Advance search

ชุมชนที่ติดกับตำบลสะเตงนอก ด่านตรวจความมั่งคงและใกล้สี่แยกมลายูบางกอก

สะเตง
เมืองยะลา
ยะลา
มูฮำหมัดอาลี ซง
24 มี.ค. 2023
นิรัชรา ลิลละฮ์กุล
20 พ.ค. 2023
มูฮำหมัดอาลี ซง
30 พ.ค. 2023
เบอร์เส้งนอก


ชุมชนที่ติดกับตำบลสะเตงนอก ด่านตรวจความมั่งคงและใกล้สี่แยกมลายูบางกอก

สะเตง
เมืองยะลา
ยะลา
95000
6.526154
101.2835
เทศบาลนครยะลา

ชุมชนเบอร์เส้งนอก มีพื้นที่ประมาณ 219,086.80 ตารางเมตร เป็นชุมชนที่แยกตัวออกจากหมู่บ้านเบอร์เส้ง ตําบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา โดยห่างจากเขตเทศบาลนครยะลาประมาณ 300 เมตร หมู่บ้านเบอร์เส้ง มีพื้นที่ใกล้กับถนนสุขยางค์ ซึ่งมีความสะดวกด้านการคมนาคมขนส่ง จึงทําให้ประชาชนบางส่วนอพยพออกมาอยู่นอกหมู่บ้านน และได้ตั้งเป็นชุมชนใหม่ชื่อว่า “เบอร์เส้งนอก” เมื่อวันที่ 13 กรกฎาคม 2548

ชุมชนเบอร์เส้งนอก ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครยะลา อําเภอเมืองจังหวัดยะลา จากเทศบาลนครยะลามุ้งหน้าทางตะวันตกไปยังถนนสุขยางค์ ผ่านวงเวียนศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ตรงไปผ่านถนนสุขยางค์ ผ่านศูนย์ฝึกตํารวจภูธรภาค 9 ผ่านสํานักงานประกันสังคม ตรงสู่ถนนสุขยางค์ ผ่านบ้านพักตํารวจภูธร ถึงอาณาเขตชุมชนเบอร์เส้งนอก

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ ซอยดีเย๊าะ ถนนผังเมือง 4
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ ถนนสาย 15 (ทางไปเบตง)
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ สุดเขตเทศบาล
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ถนนสุขยางค์

สภาพพื้นที่กายภาพ สภาพโดยทั่วไปชุมชนเบอร์เส้งนอกเป็นที่ราบ ทําให้ประสบปัญหาน้ำท่วมขังในช่วงหน้าฝน โดยชุมชนเบอร์เส้งนอกมีพื้นที่ทั้งหมดประมาณ 219,086.80 ตารางเมตร ลักษณะอาคารบ้านเรือนในชุมชนจะมีรูปแบบที่ทันสมัยทั้งที่เป็นบ้านเดี่ยว ร้านค้า ปั้มน้ำมัน และอาคารพาณิชย์ โดยมีลักษณะอาคารที่ติดกัน นอกจากนั้นยังเป็นตั้งของหน่วยงานราชการต่าง ๆ

จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2565 ระบุจำนวนครัวเรือน และประชากรชุมชนเบอร์เส้งนอก จำนวน 115 ครัวเรือน ประชากรรวมทั้งหมด 444 คน แบ่งประชากรชาย 190  คน หญิง 254 คน เป็นชุมชนขนาดเล็กที่แยกตัวออกจากหมู่บ้านเบอร์เส้ง ตําบลสะเตงนอก อำเภอเมืองยะลา โดยสมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่เป็นมุสลิมมลายูที่มีความหลากหลายทางสังคม และอาชีพการงาน

มลายู

กลุ่มกิจกรรม/อาชีพ ได้แก่ กลุ่มกิจกรรม/กลุ่มอาชีพทำกล้วยฉาบกรอบแก้ว จัดตั้งขึ้นเพื่อทำเป็นอาชีพเสริม โดยมีนางอารีย์ ดีสะเอะ เป็นประธานกลุ่มอาชีพ

ด้านการบริหารชุมชน

  1. นายฮำเซาะ บอซู : ประธานชุมชน
  2. นายฮัสบูเล๊าะ หิเล : รองประธานชุมชน

ในรอบปีผู้คนในชุมชนจะมีวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นดังต่อไปนี้

วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม

  • เทศกาลวันฮารีรายอ (วันอีดิลฟิตรี และวันอีดิลอัฏฮา) เป็นเทศกาลและวันสำคัญของชาวมุสลิมทั่วโลกวันหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นวันรื่นเริงประจำปีซึ่งชาวมุสลิมได้เดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเอง เพื่อเข้าร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนาโดยพร้อมเพรียงกัน ได้พบปะสังสรรค์กับเพื่อน ญาติพี่น้องเพื่อขออภัยซึ่งกันและกัน ช่วงเวลาในรอบ ปีของชาวมุสลิมมีวันฮารีรายอ ครั้ง คือ วันอีดิลฟิตรี และวันอีดิลอัฏฮา ในวันดังกล่าว ชาวมุสลิมนิยมใส่เสื้อผ้าของใหม่ ๆ สะอาด สวยงาม มีกลิ่นหอม สำหรับอาหารที่นิยมทำในวันฮารีรายอ คือ ตูปะ (ข้าวเหนียวต้ม)
  • ประเพณีอาซูรอสัมพันธ์ เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำว่า อาซูรอ เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม การรวมกัน คือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมากวนรวมกัน มีทั้งชนิดคาวและหวาน การกวนข้าวอาซูรอจะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อความสามัคคีและสร้างความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันมีผลต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมอย่างมีความสุข ก่อนจะแจกจ่ายให้รับประทานกัน เจ้าภาพจะเชิญบุคคลที่นับถือของชุมชนขึ้นมากล่าวขอพร (ดูอา) ก่อน จึงจะแจกให้คนทั่วไปรับประทานกัน
  • ประเพณีเมาลิด เป็นกิจกรรมประจำปีที่ชุมชนจัดขึ้นทุกปีเพื่อเป็นการรำลึกถึงหลักธรรมคำสอน และผลงานของท่านนบีมูฮัมมัด ทั้งยังมีการรวมตัวกันเพื่อฟังเรื่องเล่าชีวประวัติแบบฉบับอันงดงาม บุคลิกภาพอันมีเกียรติของท่านนบี และมีการเลี้ยงรับอาหารคนจน รวมไปถึงบรรดามุสลิม
  • เดือนมีนาคม มหกรรมแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียน เทศบาลนครยะลาร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมจัดขึ้น ซึ่งการแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียนได้รับความสนใจจากพี่น้องชาวไทยในพื้นที่และต่างพื้นที่ รวมทั้งผู้สนใจจากประเทศในกลุ่มอาเซียนส่งนกเข้าร่วมแข่งขันร่วมประมาณ 2,000 ตัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อนุรักษ์เผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงนกเขาชวาและธุรกิจเกี่ยวกับนก เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • เดือนเมษายน ประเพณีสุนัตหมู เป็นประเพณีการการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายของมุสลิม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะจัดขึ้นในช่วงปิดเทอมยาว
  • เดือนพฤษภาคม งานถนนคนเดินยะลา เทศบาลนครยะลา ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดยะลา และผู้ประกอบการในพื้นที่ได้จัดงาน ถนนคนเดิน” ขึ้นเพื่อสร้างช่องทางการตลาด กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่เพื่อให้ผู้ประกอบการได้นำสินค้าต่าง ๆ อาทิ สินค้าโอทอป สินค้าชุมชน ออกมาจำหน่ายให้พี่น้องประชาชนได้ซื้อในราคาถูก มีคุณภาพ นอกเหนือจากนั้นเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของคนในจังหวัด ประชาชนได้รับความบันเทิง ผ่อนคลายความตึงเครียดจากสถานการณ์ความไม่สงบ
  • เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน งานสมโภชนหลักเมือง เป็นงานประเพณีสำคัญประจำปีของจังหวัดยะลา เพื่อเฉลิมฉลองและสมโภชหลักเมือง อันเป็นที่เคารพสักการบูชาของประชาชนชาวจังหวัดยะลา และประชาชนทั่วไป โดยมีขบวนแห่หลักเมืองจำลอง ขบวนแห่งานกาชาดจังหวัดยะลา (วัฒนธรรมและของดีเมืองยะลา) กิจกรรมเปิดงานกาชาดจังหวัดยะลา สำหรับกิจกรรมตลอดระยะเวลา 11 วัน 11 คืน ซึ่งภายในงานมีการออกบูธแสดง และกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การออกร้านกาชาด การออกรางวัลสลากกาชาดเพื่อการกุศล การประกวดธิดานิบง การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งไทย ขวัญใจมหาชน การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงานวิชาการของหน่วยราชการ สถานศึกษาและภาคเอกชน และอีกมากมาย

วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนจะประกอบอาชีพหลัก คือ รับราชการ ตามด้วยอาชีพพนักงานจ้าง อาชีพค้าขาย และอาชีพรับจ้างทั่วไป 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

อาหาร ได้แก่ กล้วยฉาบกรอบแก้ว เป็นอาหารทานเล่นและขึ้นชื่อของชุมชน ซึ่งภายในชุมชนมีการปลูกกล้วยเป็นจำนวนมาก จึงได้ริเริ่มแปรรูปผลิตภัณฑ์จากกล้วยเพื่อสร้างมูลค่าเพิ่มผลิตผลทางการเกษตร โดยชุมชนมีการจัดตั้งกลุ่มอาชีพทำกล้วยฉาบกรอบแก้ว 

ศาสนสถานหรือมัสยิด ในชุมชนมีมัสยิด ซึ่งมัสยิดนับเป็นศาสนสถานที่สำคัญของชาวมุสลิมที่ชาวมุสลิมในแต่ละชุมชนจะสร้างมัสยิดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา อาทิ การละหมาด และการวิงวอนต่อพระเจ้า นอกจากนี้มัสยิดในชุมชนยังเป็นโรงเรียนสอนอัลกุรอาน และศาสนา สถานที่พบปะ ประชุม ทำบุญเลี้ยง และสถานที่ทำพิธีสมรส เป็นต้น

กลุ่มอาชีพ ได้แก่ กลุ่มอาชีพทำกล้วยฉาบกรอบแก้ว

ผู้คนในชุมชนจะใช้ภาษาไทยและภาษามลายูในการสื่อสารเนื่องด้วยเป็นชุมชนมุสลิมและสมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่เป็นคนมลายู


สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนที่ปรากฏเห็นได้ชัดในด้านสังคมและประชากร โดยมีรายละเอียด ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงของสังคมไปสู่ความทันสมัย ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด ได้แก่ จำนวนอาคารบ้านเรือน บ้านเช่า ร้านค้า และอาคารพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น

ด้านความท้าทายของชุมชน ชุมชนประสบกับความท้าท้าย ดังนี้

1. ปัญหาการลักเล็กขโมยน้อยตามร้านค้าและบ้านเรือน

2. สาธารณูปโภคขั้นพื้นฐาน เช่น ถนนและน้ำประปาไม่สะอาด

3. ปัญหาสุนัขจรจัด

4. ชุมชนมีรายได้น้อย เศรษฐกิจไม่ดี

อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ เทศบาลนครยะลา และหน่วยงานอื่นๆ ได้ติดตามและแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ด้านการมีส่วนร่วม สมาชิกในชุมชนให้ความร่วมมือเป็นอย่างดีในการทำกิจกรรมต่างๆของชุมชน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ กองวิชาการและแผนงาน. (2564). แผนชุมชนประจำปี 2564. เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา

ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ กองวิชาการและแผนงาน. (2565). แผนชุมชนประจำปี 2565. เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา