Advance search

ดอยปู่หมื่น

เป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่ปลูกชาอัสสัมมากที่สุดแห่งหนึ่ง โดยปลูกบริเวณรอบๆ หมู่บ้าน ภายในหมู่บ้านมีที่พักแบบโฮมสเตย์ และกิจกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวเยี่ยมชมโรงงานผลิตชา กิจกรรมร่วมเก็บใบชา ท่องเที่ยวน้ำตกปู่หมื่น ชมวิถีชีวิตและการละเล่นของชาวไทยภูเขาเผ่าลาหู่

บ้านหลวง
แม่อาย
เชียงใหม่
ปวินนา เพ็ชรล้วน
12 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
28 ก.ค. 2023
ปวินนา เพ็ชรล้วน
28 ก.ค. 2023
ดอยปู่หมื่น

ย้อนไปกว่าร้อยปี มีชนเผ่ากลุ่มหนึ่งนามว่า "ลาหู่" หรือ "มูเซอแดง" ซึ่งอพยพลงมาจากประเทศจีน ก่อนที่จะเข้าพม่า และเข้ามาเลือกปักหลักในแผ่นดินไทย ณ ขุนเขาแห่งนี้ โดยมีผู้นำชนเผ่าชื่อ นายปู่หมื่น (นายแตงเต้า) ที่ได้ปกครองชุมชนเรื่อยมาจนแก่เฒ่า ชาวบ้านจึงเรียกว่า "ปู่หมื่น" ดอยแห่งนี้จึงถูกขนานนามว่า "ดอยปู่หมื่น"


เป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่ปลูกชาอัสสัมมากที่สุดแห่งหนึ่ง โดยปลูกบริเวณรอบๆ หมู่บ้าน ภายในหมู่บ้านมีที่พักแบบโฮมสเตย์ และกิจกรรมท่องเที่ยว นักท่องเที่ยวเยี่ยมชมโรงงานผลิตชา กิจกรรมร่วมเก็บใบชา ท่องเที่ยวน้ำตกปู่หมื่น ชมวิถีชีวิตและการละเล่นของชาวไทยภูเขาเผ่าลาหู่

บ้านหลวง
แม่อาย
เชียงใหม่
50280
องค์การบริหารส่วนตำบลบ้านหลวง โทร. 0-5310-6050
20.0271021
99.1810883
องค์การบริหารส่วนตำบล

บนดอยปู่หมื่นประกอบด้วยหมู่บ้าน 2 หมู่บ้าน มีชนเผ่าสองชนเผ่าอาศัยอยู่ ได้แก่ บ้านปู่หมื่นนอก จะเป็นหมู่บ้านของมูเซอแดง และ บ้านปู่หมื่นใน จะเป็นกลุ่มของมูเซอดำ

ย้อนไปกว่าร้อยปี มีชนเผ่ากลุ่มหนึ่งนามว่า "ลาหู่" หรือ "มูเซอแดง" ซึ่งอพยพลงมาจากประเทศจีน ก่อนที่จะเข้าพม่า และเข้ามาเลือกปักหลักในแผ่นดินไทย ณ ขุนเขาแห่งนี้ โดยมีผู้นำชนเผ่าชื่อ นายปู่หมื่น (นายแตงเต้า) ที่ได้ปกครองชุมชนเรื่อยมาจนแก่เฒ่า ชาวบ้านจึงเรียกว่า "ปู่หมื่น" ดอยแห่งนี้จึงถูกขนานนามว่า "ดอยปู่หมื่น" ชาวบ้านประกอบอาชีพการรับจ้างเก็บใบชา และทำงานรับจ้างดูแลป่าไม้ของกรมป่าไม้ รวมไปถึงการปลูกกาแฟพันธุ์อาราบิกาจำหน่าย จากอดีตเคยเป็นแหล่งปลูกฝิ่นแหล่งใหญ่แห่งหนึ่งของจังหวัดเชียงใหม่ด้านติดชายแดน อาชีพของเกษตรกร จะทำไร่เลื่อนลอย มีการบุกรุกถางป่าเพื่อปลูกพืช ทำให้สภาพป่ากลายเป็นเขาหัวโล้น

พระบาทสมเด็จพระปรมินทรมหาภูมิพลอดุลยเดช รัชกาลที่ 9 เสด็จฯ เยี่ยมชาวไทยภูเขาที่บ้านปู่หมื่นในปี 2515 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 9 ได้เสด็จฯ ที่บ้านดอยปู่หมื่นและได้พระราชทานต้นชาให้นำมาปลูกที่บ้านปู่หมื่น นับเป็นชาต้นแรกที่ปลูกและขยายพันธุ์แก่เกษตรกรในพื้นที่ เป็นชาสายพันธุ์อัสสัม เกษตรกรจะออกไปเก็บใบชาช่วงเวลาเช้า และนำมาคั่วด้วยเตาแบบโบราณที่ใช้ฟืนเป็นเชื้อเพลิง ผึ่งลมให้แห้งแล้วบรรจุถุง ส่งจำหน่ายให้กับผู้บริโภคใบชาแบบดั้งเดิม ในปัจจุบันบ้านดอยปู่หมื่นเป็นหมู่บ้านที่มีพื้นที่ปลูกชาอัสสัมมากที่สุดแห่งหนึ่ง โดยปลูกบริเวณรอบๆ หมู่บ้าน ทุกบ้านสะอาด สะดวกพร้อมที่จะรับนักท่องเที่ยวเข้าชมและพักผ่อนแบบโฮมสเตย์ ชมต้นชาต้นแรกที่ได้รับพระราชทานจากในหลวง นักท่องเที่ยวเยี่ยมชมโรงงานผลิตชา กิจกรรมร่วมเก็บใบชา ท่องเที่ยวน้ำตกปู่หมื่น ชมวิถีชีวิตและการละเล่นของชาวไทยภูเขาเผ่าลาหู่

นอกจากนี้ ชุมชนปู่หมื่น ยังมีเส้นทางเดินป่าเพื่อชมธรรมชาติและความงามของน้ำตกอีกด้วย นั่นคือ ‘น้ำตกปู่หมื่น’ หรือที่ชาวบ้านเรียกกันว่า ‘น้ำตกงวงช้าง’ ซึ่งน้ำตกปู่หมื่นเป็นน้ำที่ไหลมาจากดอยผาหลวง (ดอยผ้าห่มปก) ความโดดเด่นของน้ำตกปู่หมื่น คือมีลักษณะเหมือนงวงช้าง     ซึ่งเกิดขึ้นโดยธรรมชาติ เมื่อกระแสน้ำได้ไหลไปกระทบกับหลุมบนหินที่อยู่ตรงกลางของระหว่างชั้นแล้ว จะพุ่งขึ้นไปฟุ้งกระจายเป็นฝอยโค้งซึ่งมีลักษณะคล้ายงวงช้างที่สวยงามมาก ถือได้ว่าเป็นสิ่ง มหัศจรรย์ทางธรรมชาติที่หาชมได้ยาก และที่นี่มีความอุดมสมบูรณ์มีน้ำตลอดทั้งปี

ดอยปู่หมื่น ตั้งอยู่บนเทือกเขาแดนลาว ต.แม่สาว อ.แม่อาย มีความสูงจากระดับน้ำทะเล 1,350 ม. เนื่องจากเป็นพื้นที่ภูเขาสูง และยังมีความอุดมสมบูรณ์ของธรรมชาติอยู่มาก ที่ดอยปู่หมื่นแห่งนี้จึงมีอากาศเย็นสบายทั้งปีไม่เว้นแม้กระทั่งหน้าร้อน โดยมีอุณหภูมิเฉลี่ยรวมอยู่ที่ 14 องศา และต่ำสุดที่ 4 องศา ในบางช่วงของหน้าหนาว ประชากรท้องถิ่นเป็นชาวไทยภูเขาเผ่าลาหู่ หรือที่รู้จักอีกชื่อในนามชาวเขาเผ่ามูเซอ ปลูกพืชเศรษฐกิจคือ บ๊วย อะโวคาโด กาแฟ และชาพันธุ์อัสสัมที่นิยมปลูกกันเป็นหลัก

มีอาณาเขตติดต่อ ดังนี้

ทิศเหนือ      ติดต่อกับ  ตำบลสันต้นหมื้อ อำเภอแม่อาย

ทิศใต้         ติดต่อกับ  ตำบลแม่คะ อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย

ทิศตะวันออก  ติดต่อกับ  ตำบลแม่นาวาง อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่ และจังหวัดเชียงราย

ทิศตะวันตก   ติดต่อกับ  ตำบลเวียง อำเภอฝาง จังหวัดเชียงใหม่

ชนเผ่าลาหู่อพยพมาจากทางทิเบตตอนใต้และมาปักหลักอาศัยอยู่ ณ ดอยแห่งนี้ โดยมีผู้นำชุมชนที่มียศเป็นหมื่น เป็นผู้ที่ดูแลปกครองคนในชุมชน ทุกคนเลยเรียกว่า “ปู่หมื่น” และเรียกดอยแห่งนี้ว่าดอยปู่หมื่นนั่นเอง ปู่หมื่นมีลูกเขยชื่อจะฟะและได้แต่งตั้งให้จะฟะเป็นผู้นำชุมชน

ศักยภาพชุมชนการท่องเที่ยวเชิงเกษตรดอยปู่หมื่น ตำบลบ้านหลวง อำเภอแม่อาย มีบริบทของกลุ่ม โดยกลุ่มท่องเที่ยวเชิงเกษตรปู่ หมื่น ผู้นำกลุ่ม คือ คุณเจริญไชย ไชยกอ ซึ่งเป็นชาวลาหู่ในพื้นที่ มีประชากรทั้งหมดประมาณ 250 คน อาชีพส่วนใหญ่ปลูกชาอัสสัม และบางส่วนทำ     โฮมสเตย์ กลุ่มนี้ทำทั้งการท่องเที่ยวเชิงเกษตรและการท่องเที่ยวธรรมชาติ ซึ่งมีจำนวนสมาชิกประมาณ 10 คน 

ลาหู่
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ทุนวัฒนธรรม

1.) การแต่งกาย

วัฒนธรรมในการแต่งกายของชาวลาหู่ ผู้ชายลาหู่ สวมใส่เสื้อแขนยาวสีดำ ประดับด้วยเม็ดโลหะเงิน และลายปักต่าง ๆ ส่วนกางเกงใช้สีดำ สีเขียว สีฟ้า เย็บปักด้วยมือที่สวยงาม ผู้หญิงลาหู่ จะเป็นเสื้อแขนยาวตัวสั้น แค่เอว ตกแต่งด้วยผ้าหลากสีและเครื่องเงิน และใช้ผ้าสีต่างๆ ลวดลาย    ที่สวยงามเหมือนของผู้หญิง

2.) การเต้นจะคึ 

การเต้นจะคึ ออกเสียง “ปอย เต เว” คำว่า “จะคึ” แปลว่า “การเต้น” โดยการเต้นจะเป็นการเต้นเพื่อประกอบการบวงสรวงสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของชาวลาหู่ การเต้นเข้าไปมีบทบาทสำคัญในการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เช่น พิธีกรรมปีใหม่ เกี่ยวข้องกับการเฉลิมฉลองปีใหม่ พิธีกรรมกินข้าวใหม่เกี่ยวข้องกับการประกอบอาชีพเกษตรกรรมและพิธีกรรมการเรียกขวัญในปัจจุบัน เป็นการแสดงต้อนรับนักท่องเที่ยว และให้นักท่องเที่ยวมีส่วนร่วมในการเต้นจะคึ “น่อเซะ” หรือ แคนชาวลาหู่ เป็นแคนขนาดเล็ก เครื่องดนตรีเครื่องเป่าที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะชนเผ่าลาหู่มีความสำคัญ       ในกิจกรรมชาวลาหู่มาก เป็นภูมิปัญญาตั้งแต่บรรพบุรุษที่สืบทอดการผลิต และการบรรเลงบทเพลง ปัจจุบันเหลือคนเป่าในหมู่บ้านเพียงคนเดียว ลุงจะแล จะมู ขาดเยาวชนสืบสานที่น่าเป็นห่วง

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ชาวบ้านส่วนใหญ่มีรายได้น้อยไม่เพียงพอกับค่าใช้จ่าย ทำให้มีหนี้สินเพิ่ม รวมทั้งต้นทุนการเกษตรมีราคาแพง แต่ผลผลิตทางการเกษตรมีราคาต่ำ รวมทั้งไม่มีลานตากชา


ไม่มีสนามเด็กเล่น และไม่มีลานกีฬา รวมทั้งหมู่บ้านไม่มีอาคารเอนกประสงค์ และไม่มีคณะกรรมการรับผืดชอบโดยตรงต่อปัญหาต่างๆที่เกิดขึ้นในชุมชน


ที่อยู่อาศัยไม่มีเอกสิทธิ์ที่ถูกต้อง


ประเพณีวัฒนธรรมบางอย่างของชุมชนเริ่มเลือนหายไป เนื่องจากไม่มีการสืบทอด


ไม่มีที่ทิ้งขยะ น้ำที่ใช้ในการเกษตรในช่วงฤดูแล้งไม่เพียงพอ มีการบุกรุกป่าเพื่อขยายที่ดินทำกิน

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ตามหาชาต้นแรก เรียนรู้วัฒนธรรมชาวลาหู่ โฮมสเตย์ดอยปู่หมื่น อ.แม่อาย. (2557). (ออนไลน์). สืบค้นเมื่อวันที่ 12 กรกฎาคม 2566. เข้าถึงได้จาก: https://www.chiangmainews.co.th/social/1510296/

ธนมนต์ ธนรัตนพิมลกุล. (2562). รายงานวิจัยฉบับสมบูรณ์การพัฒนาชุมชนเกษตรจังหวัดเชียงใหม่สู่การท่องเที่ยวระดับอาเซียน. มหาวิทยาลัยราชภัฏเชียงใหม่.

ปีร์ยพรรณ มูลประเสริฐ. (2556). การจัดการชุมชนเพื่อส่งเสริมแหล่งท่องเที่ยวใหม่ ดอยปู่หมื่น อุทยานแห่งชาติดอยผ้าห่มปก อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์ปริญญาบริหารธุรกิจมหาบัณฑิต คณะบริหารธุรกิจ มหาวิทยาลัยแม่โจ้.

พยุงศักดิ์ ไชยกอ. (2544). ความต้องการในการพัฒนาอาชีพการเกษตรของชาวเขาเผ่ามูเซอดำ หมู่บ้านดอยปู่หมื่นใน ตำบลแม่สาว อำเภอแม่อาย จังหวัดเชียงใหม่. วิทยานิพนธ์วิทยาศาสตรมหาบัณฑิต สาขาวิชาส่งเสริมการเกษตร มหาวิทยาลัยเชียงใหม่.

ภาคภูมิ ภัควิภาส และรัฐนันท์ พงศ์วิริทธิ์ธร. (2558). แนวทางการพัฒนาศักยภาพชุมชนน่าอยู่ : กรณีศึกษาดอยปู่หมื่น. วารสารมหาวิทยาลัยนเรศวร, 8(1). 108-121.