกักน้ำ(ปัจจุบันถูกพัฒนาเป็นอ่างเก็บน้ำแม่สุก) ซึ่งเป็นแหล่งต้นน้ำที่สำคัญเป็นอย่างมาก ในการใช้ดำเนินชีวิตของชาวบ้าน โดยเฉพาะทางการเกษตรกรรม เนื่องจากในสมัยก่อนนั้นชาวบ้านส่วนใหญ่มีอาชีพหลักคือ ทำนาโดยใช้ควายไถนา
พ.ศ. 2405 ได้มีการจัดตั้งศูนย์เด็กเล็กขึ้นข้างวัด โดยมีครูคนแรก คือ ครูอินจันทร์ โดยได้ทำการจัดการเรียนการสอนตั้งแต่นั้นมา
พ.ศ. 2472 ได้ก่อตั้งสถานศึกษาเพิ่มขึ้นอีกแห่ง ชื่อว่า โรงเรียนชุมชนบ้านแม่สุก ได้ทำการเรียนการสอนเป็นระยะเวลาเกือบ 8 ปี
พ.ศ. 2480 ทางราชการได้สั่งยุบ ให้เรียนรวมที่โรงเรียนบ้านแม่จว้า โดยอาศัยวัดตาลถ้อยเป็นที่เรียน ต่อมาผู้ปกครอง เจ้าอาวาส วัดแม่สุก เห็นว่าการเดินทางไปเรียนที่โรงเรียนบ้านแม่จว้าของลูกหลานนั้นมีความยากลำบาก เนื่องจากระยะทางไกล จึงได้ทำหนังสือร้องขอ จัดตั้งโรงเรียนขึ้นใหม่เป็นครั้งที่ 2
1 มิถุนายน พ.ศ. 2482 เปิดโรงเรียนบ้านแม่สุกอีกครั้ง โดยอาศัยวัดแม่สุกเป็นอาคารเรียนชั่วคราว นอกจากนี้นางมอญแก้ว อุทธโยธา ได้รวบรวมเงินบริจาคจัดซื้อที่ดินข้างวัดแม่สุกและจัดสร้างอาคารเรียนชั่วคราว 1 หลังเป็นห้องเรียน
พ.ศ. 2483 ชาวบ้านได้มีการใช้ตะเกียงน้ำมันในการให้แสงสว่าง
ปี พ.ศ. 2485 เวลาเจ็บป่วยชาวบ้านจะรักษาโดยใช้สมุนไพรนำมาบดหรือต้มรับประทาน ดื่มน้ำมนต์ และนิยมไปหาหมอเป่ารักษาโรค โดยเชื่อว่าโรคภัยไข้เจ็บต่างๆเกิดจากโดนภูตผีปีศาจกระทำ
ปี พ.ศ. 2487 มีการทำคลอดโดยหมอตำแย ซึ่งหมู่บ้านแม่สุกนี้มีหมอตำแยเป็นผู้ชาย
ปี พ.ศ. 2490 เริ่มมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุสองดวง
ปี พ.ศ. 2505 ผู้นำหมู่บ้าน ผู้ปกครอง นักเรียนและชาวบ้าน เห็นว่าสถานที่ข้างวัดแม่สุก เริ่มคับแคบ จึงได้รวบรวมเงินบริจาค 8,000 ซื้อที่ดินผืนใหม่ ซึ่งเป็นที่ดินในที่ตั้งของโรงเรียนในปัจจุบัน เมื่อสภาพแวดล้อมเปลี่ยนแปลงไป ไม่มีร่องรอยของอดีตเหลืออยู่ เช่น ต้นไม้ ลำธาร ล้อมรอบ ทั้ง 4 ด้าน ต้นไม้ไม่มีให้เห็นเป็นดั่งเช่นอดีต จึงได้ทำเปลี่ยนชื่อวัดจากชื่อ “วัดแม่สีสุกสมุทรน้ำล้อมวราราม”เป็น “วัดแม่สุก” ในปี 2507
พ.ศ. 2512 ได้มีการแยกหมู่บ้าน ซึ่งแต่เดิมนั้นการเริ่มต้นตั้งถิ่นฐานของบ้านแม่สุกก็มีหมู่บ้านอยู่ 2 หมู่บ้านคือ บ้านแม่สุกหมู่ที่ 1 และหมู่ที่ 2 เท่านั้น และบ้านแม่จว้าก็มีอยู่ 3 หมู่บ้านคือ หมู่ที่ 3 ,4 ,5 และต่อมาได้มีการแยกหมู่บ้านออกมาอีก 1 หมู่บ้านก็คือหมู่ที่ 6 บ้านแม่สุกกลางโดยแยกออกมาจากหมู่ที่ 1 และมีการก่อตั้งสถานีอนามัยแม่สุกขึ้น ต่อมาในปี พ.ศ. 2517 เริ่มมีไฟฟ้าเข้าหมู่บ้าน โดยเสาไฟฟ้าเป็นลักษณะเสาไม้
พ.ศ. 2518 มีรถจักรยานคันแรกในหมู่บ้านแม่สุก
ปี พ.ศ. 2520 วันที่ 28 สิงหาคม อำเภอพะเยาได้ยกฐานะขึ้นเป็น จังหวัดพะเยา นับเป็นจังหวัดที่ 72 ของประเทศไทย โดยแยกออกจากจังหวัดเชียงราย
พ.ศ. 2522 มีถนนเข้าหมู่บ้านและมีโทรทัศน์เครื่องแรกในหมู่บ้าน รวมไปถึงทางด้านสาธารณสุขไทยได้มีการเปลี่ยนแปลงจากสาธารณสุขเบื้องต้นมาเป็นสาธารณสุขมูลฐาน
พ.ศ. 2553 ฝนตกหนักจนทำให้เกิดอุทกภัย ส่งผลกระทบต่อบ้านเรือนของชาวบ้านทั้งหมู่บ้าน
พ.ศ. 2556 มีลูกเห็บขนาดใหญ่ทำให้เกิดความเสียหายต่อหลังคาบ้านของชาวบ้าน นอกจากนี้ได้เกิดความเสียหายต่อสวนลิ้นจี่ ซึ่งเป็นผลผลิตที่สำคัญของชาวบ้าน ทำให้มีรายได้ลดลง
พ.ศ. 2561 เริ่มเกิดวิกฤตภัยแล้ง ทำให้น้ำไม่เพียงพอสำหรับการทำการเกษตร ปัจจุบัน
พ.ศ. 2562 ภัยแล้งเริ่มทวีความรุนแรงมากขึ้น ทำให้ต้องมีการเลื่อนการทำเกษตร เช่น การปลูกข้าว แต่ได้รับการช่วยเหลือจากทางราชการ ซึ่งมีงบประมาณเข้ามาในหมู่บ้าน เพื่อแก้ปัญหาภัยแล้ง นอกจากนี้ได้มีการประปาส่วนภูมิภาคเข้ามาในหมู่บ้าน
ปัจจุบันมีนายจันทอง อุตตะมาลัง เริ่มดำรงตำแหน่งผู้ใหญ่บ้านตั้งแต่ปี พ.ศ. 2547-ปัจจุบัน
สภาพภายในหมู่บ้าน
บ้านแม่สุกเหนือ ตั้งอยู่หมู่ 1 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา มีบ้านเรือนทั้งหมด 123 หลังคาเรือน จำนวนประชากรที่อาศัยอยู่จริงทั้งหมด 337 คน ที่ตั้งของหมู่บ้านมีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มเชิงเขาของเทือกเขาดอยหลวง มีลำคลองผ่านกลางหมู่บ้าน พื้นที่หมู่บ้านมีทั้งหมด 2,000 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 1,200 ไร่ เป็นที่อยู่อาศัย 798 ไร่ และเป็นที่สาธารณะ 2 ไร่ พื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นที่เกษตรกรรม สภาพบ้านส่วนใหญ่เป็นบ้านสองชั้นครึ่งปูนครึ่งไม้ บ้านเรือนแต่ละหลังล้อมรอบด้วยรั้วเพื่อแสดงขอบเขตบ้าน มีบ้านบางหลังที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เดียวกันและมีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ สภาพภายในหมู่บ้านเป็นชุมชนที่ล้อมรอบด้วยไร่นา ต้นไผ่ ภูเขา มีลำคลองทอดผ่านกลางหมู่บ้านโดยรับน้ำจากอ่างเก็บน้ำแม่สุกผ่านแม่น้ำแม่สุกมาหล่อเลี้ยงหมู่บ้าน ชาวบ้านประกอบอาชีพเกษตรกรเป็นส่วนใหญ่ ชาวบ้านแม่สุกเหนือมีการพึ่งพาอาศัยกัน มีวัดแม่สุกธาตุเป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจ มีความเชื่อและปฏิบัติตามขนบธรรมเนียม วัฒนธรรม ประเพณีของคนในหมู่บ้านสืบต่อกันมา
การคมนาคม
บ้านแม่สุกเหนือ หมู่ที่ 1 ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือของอำเภอเมืองพะเยา ห่างจากตัวเมืองพะเยาระยะทางประมาณ 25 กิโลเมตร เส้นทางที่สามารถเดินทางไปบ้านแม่สุกเหนือมีทั้งหมด 3 เส้นทาง โดยจุดศูนย์กลาง คือ ศาลากลางจังหวัดพะเยา ดังนี้ (ภาพประกอบ36.3)
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดกับเขตหมู่ 6 บ้านแม่สุกกลาง ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
- ทิศใต้ ติดกับเขตหมู่ 9 บ้านแม่สุกดอย ตำบลแม่สุก อำเภอแม่ใจ จังหวัดพะเยา
- ทิศตะวันออก ติดกับเขตหมู่ 6 บ้านแม่สุกกลางและเขตหมู่ 9 บ้านแม่สุกดอย
- ทิศตะวันตก ติดกับอุทยานแห่งชาติดอยหลวง อำเภอวังเหนือ จังหวัดลำปาง
สภาพภูมิอากาศ แบ่งเป็น 3 ฤดู
- ฤดูร้อน : อยู่ระหว่างเดือนมีนาคมถึงเดือนพฤษภาคม จะร้อนจัดในเดือนเมษายน ช่วงนี้มักจะเป็นช่วงเก็บเกี่ยวผลผลิต เช่น กระเทียม หอม ข้าวโพด ถั่วลิสง ลิ้นจี่ และรับจ้างทั่วไป
- ฤดูฝน : อยู่ระหว่างเดือนมิถุนายนถึงเดือนตุลาคม จะมีฝนตกชุกในเดือนสิงหาคมและกันยายน ช่วงนี้ชาวบ้านจะทำนา ทำไร่ ได้แก่ ปลูกข้าว ข้าวโพด ถั่วดำ มันสำปะหลัง ทำสวน ได้แก่ สวนลิ้นจี่ สวนลำไย สวนยางพารา
- ฤดูหนาว : อยู่ระหว่างเดือนพฤศจิกายนถึงเดือนกุมภาพันธ์ จะหนาวจัดในช่วงเดือนธันวาคมถึงเดือนมกราคม ช่วงนี้จะเริ่มเก็บเกี่ยวข้าว ข้าวโพด ถั่วดำ มันสำปะหลัง ฝรั่ง และเริ่มปลูกหอม กระเทียม
จากการสำรวจของนักศึกษาพยาบาลชั้นปีที่ 4 วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนีพะเยา ปี 2564 มีบ้านเรือนทั้งหมด 123 หลังคาเรือน จำนวนประชาการที่อาศัยอยู่จริงทั้งหมด 405 คน เพศชาย 202 คน เพศหญิง 203 คนประชากรที่อาศัยอยู่ที่บ้านแม่สุกเหนือเป็นคนพื้นเมือง พูดภาษาถิ่นในการติดติดต่อสื่อสาร มีการตั้งบ้านเรือนเป็นกลุ่มตามเครือญาติ พื้นที่ส่วนใหญ่ของชุมชนเป็นพื้นที่ราบโดยมีลำคลองทอดผ่านกลางหมู่บ้าน ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกร พื้นที่หมู่บ้านมีทั้งหมด 2,000 ไร่ พื้นที่ทำการเกษตร 1,200 ไร่ เป็นที่อยู่อาศัย 798 ไร่ และเป็นที่สาธารณะ 2 ไร่
ประชาชนในหมู่บ้านแม่สุกเหนือ หมู่ 1 มีผู้ใหญ่บ้านคือ นายจันทร์ทอง อุตตะมาลัง ผู้ช่วยผู้ใหญ่บ้านฝ่ายปกครอง ประกอบด้วยนายสมศักดิ์ โพธิ์วิเศษ และนายปรีชา อุทธโยธา แบ่งการดูแลเป็น 7 คุ้มบ้าน โดยที่แต่ลัคุ้มบ้านจะมีประธาน ซึ่งเป็นกรรมการหมู่บ้านตามโครงสร้าง มีการรวมกลุ่มกันอย่างเป็นทางการและไม่เป็นทางการ ดังนี้
กลุ่มที่เป็นทางการ
- กลุ่มอาสาสมัครสาธารณสุขประจำหมู่บ้าน (อสม.) : มีนางสายรุ้ง วงศ์งาม เป็นประธาน มี อสม.รวมประธานทั้งสิ้น 15 คน
- กลุ่มตำรวจบ้าน (สตบ.) : นายศรีทวน วงศ์มา เป็นประธาน มีอาสาสมัคร 28 คน
- อาสาสมัครป้องกันภัยฝ่ายพลเรือน : นายเลย ขาวสะอาด เป็นประธาน
กลุ่มที่ไม่เป็นทางการ
- กลุ่มผู้สูงอายุ : มีนายคำตั๋น ก๋าแก้ว เป็นประธาน มีสมาชิก 84 คน
- กลุ่มปุ๋ย SML : มีนายปี๋ วงศ์มา เป็นประธาน
- กลุ่มโรงน้ำดื่มชุมชน : กลุ่มร้านค้าประชารัฐเพื่อการเกษตรและกลุ่มกองทุนหมู่บ้าน มีนางสาววิไลวรรณ ใจมูลมั่ง เป็นประธานทั้ง 3 กลุ่ม
- กองทุน ก ข ค จ : (แก้ไขปัญหาความยากจน) นายจันทร์ทอง อุตตะมารัง เป็นประธาน
- กลุ่มประปาหมู่บ้าน : นายณรงค์ อวดลาภ เป็นประธาน
- กลุ่มพัฒนาสตรี (กลุ่มแม่บ้าน) และกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า : นางภิญญาดา ชัยก๋า เป็นประธานทั้ง 2 กลุ่ม
- กลุ่มอนุรักษ์ป่า : นายจันทร์ทอง อุตตะมารัง เป็นประธาน
- กลุ่มฌาปณกิจสงเคราะห์ : นางนงนุช วงศ์สีดา เป็นประธาน
- กลุ่มออมทรัพย์เพื่อการผลิต : นายศรีวรรณ อุทธโยธา เป็นประธาน
- กลุ่มปุ๋ยหมักชีวภาพ : นายลอย อุตตะมาลัง เป็นประธาน
- ลูกเสือชาวบ้าน : นายวิวัฒน์ ชาวดอน เป็นประธาน
สภาพทางเศรษฐกิจ
- รายได้ของประชาชน : จากการทำนา, ปลูกกระเทียม, ค้าขาย, เบี้ยยังชีพ, รับจ้างทั่วไป, เบี้ยยังชีพ, เงินจากลูกหลาน, หัตถกรรม (ไม้กวาดทางมะพร้าว), รับราชการ, พนักงานบริษัท, ปลูกลิ้นจี่, ขายลำไย, ขายไข่ไก่
- รายจ่ายของประชาชน : ค่าน้ำ, ค่าไฟ, ค่าน้ำมัน, ค่าโทรศัพท์, ค่าเล่าเรียนบุตร, ค่าอุปโภคบริโภค, ค่าหวย, ค่าปุ๋ย, ค่าบุหรี่-สุรา, ค่าปุ๋ย ค่าสารเคมีทางการเกษตร
- หนี้สินประชาชน : หนี้ ธกส., หนี้กองทุนหมู่บ้าน
ปฏิทินตามประเพณีในแต่ละเดือน มีดังนี้
- มกราคม (เดือน 4 ล้านนา) : วันขึ้นปีใหม่, กลางเดือนจัดทำพิธี “ตานข้าวใหม่”
- กุมภาพันธ์ (เดือน 5 ล้านนา) : เก็บส้มป่อยศักดิ์สิทธิ์ เป็นการเก็บในวันที่สำคัญของวันใดวันหนึ่งของเดือนเพื่อความศักดิ์สิทธิ์ในการนำส้มป่อยในประกอบพิธีต่าง ๆ, บวงสรวงศาลเจ้าบ้าน
- มีนาคม (เดือน 6 ล้านนา) : สรงน้ำพระธาตุ ที่วัดแม่สุกธาตุหมู่ 9
- เมษายน (เดือน 7 ล้านนา) : ปีใหม่เมือง ป๋าเวณีปี๋ใหม่เมือง หรือประเพณีปีใหม่เมือง เป็นประเพณีที่สำคัญของชาวเหนือ หรือชาวล้านนา สืบเนื่องมาจากอดีตกาลที่จะยึดถือเป็นช่วงเปลี่ยนศักราชใหม่ โดยกำหนดจุดที่พระอาทิตย์ย้ายจากราศีมีนเข้าสู่ราศีเมษ ซึ่งมักจะตรงกับวันที่ 13 เมษายน หรือ 14 เมษายนของแต่ละปี และจะกินเวลาประมาณ 4-7 วัน ยาวนานกว่าสงกรานต์ของภาคอื่น ๆ ในวันที่ 13 เมษายน วันสังขานต์ล่อง จะมีการจุดประทัด ยิงปืน เพื่อส่งสังขารหรือไล่สังขาร (จะถือเอาตามเวลาสังขานต์ล่องตามที่บอกในปฏิทินปี๋ใหม่เมืองในปีนั้น เช่นบอกว่าสังขานต์จะล่องเมื่อ 03 นาฬิกา 30 นาที 26 วินาที ชาวบ้านก็จะจุดประทัดเวลานั้นถือว่าไล่สังขานต์) วันที่ 14 เมษายน เป็น "วันดา" คือวันที่ต้อง เตรียมสิ่งของต่างๆ เพื่อใช้ทำบุญในวันรุ่งขึ้น วันเน่า ไม่ควรด่าทอ เกิดอุบัติเหตุเจ็บตัว สาปแช่งหรือกล่าวคำร้ายต่อกัน ปากจะเน่าจะเหม็น เป็นอัปมงคลไปทั้งปี วันที่ 15 เมษายน “วันพญาวัน” วันที่สามของประเพณีปีใหม่เมือง ถือเป็นวันเถลิงศก เปลี่ยนศักราชเริ่มต้นปีใหม่ วันนี้มีการทำบุญทางศาสนาแต่เช้าตรู่ และอุทิศกุศลไปถึงญาติผู้ล่วงลับ หรือเรียกว่า “ตานขันข้าว” นำตุงปักลงบนกองเจดีย์ทราย ช่วงบ่ายเป็นการรดน้ำดำหัว เพื่อขอขมาคนเฒ่าคนแก่ พ่อแม่ ครูอาจารย์ ไปสรงน้ำพระพุทธรูป เจดีย์ เลี้ยงผีปู่ย่าในวันนี้ วันที่ 16 เมษายน “วันปากปี” เป็นวันแรกของปี มารวมตัวกันเพื่อทำบุญเสาใจบ้าน หรือส่งเคราะห์บ้าน พิธีสืบชะตาหมู่บ้าน และพากันไปขอขมา ดำหัว พระเถระผู้ใหญ่ตามวัดต่างๆ ดำหัวผู้อาวุโส ผู้นำชุมชน ในตอนค่ำของวันนี้จะมีการบูชาเทียน สืบชะตา ลดเคราะห์ รับโชค เพื่อให้เกิดความเป็นมงคลแก่ครอบครัว ส่วนความเชื่อบางประการเกี่ยวกับวันปากปีจะกิน “แกงขนุน” หรือภาษาชาวบ้านเรียกว่า “แก๋งบ่าหนุน” กันทุกครอบครัว เพราะเชื่อว่าจะหนุนชีวิตให้เจริญก้าวหน้า ทั้งนี้เหตุผลของการทานแกงขนุนดังกล่าว อาจจะมาจากชื่อขนุน ที่มีความหมายถึงการเกื้อหนุน ค้ำจุน ครอบครัวให้เจริญรุ่งเรืองหรือตลอดปี
- พฤษภาคม (เดือน 8 ล้านนา) : เลี้ยงผีเจ้าที่
- มิถุนายน (เดือน 9 ล้านนา) : ประเพณีเลี้ยงผีปู่ย่า ไหว้ผีมดผีเม็ง, ประเพณีเลี้ยงผีป่า เจ้าที่นาเลี้ยงโดยเหล้าไห ไก่คู่ เป็นการเลี้ยงเจ้าที่ก่อนลงทำนาเพื่อให้การทำนาราบรื่นและได้ผลผลิตดี
- กรกฎาคม (เดือน 10 ล้านนา) : แรม 1 ค่ำ เดือน 8 ทำบุญเข้าพรรษา
- สิงหาคม (เดือน 11 ล้านนา) : ช่วงเดือนนี้จะอยู่ในช่วงเข้าพรรษา มีการทำบุญตักบาตร
- กันยายน (เดือน 12 ล้านนา) : ปล่อยเปรตปล่อยผี ทำบุญให้กับคนที่ล่วงลับไปแล้ว, ตานก๋วยสลาก ช่วงเดือน 12 ล้านนาถึงเดือนยี่ หรือตั้งแต่เดือนกันยายนจนถึงเดือนตุลาคมของทุกปี
- ตุลาคม (เดือนเกี๋ยงล้านนาหรือเดือนอ้าย) : ทำบุญออกพรรษา อยู่ในช่วงตานก๋วยสลาก สิ้นสุดเอาในเดือนเกี๋ยงดับ
- พฤศจิกายน (เดือนยี่ ล้านนา) : ทอดกฐิน มีเวลา 1 เดือนหลังจากออกพรรษา ตั้งแต่วันแรม 1 ค่ำ เดือนเกี๋ยง (เดือนเกี๋ยงดับ) จนถึงวันเพ็ญเดือนยี่เหนือ, ประเพณียี่เป็ง
- ธันวาคม (เดือน 3 ล้านนา) : มีการร่วมกันเก็บเกี่ยวข้าว ลงแขกเอามื้อ
1. นายสุข ไม้ขนุน หมอยา
2. นายคำตั๋น ตาแก้ว หมอยา
3. นายจันทร์แก้ว ยอดตุ้ย หมอพื้นบ้าน
- พื้นที่ทำการเกษตร 1,200 ไร่ มีความอุดมสมบูรณ์ทั้งการทำนาและสวนลิ้นจี่ ที่เป็นผลไม้ส่งออกของจังหวัดพะเยา
- อ่างเก็บน้ำแม่สุก ได้รับการพัฒนาเป็นอ่างเก็บน้ำตามโครงการพระราชดำริ
- พื้นที่ป่าสงวนแห่งชาติ อุทยานแห่งชาติดอยหลวง ในพื้นที่ตําบลแม่สุก
ภาษาพื้นเมืองล้านนา
จุดอ่อนของหมู่บ้าน (ปัญหา/อุปสรรค)
- ด้านทรัพยากรบุคคล : โดยในหมู่บ้านส่วนใหญ่มีผู้สูงอายุเป็นจำนวนมาก ส่วนวัยทำงานได้ไปทำงานที่ตางจังหวัด
จุดแข็งของหมู่บ้าน (ศักยภาพ/ความสามารถของหมู่บ้าน)
- ด้านบุคคล : มีบุคคลที่มีความรู้ความสามารถและมีประสบการณ์ในการทำงาน การบริหารจัดการ ภายในชุมชน เช่น ผู้นำและประธานกลุ่มต่าง ๆ
- ด้านเศรษฐกิจ : ชุมชนจึงมีการพัฒนาอยู่เสมอ เกษตรกรมีความรู้ในการพัฒนาผลผลิตของตนเองให้มี คุณภาพที่ดีตามหลักเศรษฐกิจพอเพียงทำให้มีเงินรายได้หมุนเวียนในชุมชน ประชากรมีรายได้เพียงพอแก่การใช้จ่าย
- ด้านกลุ่ม/องค์กร (เศรษฐกิจและสังคม) : มีกลุ่มอาชีพต่าง ๆ ภายในชุมชน เช่น กลุ่มกองทุนหมู่บ้านต่าง ๆ กลุ่มลิ้นจี่ กลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้า เป็นต้น
- ด้านสังคม : ประชากรในชุมชนมีการนับถือศาสนาเดียวกัน คือ ศาสนาพุทธ และเป็นสังคมชนบทมีการช่วยเหลือเกื้อกูลและมีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ซึ่งกันและกัน ซึ่งเป็นระบบเครือญาติ ทำให้มีความสามัคคีกันในชุมชน
- ด้านทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม : มีอ่างเก็บน้ำแม่สุกใช้เลี้ยงชีวิต ไม่มีน้ำเน่าเสียที่จะทำให้เกิดมลพิษทางกลิ่น มีเชื้อโรคปนเปื้อน ภายในหมู่บ้านมีต้นไม้ขนาดใหญ่หลายต้นคอยเป็นร่มเงาและมีต้นไผ่ริมคลองน้ำภายในหมู่บ้าน และรอบๆหมู่บ้านจำนวนมากไว้ใช้ประโยชน์ต่าง ๆ
- ด้านความมั่นคงและความสงบเรียบร้อย : มีกฎระเบียบหมู่บ้านที่ออกโดยชุมชนเอง มีอาสาสมัครรักษาความปลอดภัยดูแลรักษาความสงบเรียบร้อยภายในชุมชน เพื่อป้องกันและรักษาความสงบเรียบร้อยและมีมาตรการการกำจัดขยะมูลฝอยภายในหมู่บ้าน
- ด้านภูมิปัญญาชุมชน : โดยมีการใช้สมุนไพรพื้นบ้านและมีการใช้ทรัพยากรในชุมชนให้เกิดประโยชน์
- ด้านบริหารจัดการ : ประชาชนมีความสามัคคี ให้ความร่วมมือ ผู้นำชุมชน ผู้นำท้องถิ่น สามารถ ประสานงานด้วยกันได้ดี
- ด้านประเพณีวัฒนธรรม/กฎระเบียบ/ค่านิยมและความสัมพันธ์ของชุมชน : ภายในชุมชนเป็นลักษณะที่หล่อหลอมวัฒนธรรม ค่านิยม มาจากประสบการณ์จากรุ่นสู่รุ่น เพื่อกำกับดูแลชุมชนให้ดำเนินชีวิตไปตามคุณค่าของชุมชนนั้นๆ
ดอยหลวง
Google Maps. (2564). พิกัดแผนที่ชุมชนบ้านสันป่าส้าน (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 23 ธันวาคม 2564. เข้าถึงได้จาก https://www.google.com/maps
ประวัติจังหวัดในล้านนา จังหวัดพะเยา. (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 1 ตุลาคม 2564. เข้าถึงได้จาก http://wiangsalanna.myreadyweb.com/
พระครูโสภณปริยัติสุธี (ศรีบรรดร ถิรธมฺโม.). (2552). ชื่อบ้าน - ภูมิเมืองพะเยา. พะเยา : เจริญอักษร.
บุญศิริ สุขพร้อมสรรพและอาทิตย์ ลิมปิยากร. (2564). ภูมินาม-ภาพสะท้อนเมืองพะเยา. วารสารวิชาการเพื่อพัฒนานวัตกรรมเชิงพื้นที่. 2(1). 88-94.
พระครูโสภณปริยัติสุธี, รศ.ดร. ถิรธมฺโม. ชื่อบ้าน-ภูมิเมืองอำเภอแม่ใจ.
บุญเลิศ ครุฑเมือง. (2537). ผีปู่ย่า : ศรัทธาแห่งล้านนาไทย. สารคดี “ฮีตฮอยเฮา”. กรุงเทพฯ : สำนักงานคณะกรรมการวัฒนธรรมแห่งชาติ กระทรวงศึกษาธิการ
ราชกิจจานุเบกษา. (2481). ประกาศกระทรวงมหาดไทย เรื่องแบ่งท้องที่ตั้งเป็นกิ่งอำเภอ. เล่ม 80 ตอน ที่ 14. 5 กุมภาพันธ์ 2506.
ราชกิจจานุเบกษา. (2481). พระราชกฤษฎีกา ตั้งอำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอศรีสวัสดิ์ อำเภอท่าคันโท อำเภอดอกคำใต้ อำเภอเม่ใจ อำเภอจุน ฯลฯ. เล่ม 82 ตอนที่ 59. 27 กรกฎาคม 2508