ชุมชนที่มีชาติพันธุ์ลาวเวียงจันทน์ ที่ถูกกวาดต้อนมาในปี พ.ศ. 2388 กระทั่งได้มาสร้างชุมชนอาศัยอยู่ชื่อบ้านเกาะจันทน์ หรือ ดอนเวียงจันทน์ ในปัจจุบัน
สันนิษฐานว่ามาจากคนในชุมชนมีชาติพันธุ์มาจากชาวลาวเวียงจันทร์จึงได้นำชื่อมาตั้งเป็นชื่อชุมชน
ชุมชนที่มีชาติพันธุ์ลาวเวียงจันทน์ ที่ถูกกวาดต้อนมาในปี พ.ศ. 2388 กระทั่งได้มาสร้างชุมชนอาศัยอยู่ชื่อบ้านเกาะจันทน์ หรือ ดอนเวียงจันทน์ ในปัจจุบัน
บ้านดอนเวียงจันทน์ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม ก่อตั้งเมื่อ จุลศักราช 1240 (พ.ศ. 2422) โดยการนำของ (ตากวนบ้าน) หรือหัวหน้าหมู่บ้านชื่อ ตาสี เมืองจันทน์ ได้กวาดต้อนจากเวียงจันทน์ เมืองคำเกิด นครพนม โดยการนำของพระลำดวน (ถ้าคำก้อน) เมืองคำเกิด ลงมาเป็นเจ้าเมืองท่าขอนยาง ในจุลศักราช 1207 หรือ พ.ศ. 2388 โดยทางกรุงเทพฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้า ให้พระลำดวน (ถ้าคำก้อน) ขึ้นเป็นเจ้าเมืองท่าขอนยางเป็นพระสุวรรณภักดิ์เจ้าเมืองอุปฮาดพระลำดวนเคยเป็นเจ้าเมืองคำเกิดแขวงเมืองนครพนมและได้พาครอบครัวกรรมการเมืองและได้กวาดต้อนชาวบ้านอพยพหนีภัยจากเจ้าอนุวงศ์เวียงจันทน์ (ลาวเวียงจันทร์) ซึ่งยกกองทัพมาตีเมืองต่าง ๆ ในอีสาน
ครั้นถึงจุลศักราช 1198 ปีวอก อัฐศก (พ.ศ. 2398) พระยามหาอำมาต (ป้อม) และพระยามหาสงคราม ซึ่งพระราชทานโปรดเกล้าให้เกณฑ์กำลังพลเมืองฝ่ายเหนือ ตะวันออกเฉียงเหนือและยกกองทัพไปตั้ง ณ เมืองนครพนม จัดการปราบปรามหัวเมืองฝั่งโขง ตะวันออก ได้จัดการให้ครอบครัวของพระลำดวน ซึ่งมีจำนวน 2,857 คน ที่ตั้งอยู่บ้านท่าขอนยางพร้อมกับพระยาคำแดง ซึ่งเป็นอุปฮาดเมืองลำดวน พร้อมกับกรรมการเมือง และไพร่พลจำนวน 933 คน ตั้งอยู่ที่แซงบาดาล เมืองกาฬสินธุ์ ทั้งสองยกตำบลยกฐานะขึ้นเป็นเมืองดังกล่าว แล้วในสมัยพระยาไชยสุนทร (เลื่อน) เจ้าเมืองกาฬสินธุ์ครั้นถึงจุลศักราช 1240 (พ.ศ. 2422) พระลำดวน (ถ้าคำก้อน) หรือพระสุวรรณภักดิ์ เจ้าเมืองท่าขอนยาง จึงอนุญาตให้ท้าวสีเมืองจันทน์พร้อมครอบครัวและชาวบ้านอีกประมาณสิบครัวเรือนขึ้นมาก่อสร้างอยู่ท่าเมืองท่าขอนยาง ประมาณ 2 กิโลเมตร คือ บ้านดอนเวียงจันทน์ เพราะเป็นแนวทางติดต่อกับเมืองกันทาง หรือคันธาวิชัย (อำเภอกันทรวิชัย)
อาณาเขตติดต่อ
- ทิศเหนือ ติดต่อกับ หมู่บ้าน ท่าขัว หมู่ที่ 9
- ทิศใต้ ติดต่อกับ หมู่บ้านดอนสวน หมู่ที่ 12
- ทิศตะวันออก ติดต่อกับ หมู่บ้านดอนสวน หมู่ที่ 12
- ทิศตะวันตก ติดต่อกับ หมู่บ้านดองเวียงจันทร์ หมู่ที่ 13
บ้านดอนเวียงจันทน์ มีจำนานประชากรทั้งสิ้น 168 ครัวเรือน 543 คน ชาย 252 คน หญิง 267 คน ส่วนใหญ่เป็นกลุ่มชาติพันธุ์ไทยลาว
ลาวเวียงประชาชนส่วนใหญ่ในหมู่บ้านมีอาชีพเกษตรกรรมเป็นอาชีพหลัก รายได้ส่วนใหญ่ของหมู่บ้านมาจากการทำนา และเลี้ยงโค-กระบือ หมู เป็ด ไก่ เป็นอาชีพเสริม
ในรอบปีหมู่บ้านดอนเวียงจันทร์ หมู่ 8 มีการทำบุญหรือประเพณีต่าง ๆ โดยอาศัยหลักในการปฏิบัติคือ “ฮีตสิบสอง” ซึ่งหมายถึงประเพณีการทำบุญและพิธีกรรมในรอบ 1 ปีหรือ 12 เดือน ปัจจุบันประเพณีบางอย่างได้เลิกปฏิบัติไปแล้วเนื่องจากขาดผู้นำในการปฏิบัติและบางประเพณีที่เปลี่ยนแปลงการปฏิบัติไป เนื่องจากสภาพเศรษฐกิจในปัจจุบันไม่เอื้ออำนวยประชาชนในหมู่บ้านมีการไปทำงานยังต่างถิ่นกันมากประเพณีที่หายไป เช่น ประเพณีสู่ขวัญข้าว, ลงแขกเกี่ยวข้าวบุญบั้งไฟ เป็นต้น แต่ประเพณีที่ยังถือปฏิบัติกันในรอบหนึ่งปีของหมู่บ้านมีอยู่มีดังนี้
- เดือนมกราคม ทำบุญขึ้นปีใหม่
- เดือนกุมภาพันธ์ บุญข้าวจี่
- เดือนมีนาคม บุญพระเวชสันดร และเทศน์มหาชาติ
- เดือนเมษายน เทศกาลสงกรานต์
- เดือนพฤษภาคม ประเพณีบุญบังไฟ
- เดือนมิถุนายน ประเพณีเลี้ยงดอนปู่ตา
- เดือนกรกฎาคม วันเข้าพรรษา
- เดือนสิงหาคม บุญข้าวประดับดิน
- เดือนกันยายน บุญข้าวสารท
- เดือนตุลาคม บุญตักบาตรเทโว และบุญออกพรรษา
- เดือนพฤศจิกายน บุญทอดกฐิน และประเพณีลอยกระทง
- เดือนธันวาคม บุญกุ้มข้าว
1.นายสงค์ บุตราช ชำนาญด้านหมอสู่
2.นางแปน วงษ์สงคราม ชำนาญด้านจักสาน
3.นายณัฐพงษ์ คงน้อย ชำนาญด้านจักสาน
4.นายสวาท แพงจันทร์ ชำนาญด้านจักสาน
5.นายสงค์ บุตราช ชำนาญด้านหมอสู่
กองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมือง กองทุนละ 1 ล้านบาท สำหรับเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมือง โดยรัฐบาลจัดตั้งกองทุนหมู่บ้านและชุมชนเมืองกองทุนละ 1 ล้านบาท สำหรับเป็นแหล่งเงินทุนหมุนเวียนในหมู่บ้านและชุมชนเมืองใช้ในการพัฒนาเศรษฐกิจและสังคมเพื่อให้ท้องถิ่นมีขีดความสามารถในการจัดระบบและบริหารจัดการเงินกองทุนของตนเอง เพื่อสร้างศักยภาพในการสร้างเสริม ความเข้มแข็ง ด้านสังคมและด้านเศรษฐกิจของประชาชนในหมู่บ้านและชุมชนเมืองสู่การพึ่งพาตนเอง อย่างยั่งยืน เพื่อแก้ไขปัญหาความยากจนตามนโยบาย “คิดเอง บริหารจัดการเอง โดยประชาชน เพื่อประชาชน ในหมู่บ้านหรือชุมชนเมือง”
1.ประชาชนส่วนใหญ่เห็นแก่ประโยชน์ส่วนตัวมากขึ้น ผลผลิตทุกอย่างต้องซื้อ-ขายทั้งนั้น
2.ปัญหาคุณภาพชีวิตของประชาชน ประชาชนในหมู่บ้านต้องอพยพไปขายแรงงานต่างถิ่น ทำให้ครอบครัวขาดความอบอุ่นปล่อยให้คนชราเลี้ยงดูบุตรหลานตามลำพัง
3.ปัญหาเยาวชนมั่วสุมอบายมุขและสิ่งเสพติดเนื่องจากขาดความอบอุ่นและความเข้าใจ อยากลองอยากรู้เป็นสาเหตุของการลักขโมยเกิดขึ้นในหมู่บ้าน
ปัจจุบันป่าไม้มีจำนวนลดน้อยลง แทบจะไม่เหลือเป็นป่า เพราะชาวบ้านได้ปรับพื้นที่ป่าให้เป็นพื้นที่ทำการเกษตรเกือบทั้งหมด
ราณี ขันโยธา. (2545). การศึกษาวิเคราะห์ชุมชนบ้านดอนเวียงจันทน์ ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม. คณะมนุษยศาสตร์และสังคมศาสตร์ มหาวิทยาลัยมหาสารคาม
นายธวัชชัย เหล่าสมบัตร ผู้ใหญ่บ้านดอนเวียงจันทน์ (ผู้ให้สัมภาษณ์), นายธนวิทย์ สิงห์โสด (ผู้สัมภาษณ์) ณ ที่ทำการผู้ใหญ่บ้าน บ้านดอนเวียงจันทน์ หมู่ 8 ตำบลท่าขอนยาง อำเภอกันทรวิชัย จังหวัดมหาสารคาม, 21 พฤษภาคม 2567