Advance search

สนามกีฬาเทศบาลนครยะลา
87 ถนนจารูพัฒนา
สะเตง
เมืองยะลา
ยะลา
มูฮำหมัดอาลี ซง
17 มี.ค. 2023
นิรัชรา ลิลละฮ์กุล
20 พ.ค. 2023
มูฮำหมัดอาลี ซง
27 พ.ค. 2023
จารูพัฒนา

เนื่องจากมีต้นไม้สูงใหญ่ต้นหนึ่งซึ่งมีลักษณะเด่นชื่อว่า ต้นจารู

สนามกีฬาเทศบาลนครยะลา
87 ถนนจารูพัฒนา
สะเตง
เมืองยะลา
ยะลา
95000
6.568268
101.2977
เทศบาลนครยะลา

ชุมชนจารูพัฒนา ในสมัยก่อนตั้งอยู่หมู่ที่ 4 เขตสะเตงนอก เป็นที่อยู่อาศัยของคนดั้งเดิม มีความเป็นมาหลายร้อยปี ผู้เฒ่าผู้แก่เล่าว่า สมัยก่อนบริเวณนี้อุดมสมบูรณ์เต็มไปด้วยต้นไม้ เหมาะแก่การทำการเกษตร เพราะอยู่ใกล้แม่น้ำปัตตานีและที่ได้ชื่อว่าชุมชนจารูพัฒนา เพราะมีต้นไม้สูงใหญ่ต้นหนึ่งซึ่งมีลักษณะเด่น ชื่อว่า ต้นจารู ซึ่งผู้สัญจรไปมาระหว่างจังหวัดยะลากับจังหวัดปัตตานีโดยเฉพาะคนเดินเท้าและรถจักรยนมักจะแวะพักที่ต้นไม้ต้นนี้เป็นประจำ เนื่องจากผู้คนละแวกนี้มีอัธยศัยดี เมื่อเวลาผ่านไปประมาณ 50-60 ปี เมืองยะลามีการขยายตัวและพัฒนาด้านโครงสร้างพื้นฐานมากขึ้น โดยเฉพาะเส้นทางสัญจรลงสู่ชุมชนแห่งนี้ จึงได้จัดตั้งชื่อชุมชนขึ้นว่า ชุมชนจารูพัฒนาตามชื่อต้นไม้เพื่อระลึกถึง และได้ประกาศจัดตั้งขึ้นอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 30 พฤษภาคม 2539 มีพื้นที่ประมาณ 795,800 ตารางเมตร ครอบคุลม ถนนจารูพัฒนาจารูพัฒนา ซอย 1 และ 2 ปัจจุบันมีที่ทำการตั้งอยู่ หมู่ที่ 87 ถนนจารูพัฒนา ซอย 2 ตำบลสะเตง อำเภอเมือง จังหวัดยะลา

ชุมชนจารูพัฒนา ตั้งอยู่ในเทศบาลนครยะลา อําเภอเมือง จังหวัดยะลา ห่างจากเทศบาลนครยะลา ไปทางทิศเหนือ ระยะทาง 5 กิโลเมตร ห่างจากศาลากลางจังหวัดยะลาไปทางทิศเหนือ ระยะทาง 6.2 กิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ แม่น้ำปัตตานี และอำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ชุมชนจารูนอก
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ อำเภอยะรัง จังหวัดปัตตานี
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ แม่น้ำปัตตานี

สภาพพื้นที่กายภาพ สภาพโดยทั่วไปเป็นที่ราบลุ่มต่ำ ทําให้รับน้ำจากบริเวณอื่นที่อยู่ในที่ราบสูง อยู่ติดกับคลองแบเมาะ บึงกาแลซือโยะ และบึงกะลิงกิง ทําให้ประสบปัญหากับอุทกภัยในช่วงหน้าฝนของทุกปี และมีพื้นที่ว่างบริเวณริมแม่น้ำปัตตานีและคลองต่างๆเป็นที่เลี้ยงสัตว์ และเพาะปลูก

          

จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2565 ระบุจำนวนครัวเรือน และประชากรชุมชนจารูพัฒนา จำนวน 167  ครัวเรือน ประชากรรวมทั้งหมด 797 คน แบ่งประชากรชาย 411 คน หญิง 386 คน ส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวที่มีความหลากหลายช่วงวัย จากรากฐานความสัมพันธ์เชิงเครือญาติทำให้ผู้คนในสังคมมีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกัน โดยสมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่เป็นคนมลายู และนับถือศาสนาอิสลาม

มลายู

กลุ่มกิจกรรม/อาชีพ มีจํานวน 4 กลุ่ม ดังนี้

  • การทํากรงนก เป็นการรวมตัวของผู้ที่มีความรู้ความเชี่ยวชาญในการทำกรงนกในชุมชน จัดตั้งขึ้นเพื่อผลิตและจำหน่ายกรงนกทั้งในรูปแบบสวยงามและรูปแบบทั่วไป
  • การทํากล้วยยฉาบ เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มแม่บ้าน โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นอาชีพเสริม และสร้างมูลค่าเพิ่มให้แก่ผลิตภัณฑ์ทางการเกษตรของชุมชน
  • การทําเกษตร จัดตั้งขึ้นเพื่อเป็นที่แลกเปลี่ยนความรู้ และประสบการณ์ระหว่างสมาชิกในกลุ่ม
  • การทําบูดูแห้ง เป็นการรวมตัวกันของกลุ่มแม่บ้านในชุมชน มีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นอาชีพเสริม โดยมีการแปรรูปและดัดแปลงบูดู ซึ่งอาหารขึ้นชื่อของสามจังหวัดชายแดนภาคใต้ให้มีรูปแบบที่ทันสมัย พกพาสะดวก และเก็บไว้ได้นานขึ้น

ด้านการบริหารชุมชน

  1. นายอิบราเฮม ดือราแม : ประธานชุมชน
  2. นายสุรเดช จารู : รองประธานชุมชน

ในรอบปีผู้คนในชุมชนจะมีวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นดังต่อไปนี้

วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม

  • เทศกาลวันฮารีรายอ (วันอีดิลฟิตรี และวันอีดิลอัฏฮา) เป็นเทศกาลและวันสำคัญของชาวมุสลิมทั่วโลกวันหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นวันรื่นเริงประจำปีซึ่งชาวมุสลิมได้เดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเอง เพื่อเข้าร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนาโดยพร้อมเพรียงกัน ได้พบปะสังสรรค์กับเพื่อน ญาติพี่น้องเพื่อขออภัยซึ่งกันและกัน ช่วงเวลาในรอบ 1 ปีของชาวมุสลิมมีวันฮารีรายอ 2 ครั้ง คือ วันอีดิลฟิตรี และวันอีดิลอัฏฮา ในวันดังกล่าว ชาวมุสลิมนิยมใส่เสื้อผ้าของใหม่ ๆ สะอาด สวยงาม มีกลิ่นหอม สำหรับอาหารที่นิยมทำในวันฮารีรายอ คือ ตูปะ (ข้าวเหนียวต้ม)
  • ประเพณีอาซูรอสัมพันธ์ เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำว่า อาซูรอ เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม การรวมกัน คือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมากวนรวมกัน มีทั้งชนิดคาวและหวาน การกวนข้าวอาซูรอจะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อความสามัคคีและสร้างความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันมีผลต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมอย่างมีความสุข ก่อนจะแจกจ่ายให้รับประทานกัน เจ้าภาพจะเชิญบุคคลที่นับถือของชุมชนขึ้นมากล่าวขอพร (ดูอา) ก่อน จึงจะแจกให้คนทั่วไปรับประทานกัน
  • ประเพณีเมาลิด เป็นกิจกรรมประจำปีที่ชุมชนจัดขึ้นทุกปีเพื่อเป็นการรำลึกถึงหลักธรรมคำสอน และผลงานของท่านนบีมูฮัมมัด ทั้งยังมีการรวมตัวกันเพื่อฟังเรื่องเล่าชีวประวัติแบบฉบับอันงดงาม บุคลิกภาพอันมีเกียรติของท่านนบี และมีการเลี้ยงรับอาหารคนจน รวมไปถึงบรรดามุสลิม
  • เดือนมีนาคม มหกรรมแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียน เทศบาลนครยะลาร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมจัดขึ้น ซึ่งการแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียนได้รับความสนใจจากพี่น้องชาวไทยในพื้นที่และต่างพื้นที่ รวมทั้งผู้สนใจจากประเทศในกลุ่มอาเซียนส่งนกเข้าร่วมแข่งขันร่วมประมาณ 2,000 ตัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อนุรักษ์เผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงนกเขาชวาและธุรกิจเกี่ยวกับนก เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • เดือนเมษายน ประเพณีสุนัตหมู เป็นประเพณีการการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายของมุสลิม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะจัดขึ้นในช่วงปิดเทอมยาว
  • เดือนพฤษภาคม งานถนนคนเดินยะลา เทศบาลนครยะลา ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดยะลา และผู้ประกอบการในพื้นที่ได้จัดงาน ถนนคนเดินขึ้นเพื่อสร้างช่องทางการตลาด กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่เพื่อให้ผู้ประกอบการได้นำสินค้าต่าง ๆ อาทิ สินค้าโอทอป สินค้าชุมชน ออกมาจำหน่ายให้พี่น้องประชาชนได้ซื้อในราคาถูก มีคุณภาพ นอกเหนือจากนั้นเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของคนในจังหวัด ประชาชนได้รับความบันเทิง ผ่อนคลายความตึงเครียดจากสถานการณ์ความไม่สงบ
  • เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน งานสมโภชนหลักเมือง เป็นงานประเพณีสำคัญประจำปีของจังหวัดยะลา เพื่อเฉลิมฉลองและสมโภชหลักเมือง อันเป็นที่เคารพสักการบูชาของประชาชนชาวจังหวัดยะลา และประชาชนทั่วไป โดยมีขบวนแห่หลักเมืองจำลอง ขบวนแห่งานกาชาดจังหวัดยะลา (วัฒนธรรมและของดีเมืองยะลา) กิจกรรมเปิดงานกาชาดจังหวัดยะลา สำหรับกิจกรรมตลอดระยะเวลา 11 วัน 11 คืน ซึ่งภายในงานมีการออกบูธแสดง และกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การออกร้านกาชาด การออกรางวัลสลากกาชาดเพื่อการกุศล การประกวดธิดานิบง การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งไทย ขวัญใจมหาชน การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงานวิชาการของหน่วยราชการ สถานศึกษาและภาคเอกชน และอีกมากมาย

วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนจะประกอบอาชีพหลัก คือ ค้าขาย รับจ้างทั่วไป และรับราชการ และมีอาชีพเสริม คือ เลี้ยงสัตว์ และเพาะปลูก

1. นายอิบรอเฮม ดือราแม : ประธานชมรมคนรักษ์ม้าบ้านจารูพัฒนา ชมรมก่อตั้งมาเมื่อปลายปี 2557 เกิดจากความชอบของกลุ่มคน 4-5 คน ที่อยากจะเลี้ยงม้าตั้งแต่เล็ก ตนเองและครอบครัวรวมถึงเพื่อนบ้านก็ได้ซื้อม้ามาเลี้ยงร่วมกัน โดยศึกษาการเลี้ยงและฝึกม้าจากวีดีโอ และหนังสือต่าง ๆ ซึ่งปัจจุบันมีสมาชิกประมาณ 30-50 คน และมีม้าประมาณ 50 ตัว โดยส่วนใหญ่เป็นม้าพันธุ์ไทยลูกผสม

2. นายอาฮามัด ตาเฮ : ปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรกรรม ผู้มากประสบการณ์ด้านการเกษตรของชุมชนจารูพัฒนา

ทุนบุคคล นายอิบรอเฮม ดือราแม ประธานชุมชนและประธานชมรมคนรักษ์ม้าบ้านจารูพัฒนา และนายอาฮามัด ตาเฮ ปราชญ์ชาวบ้านด้านเกษตรกรรม

ทุนกายภาพ สถานที่ท่องเที่ยวและสถานที่พักผ่อน สนามกีฬาเทศบาลนครยะลา และสวนศรีเมือง และชุมชนมีโรงเรียนตาดีกา (ศูนย์การศึกษาอิสลามประจำมัสยิด) และโรงเรียนสอนตะห์ฟิส (ท่องจำสอนอัลกุรอ่าน) ซึ่งโรงเรียนเหล่านี้จะตั้งอยู่ในบริเวณมัสยิด ซึ่งผู้เรียนจะมีอายุประมาณ ขวบขึ้นไป การเรียนการสอนจะเริ่มประมาณ โมวเย็นจนถึง ทุ่มของทุกวัน

ผู้คนในชุมชนจะใช้ภาษาไทยและภาษามลายูในการสื่อสารเนื่องด้วยเป็นชุมชนมุสลิมและสมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่เป็นคนมลายู



สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนที่ปรากฏเห็นได้ชัดในด้านสังคมและประชากร โดยมีรายละเอียด ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงของสังคมไปสู่ความทันสมัย ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด คือการสร้างถนน และซอยเพิ่มมากขึ้น รวมทั้งการสร้างบ้านเรือนที่มีความทันสมัยแต่ยังคงสภาพความเป็นชุมชนดั้งเดิมอยู่ โดยสภาพปัจจุบันชุมชนเกิดการเปลี่ยนแปลงจากเดิมไปมาก

ด้านความท้าทายของชุมชน ดังนี้

  1. ชุมชนประสบปัญหาน้ำขังและน้ำท่วม เนื่องจากชุมชนเป็นที่ราบลุ่มต่ำ ทําให้รับน้ำจากบริเวณอื่นที่อยู่ในที่ราบสูง ประกอบกับชุมชนอยู่ติดกับคลองต่างๆ ทําให้ประสบปัญหากับอุทกภัยในช่วงหน้าฝนเป็นประจำของทุกปี
  2. ผลผลิตการเกษตรต่ำ
  3. แม่บ้านว่างงาน
  4. ปากซอยจารูพัฒนาไม่มีทางเท้า

อย่างไรก็ตามทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ เทศบาลนครยะลา และหน่วยงานอื่น ๆ ได้ลงพื้นที่ดูแล ติดตาม และแก้ไข้ปัญหาที่ชุมชนประสบ

ด้านการมีส่วนร่วม สมาชิกในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และอาจมีบางที่มีความเห็นที่แตกต่างของสมาชิกในชุมชน

ในชุมชนจารูพัฒนามีจุดน่าสนใจที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว ได้แก่ สนามกีฬาเทศบาลนครยะลา และสวนศรีเมือง                          

ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ กองวิชาการและแผนงาน. (2564). แผนชุมชนประจำปี 2565. เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา

ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ กองวิชาการและแผนงาน. (2565). แผนชุมชนประจำปี 2564. เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา

นายอิบรอเฮม ดือราแม. (1 มิถุนายน 2566). ข้อมูลทั่วไปของชุมชน. (มูฮำหมัดอาลี ซง, ผู้สัมภาษณ์)