บ้านน้ำแพะ
บนถนนหมายเลข 1256 ปัว-บ่อเกลือ บ้านน้ำแพะ ชุมชนแห่งนี้ยังคงปรากฏสถาปัตยกรรมพื้นถิ่นเรือนลัวะโบราณ กับการดำรงลักษณะของที่อยู่อาศัยในอดีตที่สามารถประยุกต์รูปทรงผสมผสานให้เหมาะสมกับการใช้สอยในปัจจุบัน และยังคงไว้ซึ่งเอกลักษณ์เฉพาะตัวอันโดดเด่นของลัวะปรัย
บ้านแหลมทอง
ประชากรในชุมชนมาจากหลายพื้นที่ไม่ได้มีลักษณะเป็นชาติพันธุ์เดียวกันและไม่มีความสัมพันธ์ทางเครือญาติ เหมือนกับชุมชนอื่น ๆ ชาวบ้านจึงมีทั้งคนไทย คนไทยเชื้อสายจีน และคนไทยเชื้อสายลาว การตั้งบ้านเรือนจึงตั้งตามกลุ่มที่อพยพเข้ามาโดยมีการตั้งชื่อเป็นคุ้มต่าง ๆ อยู่ด้วยกันอย่างสันติ
บ้านหินแตก
ชาวบรูบ้านหินแตกมีจุดเด่นเรื่องพืชพันธุ์ที่ตนสามารถหาได้จากป่า เช่น หน่อไม้ไร่ เห็ด และอื่น ๆ ออกมาวางขายหน้าบ้านในช่วงเวลาเช้าตรู่
บ้านดงผาปูน
ชุมชนที่มีต้นไม้ใหญ่ ไม้หายาก และสัตว์นานาชนิด ประชาชนมีกฎระเบียบในการดำเนินป่าชุมชนอย่างยั่งยืน เป็นต้นแบบของชุมชนเศรษฐกิจพอเพียง
บ้านปิตุคี
วิถีชีวิตปกากะญอผ่านการสร้างพื้นที่ของตนท่ามกลางธรรมชาติ ด้วยการทำเกษตรกรรมแบบไร่หมุนเวียนเพื่อเศรษฐกิจและการยังชีพ
บ้านเหล่าพัฒนา
ป่าชุมชนบ้านเหล่าพัฒนา เหมืองเก่าถ่านหินลิกไนต์ ฟอสซิลเหมืองเชียงม่วน อายุ 13-15 ล้านปี
อมลานใน
ผ้าทอของกลุ่มชาติพันธุ์กะเหรี่ยงสะกอ หมู่บ้านอมลานใน มีเอกลักษณ์และมีการสืบทอดมาจนถึงปัจจุบัน