Advance search

หมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงที่มีวิวทิวทัศน์สวยงามและยังคงรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิมไว้ 

หมู่ที่ 3
พะโท
แม่กิ๊
ขุนยวม
แม่ฮ่องสอน
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
14 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
14 มิ.ย. 2024
ชนม์ชนก สัมฤทธิ์
14 มิ.ย. 2024
พะโท


หมู่บ้านชาวกะเหรี่ยงที่มีวิวทิวทัศน์สวยงามและยังคงรักษาภูมิปัญญาดั้งเดิมไว้ 

พะโท
หมู่ที่ 3
แม่กิ๊
ขุนยวม
แม่ฮ่องสอน
58140
18.672610368049767
97.80058953002968
องค์การบริหารส่วนตำบลแม่กิ๊

ราวปี พ.ศ. 2404 หรือก่อนหน้านั้นมีกลุ่มชาวปะกาเกอะญอเข้ามาตั้งถิ่นฐานเป็นชุมชนเล็ก ๆ ตามเขตป่าพื้นที่ตำบลแม่กิ๊ในปัจจุบันอย่างน้อย 15 ชุมชน และย้ายถิ่นฐานที่อยู่ไปเรื่อย ๆ ไม่เป็นหลักแหล่ง

ประมาณปี พ.ศ. 2410 ทางการได้มาจัดตั้งหมู่บ้านขึ้น 2 ชุมชน คือ หมู่ที่ 5 บ้านแม่กิ๊ และหมู่ที่ 10 บ้านห้วยส้าน ซึ่งอยู่ภายในเขตการปกครองของตำบลเมืองปอน อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอน

ประมาณปี พ.ศ. 2526 ทางการได้จัดตั้งตำบลแม่กิ๊ขึ้นเป็นตำบลที่ 6 ของอำเภอขุนยวม โดยมีหมู่บ้านที่แยกออกมาคือหมู่ที่ 5 และหมู่ที่ 10 มารวมอยู่ในตำบลแม่กิ๊ และมีการแบ่งเขตหมู่บ้านตามที่อยู่อาศัยจนมีทั้งหมด 5 หมู่บ้านมีฐานะเป็นสภาตำบลแม่กิ๊ จนถึงปี พ.ศ. 2548 หมู่บ้านได้รับการยกฐานะขึ้นเป็นองค์การบริหารส่วนตำบลแม่กิ๊จนถึงปัจจุบัน

สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นภูเขา และมีที่ราบน้อยใหญ่อยู่ระหว่างหุบเขา ป่าไม้ส่วนใหญ่เป็นป่าเบญจพรรณ สภาพป่าไม้ค่อนข้างสมบูรณ์ ป่าอื่น ๆ คือป่าเต็งรัง และป่าไผ่ ภูเขามีอยู่ทั่วไปในพื้นที่และเป็นต้นน้ำลำธารที่สำคัญ เช่น น้ำยวม น้ำปอน น้ำแม่สุรินทร์ และน้ำแม่ลาก๊ะ รวมทั้งมีระบบน้ำประปาภูเขา 

บ้านพะโทเป็นหมู่บ้านแรกที่ตั้งอยู่ถัดจากชายแดนที่มีเขตติดต่อกับบ้านกลาง บ้านน้ำมาง ในรัฐคะยา ประเทศเมียนมา ในช่องทางธรรมชาติ ระยะทางประมาณ 10 กิโลเมตร และห่างจากอำเภอขุนยวมไปทางทิศตะวันตกประมาณ 46 กิโลเมตร ห่างจากจังหวัดแม่ฮ่องสอนไปทางทิศเหนือประมาณ 106 กิโลเมตร 

อาณาเขตติดต่อ

  • ทิศเหนือ ติดต่อกับ บ้านห้วยต้นนุ่น
  • ทิศใต้ ติดต่อกับ บ้านห้วยโปงเลา
  • ทิศตะวันออก ติดต่อกับ บ้านแม่กิ๊และบ้านห้วยส้าน
  • ทิศตะวันตก ติดต่อกับ ประเทศสาธารณรัฐแห่งสหภาพเมียนมา

ภูมิอากาศ ลักษณะอากาศของบ้านพะโทค่อนข้างจะเย็นสบายตลอดปี

  • ฤดูร้อน เริ่มตั้งแต่เดือนกุมภาพันธ์ถึงเดือนพฤษภาคม อากาศไม่ร้อนจัด
  • ฤดูฝน เริ่มตั้งแต่เดือนมิถุนายนถึงเดือนกันยายน จะมีฝนตกชุกเหมาะแก่การทำการเกษตร
  • ฤดูหนาว เริ่มตั้งแต่เดือนตุลาคมถึงเดือนมกราคม ลักษณะอากาศค่อนข้างหนาวเย็น บางปีอุณหภูมิบนยอดดอยอาจลดต่ำลงกว่า 10 องศาเซลเซียส ซึ่งเป็นฤดูที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว

ประชากรในหมู่บ้านเป็นชาวปกาเกอะญอ

ปกาเกอะญอ

ประชากรส่วนใหญ่มีอาชีพเกษตรกรรม เช่น การปลูกข้าว ข้าวโพด ถั่วเหลือง งาขาว กะหล่ำปลี มะเขือเทศ กระเทียม หอมแดง ฯลฯ ส่วนอาชีพอื่น ๆ เช่น ค้าขาย รับจ้างทั่วไป ฯลฯ 

ชุมชนใช้พลังงานแสงอาทิตย์ ไม่มีไฟฟ้าใช้ เนื่องจากพื้นที่ชุมชนเป็นเขตป่าสงวนแห่งชาติและเขตอนุรักษ์สัตว์ป่าดอยเวียงหล้า และมีระบบน้ำประปาภูเขา 

ภูมิปัญญา ภูมิปัญญาของชุมชนบ้านพะโท มีดังนี้

  • การทอผ้า
  • เครื่องจักสานจากไม้ไผ่
  • การตีโลหะ เช่น มีด เครื่องมือทางการเกษตร เครื่องใช้ในครัวเรือน ฯลฯ
  • การใช้สมุนไพรรักษาโรค

ปฏิทินชุมชนในหนึ่งปี 

มกราคม

  • ประเพณีหนี่ซอโค่
  • จัดการข้าวในธนาคารข้าว
  • ทำฝายชะลอน้ำ ดูแลป่าต้นน้ำ
  • วางแผนการทำไร่หมุนเวียน 
  • อาหาร เช่น เผือก มัน มะเขือ ฟักทองจากไร่หมุนเวียน ฯลฯ

กุมภาพันธ์

  • เริ่มเตรียมพื้นที่เกษตร
  • หาอาหารจากลำห้วย เช่น เขียด กุ้ง ปู ปลา ลูกอ๊อด ฯลฯ

มีนาคม

  • ตากไร่
  • ทำแนวกันไฟของหมู่บ้านและแนวตะเข็บชายแดน
  • เก็บน้ำผึ้งป่า

เมษายน

  • เผาไร่ตามนโยบายของรัฐ
  • หยอดเมล็ดพันธุ์พืช เช่น ข้าวโพด ฟักทอง ฯลฯ และปลูกเผือกและมันในไร่ข้าว
  • ปลูกกล้วย
  • เก็บอาหารจากป่า เช่น หน่อไม้ ตำลึง หน่อคาหาน หน่อหวาย ตาว น้ำผึ้งป่า แลน ฯลฯ

พฤษภาคม

  • หยอดข้าวไร่ พร้อมเมล็ดพันธุ์พริก แตง และมะเขือ
  • ปลูกงา
  • อาหาร เช่น ไก่ป่า หนูพุก อ้น หนูนา แลน หน่อไม้ ฟักทอง ผักกูด มะเขือพวง ตำลึง ยอดฟักข้าว ลิ้นจี่ป่า ส้มจี๊ดป่า ฯลฯ

มิถุนายน

  • เตรียมพื้นที่ทำนา หว่านต้นกล้า กำจัดวัชพืชในไร่หมุนเวียน
  • ปลูกบุกและข้าวโพด
  • อาหาร เช่น ไก่ป่า หนูพุก อ้น บวบ กระเจี๊ยบเขียว ผักกาด ผักอิหลืน ใบแมงลัก ข้าวสาลี มะระ หน่อไม้ ผักกูด เพกา เห็ดปลวก เห็ดโคน ฯลฯ

กรกฎาคม

  • ดำนา
  • อาหารจากป่า เช่น ไก่ป่า หนูพุก อ้น บวบ หน่อไม้  ผักกูด เห็ดปลวก เห็ดโคน ฯลฯ

สิงหาคม

  • กำจัดวัชพืชในไร่หมุนเวียนและที่นา
  • อาหาร เช่น ไก่ป่า หนูพุก แตง แตงไทย มะนอยต๊อบ ถั่วฝักยาว ยอดฟักทอง เห็ดปลวก เห็ดโคน ตัวอ่อนต่อ ฯลฯ

กันยายน

  • ดูแลไร่นา
  • อาหาร เช่น ไก่ป่า หนูพุก อ้น หน่อหวาย หน่อตาว หน่อคาทาน หน่อไม้ ด้วงไม้ไผ่ ตัวอ่อนต่อ ฯลฯ

ตุลาคม

  • เตรียมอุปกรณ์สำหรับเกี่ยวข้าว ตากข้าว
  • วันพระแม่มารี สวดมนต์ตามบ้านในชุมชน
  • อาหาร เช่น เผือก มัน มันสำปะหลัง ฟักทอง ฟักเขียว ดอกต้าง ผักแว่น หมูป่า ด้วงไม้ไผ่ ฯลฯ

พฤศจิกายน

  • เกี่ยวข้าว
  • อาหาร เช่น เผือก มัน มันสำปะหลัง แตง มะเขือ ฟักทอง ฟักเขียว ดอกต้าง ผักแว่น หมูป่า ด้วงไม้ไผ่ ฯลฯ

ธันวาคม

  • ตีข้าว เก็บข้าวเข้ายุ้งฉาง
  • เทศกาลคริสต์มาส
  • อาหาร เช่น ถั่วพู ถั่วแปบ ผักกูด บอน ใบชะพลู ฟักทอง ฟักเขียว อ้อย ฯลฯ 

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

ในชุมชนพะโทมีการอนุรักษ์พืชพื้นเมือง ได้แก่ มะนาว กล้วยป่า ดาวเรือง สบู่ดำ และไผ่ป่า รวมทั้งภูมิปัญญาในด้านต่าง ๆ เช่น การทำงานหัตถกรรม การจัดการทรัพยากรป่า ฯลฯ

ภาษาปกาเกอะญอ

กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล
กำลังอยู่ระหว่างจัดทำข้อมูล

กรมวิชาการเกษตร. (2562). ชุมชนบ้านพะโท ตำบลแม่กิ๊ อำเภอขุนยวม จังหวัดแม่ฮ่องสอนhttps://www.doa.go.th/

สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน. (ม.ป.ป.). บ้านพะโท ดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ ด้วยวิถีปกาเกอญอ. สำนักงานวัฒนธรรมจังหวัดแม่ฮ่องสอน. https://anyflip.com/