ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตลาดเก่า และศูนย์บริการสาธารณสุข 2
เนื่องจากประชาชนร่วมกับคณะกรรมการได้ร่วมกันตั้งชื่อชุมชน โดยมีจิตปณิธานว่า ผู้คน หรือ ประชาชนที่อยู่อาศัยอยู่ชุมชนแห่งนี้ต้องมีการร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาให้เป็นชุมชนแห่งเมืองที่เจริญ ทั้งด้านวัตถุ และจิตใจ
ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตลาดเก่า และศูนย์บริการสาธารณสุข 2
ชุมชนร่วมใจพัฒนา จัดตั้งอย่างเป็นทางการเมื่อวันที่ 25 มกราคม 2544 สาเหตุที่ได้ชื่อว่า “ชุมชนร่วมใจพัฒนา” เนื่องจากประชาชนร่วมกับคณะกรรมการได้ร่วมกันตั้งชื่อชุมชน โดยมีจิตปณิธานว่าผู้คนหรือประชาชนที่อยู่อาศัยอยู่ชุมชนแห่งนี้ต้องมีการร่วมมือร่วมใจกันพัฒนาให้เป็นชุมชนแห่งเมืองที่เจริญ ทั้งด้านวัตถุและจิตใจ จึงตั้งชื่อให้ชุมชนเกิดความสมานสามัคคีกัน ปัจจุบันชุมชนร่วมใจพัฒนามีพื้นที่ประมาณ 110,093 ตารางเมตร ครอบคลุมพื้นที่ถนน จ้านวน 3 สาย ประกอบด้วย ถนนถิระรมย์ ถนนสิโรรส ซอย 1 และซอย 3
ชุมชนร่วมใจพัฒนา ตั้งอยู่ในเทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัด.ยะลา ห่างจากอำเภอเมือง ไปทางทิศตะวันตก ระยะทาง 1 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดยะลา ไปทางทิศทิศตะวันตก ระยะทาง 1 กิโลเมตร
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ ชุมชนมุสลิมสัมพันธ์
- ทิศใต้ ติดต่อกับ รางรถไฟ
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ถนนสิโรรส
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ แม่น้ำปัตตานี
สภาพพื้นที่กายภาพ
ชุมชนร่วมใจพัฒนาเป็นชุมชนเมืองขนาดเล็กที่ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา และพื้นที่ชุมชนเป็นที่ราบโดยมีพื้นที่ประมาณ 110,093 ตารางเมตร สภาพทั่วไปของชุมชน คือ เป็นชุมชนเมืองที่เป็นหนึ่งในย่านธุรกิจสำคัญของตลาดเก่าที่ประกอบไปด้วยร้านค้าต่างๆ อาทิ ร้านสะดวกซื้อ ร้านอาหาร และร้านเสื้อผ้า เป็นต้น โดยมีอาคารบ้านเรือนที่ติดกัน นอกเหนือนั้นยังเป็นที่ตั้งของหน่วยงานราชการ อาทิ ศูนย์พัฒนาเด็กเล็กตลาดเก่า และศูนย์บริการสาธารณสุข ๒
จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2565 ระบุจำนวนครัวเรือน และประชากรชุมชนร่วมใจพัฒนา จำนวน 262 ครัวเรือน ประชากรรวมทั้งหมด 1,052 คน แบ่งประชากรชาย 526 คน หญิง 526 คน สมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่อาศัยอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวที่มีความหลากหลายช่วงวัย มีเพียงส่วนน้อยที่อาศัยเป็นครอบครัวเดี่ยว จากรากฐานความสัมพันธ์เชิงเครือญาติทำให้ผู้คนในสังคมมีการเอื้อเฟื้อเผื่อแผ่ระหว่างกัน
มลายูกลุ่มโอท็อปตลอดเก่า เป็นการรวมตัวของคนในชุมชนเพื่อเพิ่มมูลค่าให้กับกะลามะพร้าว และเป็นผลิตภัณฑ์โอท็อปของชุมชน
ด้านการบริหารชุมชน
- นายมะสะดี ระเราะ : ประธานชุมชน
- นายอับดุลเลาะ แวดอเลาะ : รองประธานชุมชน
ในรอบปีผู้คนในชุมชนจะมีวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นดังต่อไปนี้
วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม
- ประเพณีเมาลิด เป็นกิจกรรมประจำปีที่ชุมชนจัดขึ้นทุกปีเพื่อเป็นการรำลึกถึงหลักธรรมคำสอน และผลงานของท่านนบีมูฮัมมัด ทั้งยังมีการรวมตัวกันเพื่อฟังเรื่องเล่าชีวประวัติแบบฉบับอันงดงาม บุคลิกภาพอันมีเกียรติของท่านนบี และมีการเลี้ยงรับอาหารคนจน รวมไปถึงบรรดามุสลิม
- ประเพณีกวนอาซูรอ เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำว่า อาซูรอ เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม การรวมกัน คือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมากวนรวมกัน มีทั้งชนิดคาวและหวาน การกวนข้าวอาซูรอจะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อความสามัคคีและสร้างความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันมีผลต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมอย่างมีความสุข ก่อนจะแจกจ่ายให้รับประทานกัน เจ้าภาพจะเชิญบุคคลที่นับถือของชุมชนขึ้นมากล่าวขอพร (ดูอา) ก่อน จึงจะแจกให้คนทั่วไปรับประทานกัน
- เดือนมีนาคม มหกรรมแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียน เทศบาลนครยะลาร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมจัดขึ้น ซึ่งการแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียนได้รับความสนใจจากพี่น้องชาวไทยในพื้นที่และต่างพื้นที่ รวมทั้งผู้สนใจจากประเทศในกลุ่มอาเซียนส่งนกเข้าร่วมแข่งขันร่วมประมาณ 2,000 นก โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อนุรักษ์เผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงนกเขาชวาและธุรกิจเกี่ยวกับนก เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
- เดือนมีนาคม-เมษายน ประเพณีเข้าสุนัตหมู่ เป็นประเพณีการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายของมุสลิม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะจัดขึ้นในช่วงปิดเทอมยาว
- เดือนพฤษภาคม งานถนนคนเดินยะลา เทศบาลนครยะลา ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดยะลา และผู้ประกอบการในพื้นที่ได้จัดงาน ”ถนนคนเดิน” ขึ้นเพื่อสร้างช่องทางการตลาด กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่เพื่อให้ผู้ประกอบการได้นำสินค้าต่าง ๆ อาทิ สินค้าโอทอป สินค้าชุมชน ออกมาจำหน่ายให้พี่น้องประชาชนได้ซื้อในราคาถูก มีคุณภาพ นอกเหนือจากนั้นเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของคนในจังหวัด ประชาชนได้รับความบันเทิง ผ่อนคลายความตึงเครียดจากสถานการณ์ความไม่สงบ
- เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน งานสมโภชนหลักเมือง เป็นงานประเพณีสำคัญประจำปีของจังหวัดยะลา เพื่อเฉลิมฉลองและสมโภชหลักเมือง อันเป็นที่เคารพสักการบูชาของประชาชนชาวจังหวัดยะลา และประชาชนทั่วไป โดยมีขบวนแห่หลักเมืองจำลอง ขบวนแห่งานกาชาดจังหวัดยะลา (วัฒนธรรมและของดีเมืองยะลา) กิจกรรมเปิดงานกาชาดจังหวัดยะลา สำหรับกิจกรรมตลอดระยะเวลา 11 วัน 11 คืน ซึ่งภายในงานมีการออกบูธแสดง และกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การออกร้านกาชาด การออกรางวัลสลากกาชาดเพื่อการกุศล การประกวดธิดานิบง การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งไทย ขวัญใจมหาชน การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงานวิชาการของหน่วยราชการ สถานศึกษาและภาคเอกชน และอีกมากมาย
วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ในพื้นที่ประกอบอาชีพหลัก คือ ค้าขาย รับจ้าง และรับราชการ ในส่วนอาชีพเสริม เช่น ผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว ทำกรงนก เลี้ยงนกกรงหัวจุก ซึ่งสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยว และแหล่งเรียนรู้ อันก่อให้สมาชิกชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น
ทุนวัฒนธรรม : ชุมชนยังมีกลุ่มโอท็อปตลอดเก่า และร้านค้าต่าง ๆ ซึ่งสามารถเป็นแหล่งท่องเที่ยว เรียนรู้การผลิตผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว ทำกรงนก เลี้ยงนกกรงหัวจุก และที่จับจ่ายซื้อสินค้า สามารถทำให้เป็นรายได้ของชุมชน ซึ่งส่งผลต่อเศรษฐกิจของชุมชน ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มขึ้น
ทุนมนุษย์ : ปราชญ์ชาวบ้าน ได้แก่ นายมะ เจ๊ะแวมาแว มีความเชี่ยวชาญในการผลิตผลิตภัณฑ์จากกะลามะพร้าว
ทุนกายภาพ : แหล่งท่องเที่ยว ได้แก่ ตลาดนัดเสรีใหม่
ผู้คนในชุมชนจะใช้ภาษาไทยและภาษามลายูในการพูดคุยสื่อสารกันภายในชุมชน
สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนที่ปรากฏเห็นได้ชัดในด้านสังคมและประชากร โดยมีรายละเอียด ดังนี้
การเปลี่ยนแปลงของสังคมไปสู่ความทันสมัย ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด ได้แก่ การสร้างบ้านเรือนที่มีความทันสมัยมากขึ้น ในส่วนของประชากรในชุมชนมีการเพิ่ม-ลดของประชากรและมีโยกย้ายถิ่นที่อยู่อาศัยของประชากร เนื่องจากเป็นชุมชนเมืองที่เป็นย่านเศรษฐกิจ และมีบ้านเช่าและอาคารพาณิชย์เป็นจำนวนมาก
ด้านความท้าทายของชุมชน ดังนี้
1. วัยรุ่นติดยาเสพติดยังเป็นปัญหาใหญ่ของชุมชน
2. ประชาชนไม่ให้ความร่วมมือในการท้ากิจกรรมต่าง ๆ
3. ประชาชนมีการย้ายถิ่นที่อยู่อาศัย
4. การลักเล็กขโมยน้อยเกิดขึ นในชุมชน
ด้านการมีส่วนร่วม สมาชิกในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดี และอาจมีบางที่มีความเห็นที่แตกต่างของสมาชิกในชุมชน
ในชุมชนร่วมใจพัฒนา มีจุดน่าสนใจที่สามารถดึงดูดนักท่องเที่ยว ได้แก่ ตลาดนัดเสรีใหม่
ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ กองวิชาการและแผนงาน. (2564). แผนชุมชนประจำปี 2564. เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา
ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ กองวิชาการและแผนงาน. (2565). แผนชุมชนประจำปี 2565. เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา