Advance search

ตลาดเกษตร

สะเตง
เมืองยะลา
ยะลา
มูฮำหมัดอาลี ซง
24 มี.ค. 2023
นิรัชรา ลิลละฮ์กุล
20 พ.ค. 2023
มูฮำหมัดอาลี ซง
30 พ.ค. 2023
ตลาดเกษตร

ชุมชนที่แยกออกจากชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย มีการรวมกลุ่มเพื่อแยกมาจัดตั้งเป็นชุมชนใหม่ว่า ชุมชนตลาดเกษตรเนื่องด้วยภายในชุมชนแห่งนี้มีตลาดเกษตร


ตลาดเกษตร

สะเตง
เมืองยะลา
ยะลา
95000
6.527393
101.2634
เทศบาลนครยะลา

ชุมชนตลาดเกษตร เดิมอยู่ในพื้นที่ของชุมชนห้าแยกกําปงบาโงย แต่ได้รับการดูแลไม่ทั่วถึง จึงมีการรวมกลุ่มเพื่อแยกมาจัดตั้งเป็นชุมชนตลาดเกษตรขึ้น และได้ทําหนังสือเสนอขอจัดตั้งชุมชนต่อเทศบาลนครยะลา 

ชุมชนตลาดเกษตร ตั้งอยู่ในเทศบาลนครยะลา อำเภอเมือง จังหวัดยะลา ห่างจากอำเภอเมืองยะลา ไปทางทิศตะวันออก ระยะทาง 3 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดยะลาไปทางทิศใต้ ระยะทาง 3 กิโลเมตร

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกั ชุมชนห้าแยกกำปงบาโงย
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ สี่แยกมาลายูบางกอก
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ ชุมชนเวฬุวัน
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ แม่น้ำปัตตาน

สภาพพื้นที่กายภาพ สภาพโดยทั่วไปของชุมชนตลาดเกษตรเป็นที่ราบสูง ด้านหลังชุมชนจะติดกับแม่น้ำปัตตานี และมีพื้นที่เพื่อทำการเกษตรประมาณ 90 ไร่ และพื้นที่ทำสวนอีกประมาณ 20 ไร่ ลักษณะอาคารบ้านเรือนจะปะปนมีทั่งเป็นบ้านลักษณะเดี่ยว บ้านเรือนติดกัน และอาคารพาณิชย์ต่าง ๆ

จากข้อมูลการสำรวจของกรมการปกครอง กระทรวงมหาดไทย ปี 2565 ระบุจำนวนครัวเรือน และประชากรชุมชนตลาดเกษตร จำนวน 553 ครัวเรือน ประชากรรวมทั้งหมด 1,530 คน แบ่งประชากรชาย 742 คน หญิง 788 คน สมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่เป็นมุสลิมมลายู โดยอาศัยอยู่ร่วมกันแบบครอบครัวที่มีความหลากหลายช่วงวัย และมีเพียงส่วนน้อยที่อาศัยเป็นครอบครัวเดี่ยว

มลายู

กลุ่มกิจกรรม / อาชีพ มีจำนวน 2 กลุ่ม ดังนี

  1. ชุมชนตลาดเกษตร เป็นการรวมกลุ่มของผู้ประกอบกิจการทางด้านการเกษตร โดยมีนางเบกำยาน ปาทาน และนางแวมือแย ชาวนาฝ้าย เป็นผู้มีอำนาจทำการแทนกลุ่มวิสาหกิจชุมชนตลาดเกษตร  
  2. ตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม จัดตั้งขึ้นเพื่อรวบรวมสมาชิกในชุมชนที่มีความรู้ความสามารถในด้านการตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม เพื่อผลิตและจำหน่วยสินค้าทั้งใรรูปแบบค้าปลีกและค้าส่ง

ด้านการบริหารชุมชน

  1. นายอูเซ็ง มอน็อง : ประธานชุมชน
  2. นายรออาลี หะระนี : รองประธานชุมชน
  3. นายแวดาโอะ เจ๊ะอาลี : รองประธานชุมชน

ในรอบปีผู้คนในชุมชนจะมีวิถีชีวิตทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจที่มีอัตลักษณ์โดดเด่นดังต่อไปนี้

วิถีชีวิตทางวัฒนธรรม

  • เทศกาลวันฮารีรายอ (วันอีดิลฟิตรี และวันอีดิลอัฏฮา) เป็นเทศกาลและวันสำคัญของชาวมุสลิมทั่วโลกวันหนึ่ง ถือได้ว่าเป็นวันรื่นเริงประจำปีซึ่งชาวมุสลิมได้เดินทางกลับภูมิลำเนาของตนเอง เพื่อเข้าร่วมประกอบพิธีกรรมทางศาสนาโดยพร้อมเพรียงกัน ได้พบปะสังสรรค์กับเพื่อน ญาติพี่น้องเพื่อขออภัยซึ่งกันและกัน ช่วงเวลาในรอบ ปีของชาวมุสลิมมีวันฮารีรายอ ครั้ง คือ วันอีดิลฟิตรี และวันอีดิลอัฏฮา ในวันดังกล่าว ชาวมุสลิมนิยมใส่เสื้อผ้าของใหม่ ๆ สะอาด สวยงาม มีกลิ่นหอม สำหรับอาหารที่นิยมทำในวันฮารีรายอ คือ ตูปะ (ข้าวเหนียวต้ม)
  • ประเพณีอาซูรอสัมพันธ์ เป็นประเพณีท้องถิ่นของชาวไทยมุสลิมในจังหวัดชายแดนภาคใต้ คำว่า อาซูรอ เป็นภาษาอาหรับ แปลว่า การผสม การรวมกัน คือการนำสิ่งของที่รับประทานได้หลายสิ่งหลายอย่างมากวนรวมกัน มีทั้งชนิดคาวและหวาน การกวนข้าวอาซูรอจะใช้คนในหมู่บ้านมาช่วยกันคนละไม้คนละมือ เพื่อความสามัคคีและสร้างความพร้อมเพรียงเป็นน้ำหนึ่งใจเดียวกัน อันมีผลต่อการอยู่ร่วมกันของสังคมอย่างมีความสุข ก่อนจะแจกจ่ายให้รับประทานกัน เจ้าภาพจะเชิญบุคคลที่นับถือของชุมชนขึ้นมากล่าวขอพร (ดูอา) ก่อน จึงจะแจกให้คนทั่วไปรับประทานกัน
  • ประเพณีเมาลิด เป็นกิจกรรมประจำปีที่ชุมชนจัดขึ้นทุกปีเพื่อเป็นการรำลึกถึงหลักธรรมคำสอน และผลงานของท่านนบีมูฮัมมัด ทั้งยังมีการรวมตัวกันเพื่อฟังเรื่องเล่าชีวประวัติแบบฉบับอันงดงาม บุคลิกภาพอันมีเกียรติของท่านนบี และมีการเลี้ยงรับอาหารคนจน รวมไปถึงบรรดามุสลิม
  • เดือนมีนาคม มหกรรมแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียน เทศบาลนครยะลาร่วมกับการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย หน่วยงานภาครัฐและเอกชนร่วมจัดขึ้น ซึ่งการแข่งขันนกเขาชวาเสียงอาเซียนได้รับความสนใจจากพี่น้องชาวไทยในพื้นที่และต่างพื้นที่ รวมทั้งผู้สนใจจากประเทศในกลุ่มอาเซียนส่งนกเข้าร่วมแข่งขันร่วมประมาณ 2,000 ตัว โดยมีวัตถุประสงค์เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว อนุรักษ์เผยแพร่วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่น ส่งเสริมอาชีพการเลี้ยงนกเขาชวาและธุรกิจเกี่ยวกับนก เป็นการกระตุ้นเศรษฐกิจในสามจังหวัดชายแดนภาคใต้
  • เดือนเมษายน ประเพณีสุนัตหมู เป็นประเพณีการการขลิบหนังหุ้มปลายอวัยวะเพศชายของมุสลิม ซึ่งโดยทั่วไปแล้วจะจัดขึ้นในช่วงปิดเทอมยาว
  • เดือนพฤษภาคม งานถนนคนเดินยะลา เทศบาลนครยะลา ร่วมกับหน่วยงานต่าง ๆ ในจังหวัดยะลา และผู้ประกอบการในพื้นที่ได้จัดงาน ถนนคนเดิน” ขึ้นเพื่อสร้างช่องทางการตลาด กระตุ้นเศรษฐกิจในพื้นที่เพื่อให้ผู้ประกอบการได้นำสินค้าต่าง ๆ อาทิ สินค้าโอทอป สินค้าชุมชน ออกมาจำหน่ายให้พี่น้องประชาชนได้ซื้อในราคาถูก มีคุณภาพ นอกเหนือจากนั้นเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยว ตลอดจนสร้างภาพลักษณ์ที่ดีของคนในจังหวัด ประชาชนได้รับความบันเทิง ผ่อนคลายความตึงเครียดจากสถานการณ์ความไม่สงบ
  • เดือนพฤษภาคม-มิถุนายน งานสมโภชนหลักเมือง เป็นงานประเพณีสำคัญประจำปีของจังหวัดยะลา เพื่อเฉลิมฉลองและสมโภชหลักเมือง อันเป็นที่เคารพสักการบูชาของประชาชนชาวจังหวัดยะลา และประชาชนทั่วไป โดยมีขบวนแห่หลักเมืองจำลอง ขบวนแห่งานกาชาดจังหวัดยะลา (วัฒนธรรมและของดีเมืองยะลา) กิจกรรมเปิดงานกาชาดจังหวัดยะลา สำหรับกิจกรรมตลอดระยะเวลา 11 วัน 11 คืน ซึ่งภายในงานมีการออกบูธแสดง และกิจกรรมต่าง ๆ อาทิ การออกร้านกาชาด การออกรางวัลสลากกาชาดเพื่อการกุศล การประกวดธิดานิบง การประกวดร้องเพลงลูกทุ่งไทย ขวัญใจมหาชน การจัดนิทรรศการ การแสดงผลงานวิชาการของหน่วยราชการ สถานศึกษาและภาคเอกชน และอีกมากมาย

วิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ การประกอบอาชีพ ประชากรส่วนใหญ่ในชุมชนจะประกอบอาชีพหลัก คือ ทำสวน ตามด้วยอาชีพค้าขาย รับจ้างทั่วไป และรับราชการ ส่วนอาชีพเสริม ได้แก่ รับจ้างบรรจุผลไม้ เลี้ยงสัตว์ และเพาะปลูก ด้วยลักษณะชุมชนเมืองที่พื้นที่ทำการเกษตร และเป็นหนึ่งในจุดรับซื้อผลในพื้นที่ ทำให้ชุมชนมีรายได้เพิ่มมากขึ้น

ผู้นำชุมชน ได้แก่ นายอูเซ็ง มอน็อง ประธานชุมชนคนปัจจุบันของชุมชนตลาดเกษตร

ศาสนสถาน หรือ มัสยิด ในชุมชนมีมัสยิด ซึ่งมัสยิดนับเป็นศาสนสถานที่สำคัญของชาวมุสลิมที่ชาวมุสลิมในแต่ละชุมชนจะสร้างมัสยิดขึ้นเพื่อเป็นสถานที่ปฏิบัติพิธีกรรมทางศาสนา อาทิ การละหมาด และการวิงวอนต่อพระเจ้า นอกจากนี้มัสยิดในชุมชนยังเป็นโรงเรียนสอนอัลกุรอาน และศาสนา สถานที่พบปะ ประชุม ทำบุญเลี้ยง และสถานที่ทำพิธีสมรส เป็นต้น

กลุ่มอาชีพ ได้แก่ กลุ่มวิสาหกิจชุมชนตลาดเกษตร และกลุ่มตัดเย็บเสื้อผ้าและเครื่องนุ่งห่ม

ผู้คนในชุมชนจะใช้ภาษาไทยและภาษามลายูในการสื่อสารเนื่องด้วยเป็นชุมชนมุสลิมและสมาชิกในชุมชนส่วนใหญ่เป็นคนมลายู


สถานการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นในชุมชนที่ปรากฏเห็นได้ชัดในด้านสังคมและประชากร โดยมีรายละเอียด ดังนี้

การเปลี่ยนแปลงของสังคมไปสู่ความทันสมัย ปรากฏการณ์การเปลี่ยนแปลงที่เห็นได้ชัด ได้แก่ จำนวนอาคารบ้านเรือน ร้านค้า และอาคารพาณิชย์เพิ่มมากขึ้น

ด้านความท้าทายของชุมชน ชุมชนประสบกับความท้าท้าย ดังนี้

1. ปัญหามลพิษจากโรงงานไม

2. ปัญหาการจราจรติดขัด

3. ปัญหาสาธารณูปโภคพื้นฐาน เช่น น้ำประปา ไฟฟ้าส่องสว่าง เป็นต้น

4. ปัญหาวัยรุ่นมั่วสุมและเยาวชนในชุมชนเสี่ยงต่อการติดยาเสพติดและการเกิดอาชญากรรม

อย่างไรก็ตาม ทางหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง อาทิ เทศบาลนครยะลา และหน่วยงานอื่นๆ ได้ติดตามและแก้ไขปัญหาดังกล่าว

ด้านการมีส่วนร่วม สมาชิกในชุมชนให้ความร่วมมืออย่างดีในการทำกิจกรรมต่างๆของชุมชน

ชุมชนเป็นแหล่งรับซื้อและส่งออกผลไม้ในพื้นที่ โดยเฉพาะทุเรียน จึงเป็นแหล่งรายได้ของสมาชิกในชุมชน อีกทั่งยังสามารถดึงดูดผู้คนจากนอกพื้นมาอุดหนุนสินค้าเกษตร ส่งผลให้เศรษฐกิจในชุมชนดีขึ้น

ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ กองวิชาการและแผนงาน. (2564). แผนชุมชนประจำปี 2564. เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา

ฝ่ายแผนงานและงบประมาณ กองวิชาการและแผนงาน. (2565). แผนชุมชนประจำปี 2565. เทศบาลนครยะลา จังหวัดยะลา