คลองสวน
ชุมชนตลาดคลองสวนเป็นชุมชนที่มีประวัติยาวนานกว่าร้อยปี โดยชุมชนนี้ตั้งอยู่บริเวณริมคลองประเวศบุรีรมย์ มีลักษณะเป็นเรือนไม้โบราณแนวยาวขนานไปตามคลอง นอกจากนี้ภายในชุมชนยังมีศาลเจ้าพ่อคลองสวนที่มีอายุกว่าร้อยปีและมีความศักดิ์สิทธิ์เป็นที่นับถือของผู้คนในชุมชน
มอญเจ็ดริ้ว
ชุมชนชาวมอญที่สืบเชื้อสายจากหมู่บ้านกะมาวัก เมืองมะละแหม่ง
ก่อนอพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐาน ก่อร่างสร้างรากฐานวัฒนธรรมประเพณีฝังลึกในตำบลเจ็ดริ้วกว่า
150 ปี
ปากคลองมะขามเฒ่า
เป็นชุมชนริมคลองเก่าเเก่บริเวณปากคลองมะขามเฒ่า โดยมีวัดปากคลองมะขามเฒ่าที่เป็นศูนย์รวมจิตใจของผู้คนในชุมชน
เจริญพาศน์
‘กุฎีเจริญพาศน์’ นับว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่มีความแปลกตาตามรูปแบบอาคารขนมขิงที่ผสมผสานไปกับของศาสนาอิสลามที่เชื่อมสายสัมพันธ์ของชุมชนและศาสนา
บ้านพุองกะ
บ้านพุองกะเป็นชุมชนที่โดดเด่นในการทำเกษตรแบบผสมผสาน ทั้งการทำสวน ปลูกผักและผลไม้ เพราะมีทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์และพุต้นน้ำ มีวัฒนธรรมของหลากหลายเชื้อชาติ รวมถึงมีเส้นทางรถไฟสายประวัติศาสตร์ (ช่องเขาขาด) อยู่ด้านหลังวัดพุตะเคียนอีกด้วย
บ้านป่าพะยอม
ชุมชนโบราณ ต้นกำเนิดตำนานพ่อท่านตาบอด
พระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่ที่สันนิษฐานว่าถูกสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา
บ้านหนองห้าง
ชาวผู้ไทบ้านหนองห้างได้นำเอา "ไผ่" ทรัพยากรธรรมชาติที่มีอยู่มากในชุมชนมาสร้างสรรค์เป็น "เครื่องจักสานไม้ไผ่ลายขิด" ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP ที่มีชื่อเสียง และสร้างรายได้ให้กับชาวผู้ไทบ้านหนองห้าง
บ้านกุดนาขาม
"ศูนย์ศิลปาชีพกุดนาขาม" ก่อตั้งเมื่อปี พ.ศ. 2524 ตามพระราชดำริของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ
เพื่อสร้างอาชีพให้กับชาวบ้าน ไม่ให้อพยพแรงงานไปต่างจังหวัด
ทำให้เกิดรายได้ในหมู่บ้าน ปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวสำคัญอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดสกลนคร
บ้านจะแก
ชุมชนที่ตั้งอยู่ในพื้นที่เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์ป่าทุ่งใหญ่นเรศวรด้านตะวันตกและเขตมรดกโลกทางธรรมชาติ ผืนป่าที่มีความสำคัญทั้งทางกายภาพ ความสมบูรณ์และความหลากหลายของพันธุ์พืช สัตว์ป่า และความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของกลุ่มคน
เพราะนอกจากสิ่งมีชีวิตคือพืชพันธุ์และสัตว์ป่าที่อาศัยอยู่ในผืนป่าแห่งนี้แล้ว
ยังมีผู้คนอาศัยกระจายตัวและอาศัยอยู่ร่วมกับการพึ่งพิงธรรมชาติในผืนป่าทุ่งใหญ่นเรศวรเช่นกัน
บ้านขอบด้ง
บ้านขอบด้ง หมู่บ้านที่ได้รับการส่งเสริมจากสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ให้ปลูกไม้ผลเมืองหนาว อาทิ สตอเบอรี่ บ๊วย ท้อ ถือเป็นอาชีพหลักที่สร้างรายได้ให้กับชาวลาหู่ อีกทั้งยังได้รับการส่งเสริมจากโครงการหัตถกรรมในมูลนิธิของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทำกำไลหญ้าอิบูแค เพื่อจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในหมู่บ้าน