-
ชุมชนเป็นราษฎรอาสา (ร.อ.ส.) จำนวน 50 คน เข้ามาอาศัยในหมู่บ้าน มึการทำเกษตรกรรม ปัจจุบันมีประชากรชาติพันธุ์ลีซูอาศัยอยู่ด้วย
-
ผลิตภัณฑ์ชุมชน การทอเสื่อกก ที่ถูกนำสานทอด้วยความละเมียด มีทั้งลวดลายกาฬสินธ์ุ ลายยโสธร ลายคนแคระ นิยมทำจากต้นกกราชินี
-
2510 คือปีที่บ้านสระปรือถูกตั้งขึ้น ชื่อชุมชนมีที่มาจากการเรียกพืชตระกูลกกชนิดหนึ่ง จาก ต้นผรือ เพี้ยนเสียงกลายเป็น ต้นปรือ ชาวบ้านจึงนำมาตั้งชื่อกระทั่งถึงปัจจุบัน
-
บ้านนาทราย หมู่บ้านที่ได้รับคัดเลือกเป็นชุมชนที่มีวัฒนธรรมเข้มแข็งจากความพยายามในการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณีของบรรพบุรุษชาวล้านช้างที่สร้างไว้ให้ลูกหลาน สะท้อนผ่านการประกอบพิธีกรรมและดังที่ปรากฏเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังและสถาปัตยกรรมโบราณภายในวัดนาทราย
-
ชุมชนที่มีวัฒนธรรมส่วนใหญ่คล้ายกับทางภาคอีสาน อาทิ พิธีการแต่งงาน การทำพิธีบายศรีสู่ขวัญโดยพ่อหมอของหมู่บ้าน
-
เดิมเป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติไม้เบญจพรรณ แยกออกจากบ้านนาตะกรุด สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นราบ บางส่วนเป็นที่ราบสูงและที่ราบลุ่ม ชาวบ้านมักประกอบอาชีพเกษตรกรรม
-
ชาวบ้านส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ ที่ยังคงสืบสานวัฒนธรรมประเพณีอย่างการลงแขกเกี่ยวข้าวและประเพณีสงกรานต์ไว้เป็นอย่างดี
-
ผู้คนยังคงยึดอาชีพทำนา ทำไร่ การแสดงออกทางวัฒนธรรรมจึงอิงอยู่กับวิถีชีวิต อย่างประเพณีการลงแขกเกี่ยวข้าว สีข้าว และการเอาแรงงานบุญต่าง ๆ
-
บ้านท่าไม้ทอง หมู่บ้านที่แยกออกมาจากบ้านนาตะกรุด ตั้งอยู่เลียบริมแม่น้ำป่าสัก วิถีชีวิตและอาชีพอยู่ในภาคเกษตรกรรม
-
สายธารของแม่น้ำสายใหญ่ที่แยกออกมาเป็นแควแม่น้ำป่าสัก จึงเป็นที่มาของชื่อหมู่บ้านแห่งนี้ นามว่า "บ้านแควป่าสัก"
-
หมู่บ้านที่แยกตัวออกมาจากบ้านนาตะกรุด หมู่ 1 ลักษณะเป็นพื้นที่ราบสลับกับเนินเขา อยู่ห่างจากอำเภอศรีเทพไม่มากนัก
-
ชุมชนชาติพันธุ์ มีวัฒนธรรมถิ่นให้ได้ศึกษาเรียนรู้ ได้รับการส่งเสริมให้ปลูกกาแฟ อะโวคาโด แมคคาเดเมีย ลูกพลับ และเกาลัดเพื่อการดำรงชีพ ซึ่งอยู่ใกล้กับอุทยานภูหินร่องกล้าที่สามารถส่งเสริมการท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมได้