บ้านเหนือ
หมู่บ้านเหนือ มีต้นโพธิ์ใหญ่ประจำหมู่บ้านอยู่ 2 ต้น อยู่ทางทิศตะวันตก เชื่อว่าจะเป็นตั้งของวัดในสมัยโบราณ เพราะปรากฏเห็นวัตถุโบราณและซากปรักหักพังของอิฐ แต่ปัจจุบันได้สร้างเป็นศาลาประจำหมู่บ้านเพื่อใช้เป็นสถานที่ประชุมและทำกิจกรรมต่าง ๆ
เขาพังไกร
พื้นที่ที่มีความอุดมสมบูรณ์ มีทั้งที่ราบเชิงเขาและแม่น้ำ ชาวบ้านปรับตัวให้เข้ากับสิ่งแวดล้อม จึงได้มีการทำอาชีพเกษตรกรรม ทำนาเป็นหลัก สร้างรายได้แก่คนในชุมชน มีประเพณีข้าวยาคู หรือข้าวมธุปายาส
บ้านหนองพาบน้ำ
ชาวบ้านหนองพาบน้ำได้ร่วมกับชุมชนในตำบลโคกสะบ้าและตำบลนาข้าวเสีย อำเภอนาโยง รวม
9 ชุมชน ก่อตั้งชมรมอนุรักษ์ป่าสาคู เพื่อแก้ปัญหาผลกระทบจากการขุดลอกคลองเพื่อสร้างชลประทาน
ซึ่งทำลายป่าสาคูบริเวณแม่น้ำปะเหลียน เพื่ออนุรักษ์ฟื้นฟูป่าสาคูที่เป็นทั้งแหล่งรายได้
และแหล่งอาหารของชุมชนมาอย่างยาวนาน
บ้านบางติบ
บ้านบางติบ เป็นชุมชนที่สมาชิกในชุมชนร่วมกันบริหารจัดการป่าชายเลน โดยนำคำสอนทางศาสนามาเป็นแนวทางในการอนุรักษ์ทรัพยากรป่าชายเลนชุมชนอย่างมีส่วนร่วม
บ้านดงผาปูน
ชุมชนที่มีต้นไม้ใหญ่ ไม้หายาก และสัตว์นานาชนิด ประชาชนมีกฎระเบียบในการดำเนินป่าชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นต้นแบบของชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
บ้านแม่กองคา
ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอบนพื้นที่สูงท่ามกลางธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ กับวิถีวัฒนธรรมอันเป็นเอกลักษณ์
และภูมิปัญญาการจัดการทรัพยากรท้องถิ่นเพื่อการอนุรักษ์อย่างยั่งยืน
บ้านภูฟ้า
ชุมชนบ้านภูฟ้าเป็นชุมชนมละบริ และใช้ภาษามละบริซึ่งถือเป็นอัตลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ในการสื่อสารระหว่างกัน และมีวิถีการแบ่งปันซึ่งกันและกัน
บ้านห้วยลู่
การพัฒนาพื้นที่ห้วยลู่ใหม่เพื่อรองรับชาวมละบริจากพื้นที่อื่น จนสามารถทำนาได้ มีระบบน้ำเพื่อการเกษตรขนาดใหญ่ มีถนนเข้าหมู่บ้าน และชาวมละบริสามารถทำงานรับจ้างเพื่อเลี้ยงชีพได้