อัมพวา
ชุมชนอัมพวามีสภาพแวดล้อมที่เป็นเอกลักษณ์ โดยมีคลองธรรมชาติที่ตัดเชื่อมกับแม่น้ำแม่กลองทั้งสองด้าน ริมฝั่งคลองมีสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์
บางจะเกร็ง
ชุมชนบางจะเกร็งเป็นชุมชนเกษตรกรรมบริเวณรอยต่อระหว่างตำบลบางจะเกร็งและตำบลแม่กลอง โดยมีลำคลองบางจะเกร็งเป็นแนวเขตระหว่าง 2 ตำบล
บ้านแหลมใหญ่
ชุมชนบริเวณแหลมใหญ่เป็นชุมชนที่มีผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์ทั้งไทย จีน และมอญ ที่มีการตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนมานับ 100 ปี
ตลาดน้ำท่าคา
ตลาดน้ำท่าคาที่ยังคงรักษาไว้ได้อย่างดี คือ การกําหนดเวลาของการมีตลาดน้ำที่เรียกว่า
“นัด” หรือการกำหนดวันค้าขายจากน้ำขึ้นน้ำลง โดยในหนึ่งเดือนจะมีนัดอยู่ 6 ครั้ง
ได้แก่ วัขึ้น 2 ค่ำ ขึ้น 7 ค่ำ ขึ้น 12 ค่ำ แรม 2 ค่ำ แรม 7 ค่ำ และแรม 12 ค่ำ
บ้านเขายี่สาร
ชุมชนเก่าแก่ที่มีอายุกว่า 800 ปี ที่มีกายภาพโดดเด่นอย่างการมีป่าชายเลนและลำคลองหลายสายรอบชุมชน อันส่งผลให้มีวิถีชีวิตที่เป็นเอกลักษณ์หลายประการ โดยเฉพาะวิถีชีวิตทางเศรษฐกิจ เช่น การทำถ่านไม้โกงกาง การจับสัตว์น้ำ ทั้งนี้ภายในชุมชนยี่สารยังมีสิ่งก่อสร้างและสถานที่ต่าง ๆ ที่สำคัญ เช่น วัดเขายี่สาร ที่มีร่องรอยของศิลปะมาตั้งแต่ในสมัยอยุธยา ศาลพ่อปู่ศรีราชามีความที่ศักดิ์สิทธิ์ พิพิธภัณฑ์ท้องถิ่นเขายี่สารที่เก็บรวบรวมสิ่งของโบราณของชุมชน
เมืองเก่าแม่กลอง
ชุมชนย่านตลาดการค้าบริเวณฝั่งตะวันออกของแม่น้ำแม่กลอง ตั้งแต่สถานีรถไฟแม่กลองต่อเนื่องถึงตลาดร่มหุบ วัดเพชรสมุทร ถนนเพชรสมุทรและถนนเกษมสุข ลักษณะส่วนใหญ่เป็นตึกแถว ในอดีตเรียกว่า “แขวงบางช้าง” ต่อมาสมัยกรุงธนบุรีได้แยกออกจากจังหวัดราชบุรีเรียกว่า "เมืองแม่กลอง"" และเปลี่ยนชื่อเป็นสมุทรสงคราม ปัจจุบันพัฒนาเป็นย่านพาณิชยกรรมและเป็นที่ตั้งของสถานที่สำคัญทางราชการ ศาสนาและแหล่งการค้าที่สำคัญของจังหวัด
ริมน้ำแม่กลอง
เป็นชุมชนประมงริมแม่น้ำตรงปากน้ำแม่น้ำแม่กลองก่อนไหลออกสู่ทะเลอ่าวไทย มีลักษณะเป็นที่ราบลุ่มและป่าชายเลนบริเวณชายฝั่งทะเลอ่าวไทย ที่มีความอุดมสมบูรณ์ทางทรัพยากรธรรมชาติสิ่งแวดล้อมและเป็นแหล่งอาหารทะเลที่สำคัญ โดยมีการทำการประมงน้ำกร่อยและประมงชายฝั่งทะเล มีบ้านเรือนและร้านค้าอยู่หนาแน่นในบริเวณตะวันตกของถนนราษฎร์ประสิทธิ์และตะวันออกของถนนแหลมใหญ่ และมีสะพานแม่กลองเป็นสะพานสำคัญที่เชื่อมพื้นที่ระหว่างสองฝั่งของแม่น้ำแม่กลอง
นาเกลือบางแก้ว
ภูมิทัศน์ทางวัฒนธรรมของพื้นที่ส่งผลให้ชุมชนที่อาศัยอยู่บริเวณนี้ประกอบอาชีพทำนาเกลือ และนากุ้ง รวมทั้งยังมีสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นที่สอดคล้องกับการประกอบอาชีพ
ริมแควอ้อม
สภาพแวดล้อมนเป็นลักษณะเฉพาะที่มีความโดดเด่น
ส่งผลให้วิถีการดำเนินชีวิตและการตั้งถิ่นฐานของผู้คนในชุมชน
มีความผูกพันกับสายน้ำอย่างใกล้ชิด มีการตั้งบ้านเรือนตามแนวยาว
ขนานกับแม่น้ำหรือลำคลอง และปลูกสร้างบ้านเรือนไว้ริมน้ำ การทำสวนยกร่อง เป็นเมืองสามน้ำ
ริมคลองบางนกแควก
ชุมชนริมคลองบางนกแขวกเป็นชุมชนเก่าแก่ที่มีลักษณะของบ้านเรือนตั้งอยู่ริมน้ำ โดยภายในชุมชนแห่งนี้มีทั้งชาวคริสต์และชาวพุทธอาศัยอยู่ร่วมกันอย่างยาวนาน ทำให้ภายในชุมชนจึงมีสถานที่ทางศาสนาทั้งอาสนวิหารพระแม่บังเกิดของศาสนาคริสต์และวัดเจริญสุขารามวรวิหารของศาสนาพุทธตั้งอยู่ไม่ไกลกันนัก ซึ่งทั้งสองสถานที่นี้ค่อนข้างมีความสวยงาม