-
บ้านนาค้อใต้ ชุมชนเกษตรกรรมในพื้นที่สามจังหวัดชายแดนภาคใต้ หมู่บ้านที่มีประวัติศาสตร์การตั้งถิ่นฐานมานานกว่า 600 ปี
-
ชุมชนบนสันดอยในเขตป่าสงวนแห่งชาติดอยบ่อ หมู่บ้านที่มีการอนุรักษ์วัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อแบบดั้งเดิม มีการจัดการการท่องเที่ยวแบบโฮมสเตย์ อีกทั้งยังมีกิจกรรมหลากหลายให้นักท่องเที่ยวได้สัมผัส เช่น กางเต็นท์บนจุดชมวิวดอยบ่อทะเลหมอกยามเช้า การสอนทำอุปกรณ์ไม้ไผ่ เรียนรู้วิถีชุมชน และการเดินป่าไปยังน้ำตกโดยไกด์ชาวลาหู่
-
ชุมชนชาวมอญในแถบชานเมืองฝั่งตะวันออกของกรุงเทพฯ เขตลาดกระบัง มีวัดทิพพาวาส เป็นศูนย์กลางของชุมชนซึ่งเป็นวัดมอญเก่าแก่อายุกว่า 100 ปีมีอุโบสถไม้สักทอง และยังรักษาวัฒนธรรมประเพณีมอญ เช่น ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีตักบาตรน้ำผึ้ง ประเพณีตักบาตรพระร้อย ประเพณีการทำบุญกลุ่มเทศน์ ประเพณีการทิ้งบาตร ประเพณีเกี่ยวการบวช ประเพณีเกี่ยวกับความตาย วัฒนธรรมด้านอาหาร เช่นข้าวแช่ แกงกระเจี๊ยบ แกงมะตาด แกงบอน ปลาร้ามอญ ขนมกาละแม ข้าวเหนียวแดง กระยาสารท
-
บ้านบ่อมอญ-บ่อพราหมณ์ เป็นชุมชนที่สืบสานพิธีกรรมงานปีผีมด พิธีกรรมที่สะท้อนระบบความสัมพันธ์ระหว่างเครือญาติภายในชุมชน นอกจากนี้การประกอบพิธีกรรมนำไปสู่การสร้างความมั่นคงทางจิตใจแก่บุคคล สร้างสำนึกความเป็นกลุ่ม สร้างระบบการควบคุมทางสังคม สร้างความร่วมมือและสร้างเครือข่ายให้แก่ชุมชน การสืบสานพิธีกรรมของชุมชน ทำให้ได้รับการขึ้นบัญชีเป็นมรดกภูมิปัญญาทางวัฒนธรรมระดับชาติ ปี พ.ศ. 2566
-
ชุมชนเมืองที่ติดกับแม่น้ำปัตตานี (สวนศรีเมือง) ห้างสรรพสินค้า และตลาดสด (ตลาดพิมลชัย)
-
ชุมชนชาวมุสลิมที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในระยะแรกไม่กี่ครัวเรือนก่อนที่จะมีการพัฒนากรุงเทพทำให้เริ่มมีการอพยพของชาวมุสลิมในตัวเมืองกรุงเทพเข้ามาตั้งถิ่นฐานอยู่ในบริเวณนี้จนกลายเป็นชุมชนชาวมุสลิมขนาดใหญ่
-
ชุมชนชายแดนระหว่างไทยและกัมพูชาที่มีความสำคัญทางเศรษฐกิจ เนื่องจากเป็นแหล่งค้าขายสินค้าเสื้อผ้ามือสองและสินค้าอื่น ๆ จากกัมพูชา
-
ชุมชนที่มีระบบคมนาคมสะดวก ทั้งถนนสายหลักซอยย่อย เข้าถึงระบบขนส่งสาธารณะได้ง่าย มีเอกลักษณ์ด้านวัฒนธรรมประเพณี ชาวบ้านยังคงอนุรักษ์ประเพณีดั้งเดิมและภูมิปัญญาท้องถิ่น ไม่ว่าจะเป็นกิจกรรมทางศาสนา การผลิตสินค้าจากใบเตย งานหัตถกรรม และการทำขนมไทยแบบดั้งเดิม เช่น ขนมชั้น ขนมตะโก้ และขนมทองหยิบ และที่สำคัญชุมชนพูนบำเพ็ญยังเป็นชุมชนที่มีการส่งเสริมการท่องเที่ยวในชุมชน ได้แก่ การเยี่ยมชมวัด การล่องเรือชมคลอง และการเรียนรู้วัฒนธรรมท้องถิ่น
-
ป่าโคกสำคัญของคนท้องถิ่นและมีการเปลี่ยนแปลงหลังการเข้ามาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม