บ้านโคกสลุง
บ้านโคกสลุงเป็นชุมชนที่ยังคงรักษากลิ่นไอแห่งวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทเบิ้งไว้อย่างเข้มข้น
ชาวบ้านมีความตระหนัก และพยายามที่จะฟื้นฟูวัฒนธรรมไทเบิ้งที่เริ่มสูญหายขึ้นมาใหม่
โดยการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทเบิ้งโคกสลุง เพื่ออนุรักษ์และถ่ายทอดประเพณี
และวัฒนธรรมของชาวไทเบิ้งบ้านโคกสลุงให้คงอยู่ได้ภายใต้วิถีชีวิตที่ผูกผันตามพลวัตของสังคม
บ้านมะนาวหวาน
ที่ตั้งของบ้านมะนาวหวานสามารถมองเห็นทัศนียภาพที่งดงามของภูเขาน้อยใหญ่และเขื่อนป่าสักชลสิทธิ์ รวมถึงภาพสะท้อนวิถีชีวิตริมเขื่อนของชาวบ้านมะนาวหวานกับการดำรงอยู่โดยการพึ่งพาอาศัยธรรมชาติ
ตลาดล่าง
ชุมชนโบราณที่ตั้งอยู่บนจุดยุทธศาสตร์การค้าที่ดีของลพบุรี ผ่านเรื่องราวประวัติศาสตร์ของการตั้งถิ่นฐานผู้คน มีสถาปัตยกรรมการสร้างอาคารบ้านเรือนที่เป็นเอกลักษณ์ วิถีชีวิต รวมไปถึงวัฒนธรรมท้องถิ่น
บ้านเทอดไทย
ชุมชนที่บุกเบิกโดยหลวงกระปุ่งซึ่งเป็นช่างปั้นหม้อเพื่อหาแหล่งดินที่เหมาะสมสำหรับการปั้นหม้อซึ่งเป็นอาชีพของชาวบ้านตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน
บ้านศรีเทพน้อย
บ้านศรีเทพน้อย ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของอุทยานประวัติศาสตร์ศรีเทพ เป็นชุมชนไทยเบิ้งที่มีความอายุเก่าแก่มากกว่าชุมชนใกล้เคียง
บ้านโคกสระน้อย
ชุมชนไทยเบิ้งบ้านโคกสระน้อย เป็นชุมชนพหุวัฒนธรรมที่มีการผสมผสานระหว่างวัฒนธรรม ประเพณี พิธีกรรม และอัตลักษณ์พื้นถิ่นของชาวลาวเดิมเข้ากับชาวไทยอีสาน และชาวไทยภาคกลาง
บ้านชัยบาดาล
บ้านชัยบาดาล ชุมชนเก่าแก่ที่ปรากฏการตั้งถิ่นฐานของกลุ่มวัฒนธรรมไทเบิ้งมาตั้งแต่สมัยอยุธยา
บ้านนกออก
ภายในวัดบ้านนกออก มีพระอุโบสถหรือสิม อายุกว่า 200 ปี และหอไตรกลางน้ำ ซึ่งสันนิษฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่ช่วงต้นรัตนโกสินทร์
บ้านดีลัง
บ้านสระน้อย
ประติมากรรมงานปั้นพระพุทธชนะมาร ปางมารวิชัยทรงเครื่ององค์ใหญ่ ภายในวัดม่วงสระน้อย สลักโดยฝีมือช่างพื้นบ้าน ตั้งตระหง่านเป็นที่ประจักษ์แก่สายตาผู้คนบริเวณริมลำน้ำคลองพระเพลิง