วัดเขากระโดน
หมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียงอยู่เย็นเป็นสุข ปี 2551 ชุมชนแห่งการเรียนรู้และพัฒนาอาชีพจากการแปลงประยุกต์วัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นสู่การสร้างรายได้
ภายใต้การสนับสนุนของศูนย์การเรียนรู้ชุมชนเฉลิมพระเกียรติวัดเขากะโดน
บ้านควนยูง
บ้านควนยูงมีพื้นที่ป่าชุมชนขนาดใหญ่กว่า 52 ไร่
สถานที่ซึ่งเปรียบเสมือนลมหายใจของลูกหลานชาวควนยูง
บ้านหย่วน
ศูนย์วัฒนธรรมไทลื้อวัดหย่วน
แหล่งถ่ายทอดบอกเล่าเรื่องราวประวัติศาสตร์ อารยธรรม
และวัฒนธรรมไทลื้อผู้สืบเชื้อสายจากดินแดนสิบสองปันนา
บ้านดอนหัน
หนองเรือตระการ จักสานไม้ไผ่ ไก่ย่างทางพาด
ตลาดกะหล่ำ เลิศล้ำเพชรพลอยเจียระไน พระใหญ่ภูเม็งทอง
บ้านไร่
ชุมชนบ้านไร่ เป็นหนึ่งในชุมชนชาติพันธุ์ของชาว “ญัฮกุร” ที่ยังคงแสดงออกซึ่งอัตลักษณ์ เช่น การใช้ภาษาญัฮกุร วัฒนธรรมการกิน การใส่เสื้อพ้อก และการทำสวนสมุนไพร อีกทั้งบ้านไร่ยังเป็นชุมชนที่ได้รับความสนใจเข้ามาศึกษาจากนักวิชาการหลายทศวรรษ ความรู้ทางวิชาการและความเข้มแข็งของชุมชนก่อให้เกิด “กลุ่มเยาวชน” ที่คอยหล่อเลี้ยงอัตลักษณ์ญัฮกุรให้ยังคงอยู่
สมาคมคนทาม
'สมาคมคนทาม' เครือข่ายชุมชนที่เกิดจากการรวมตัวของภาคประชาชนซึ่งได้รับผลกระทบจากโครงการพัฒนาของรัฐ คือ โครงการโขง ชี มูน โครงการผันน้ำขนาดใหญ่ของรัฐเพื่อแก้ปัญหาการขาดแคลนน้ำในภาคอีสาน โดยดำเนินงานภายใต้แนวคิดสามก้อนเส้า ได้แก่ สมาคมคนทาม ในฐานะองค์กรเครือข่ายเพื่อฟื้นฟูและพัฒนาคุณภาพชีวิตวิถีชุมชน เศรษฐกิจและทรัพยากรธรรมชาติ, กองทุนสวัสดิการ และศูนย์การเรียนรู้เศรษฐกิจพอเพียงเครือข่ายทามมูน
บ้านในสอย
วิถีชุมชนชาติพันธุ์กะยัน หรือในนามที่คนทั่วไปเรียกว่ากะเหรี่ยงคอยาว ทรัพยากรชีวภาพที่มีในชุมชนตามธรรมชาติ การปลูกพืชแบบผสมผสาน ปลอดสารพิษ และมันญี่ปุ่น พืชสำคัญที่สร้างรายได้ให้กับชุมชน
บ้านเปียงกอก
บ้านเปียงกอก ตั้งอยู่ในพื้นที่อำเภอฝาง ซึ่งเป็นอำเภอขนาดใหญ่ มีประชากรมากเป็นอันดับ 2 ของเชียงใหม่ เป็นอำเภอศูนย์กลางความเจริญในเขตเชียงใหม่ตอนบน
ทั้งยังเป็นพื้นที่ศึกษาของโครงการศึกษาวิจัยและพัฒนาเกษตรกรรมบนพื้นที่สูงของมูลนิธิชัยพัฒนาอีกด้วย