ตลาดบางเขน
ชุมชนตลาดบางเขนเป็นชุมชนที่มีอายุมากว่า 100 ปี โดยภายในชุมชนจะมีตลาดและสถานที่เก่าแก่ที่คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์รักษาไว้จนถึงปัจจุบัน ทั้งนี้ภายในชุมชนยังมีแหล่งประดิษฐ์งานศิลปะหัวโขนที่สำคัญชื่อว่า บ้านช่างหัวโขน ซึ่งสถานที่นี้มีการผลิตและทำหัวโขนโดยลุงถนอมมากว่า 50 ปี
ตะเคียนเตี้ย
เป็นชุมชนผืนสุดท้ายในภาคตะวันออกที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือการทำสวนมะพร้าว ทำให้ภายในชุมชนแห่งนี้มักดำรงไปด้วยสวนมะพร้าวของชาวบ้านจำนวนมาก ทั้งนี้ด้วยชาวบ้านและภาครัฐได้พัฒนาชุมชนแห่งนี้มีการท่องเที่ยวเกิดขึ้น ทำให้ชุมชนแห่งนี้จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางวิถีชีวิตที่สำคัญแห่งหนึ่งของพัทยา
ตลาดเก่าหนองจอก
ตลาดเก่าหนองจอก ตั้งอยู่ในทำเลที่เหมาะแก่การค้าขาย เนื่องจากบริเวณนี้เป็นจุดตัดกันของลำคลองหลายสาย อาทิ คลองแสนแสบ เป็นต้น ส่งผลให้พื้นที่นี้กลายเป็นศูนย์กลางชุมชน เป็นสถานที่พบปะ แลกเปลี่ยน ซื้อสินค้าและบริการต่าง ๆ
บ้านหนองแวง
ชุมชนบ้านหนองแวงเดิมเป็นเพียงพื้นที่ชุมชนธรรมดา แต่อยู่ติดกับพื้นที่ราชพัสดุ จากการสร้างศูนย์ราชการจังหวัดมหาสารคาม ซึ่งเป็นแหล่งรวมของหน่วยงานราชการทั้งหมด ทำให้บ้านหนองแวงได้รับการพัฒนาอย่างต่อเนื่อง
บ้านเกาะโหลน
ชุมชนบ้านเกาะโหลน มีความโดดเด่นด้านการท่องเที่ยววิถีชุมชนประมง ซึ่งเป็นการจัดการท่องเที่ยวที่สอดคล้องกับวิถีชีวิตของสมาชิกในชุมชน
ดังคำขวัญ อาหารสด ทะเลใส ราไวย์ ราโว้ย โวยวาย เกาะโหลน
บ้านหนองเขียว
ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ลาหู่ ทั้งลาหู่ดำและลาหู่แดง ล้วนนับถือศาสนาคริสต์ ซึ่งหมู่บ้านตั้งอยู่ในพื้นที่ศูนย์พัฒนาโครงการหลวงหนองเขียว
ตลาดเขต
เป็นชุมชนศูนย์รวมการค้าขนาดใหญ่ มีชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นกลุ่มแรกได้ยกเคลื่อนย้ายมาตั้งถิ่นฐานประกอบอาชีพทำไร่ตามวิถีชีวิตแบบชนบทและได้ก่อตั้งเป็นตลาดค้าขาย เป็นตลาดที่มีรูปแบบเป็นตึกแถวเป็นสถาปัตยกรรมที่มีเอกลักษณ์ของชุมชน
บ้านเขาราวเทียนทอง
ชุมชนเขาราวเทียนทองได้ตระหนักถึงคุณค่าและความสำคัญจากการมีอยู่ของทรัพยากรธรรมชาติ
จึงมีการก่อตั้งกลุ่มป่าชุมชนบ้านเขาราวเทียนทอง และกำหนดพื้นที่ป่าชุมชนเป็นเส้นทางศึกษาธรรมชาติป่าเขาราวเทียนเพื่อบริหารจัดการทรัพยากรในชุมชนให้คงอยู่ได้อย่างยั่งยืน
บ้านเมืองบัว
ชุมชนโบราณในสมัยก่อนประวัติศาสตร์ตอนปลายหรือยุคโลหะตอนปลาย มีโบราณสถานในวัฒนธรรมเขมร(กู่เมืองบัว) สิมหรืออุโบสถในวัฒนธรรมลาว มีความเชื่อเรื่องผีที่เป็นที่ยึดเหนี่ยวจิตใจของคนในชุมชนและข้าวหอมมะลิทุ่งกุลาร้องไห้