-
ชุมชนเมืองเก่าสงขลาเป็นพื้นที่เก่าแก่ที่มีอายุกว่า 200 ปี ภายในชุมชนมีสิ่งก่อสร้างอาคารบ้านเรือนเก่าแก่ที่มีหลากหลายรูปแบบของสถาปัตยกรรมอันเป็นเอกลักษณ์ของพื้นที่ ทั้งรูปแบบอาคารตึกแถวแบบจีน แบบไทยและแบบตะวันตกปะปนสองข้างถนนภายในชุมชน จุดนี้แสดงให้เห็นถึงการเข้ามาของหลากหลายวัฒนธรรมภายในเมืองเก่าสงขลา ทั้งนี้ปัจจุบันจึงสามารถสัมผัสกลิ่นอายประวัติศาสตร์ความเป็นพหุวัฒนธรรมในอดีตของเมืองสงขลาได้ในพื้นที่นี้
-
ชุมชนโบราณในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีร่องรอยของความเป็นเมืองท่าและยังคงสืบทอดการทำเครื่องปั้นดินเผาแบบโบราณ
-
ถนนนครนอก เป็นถนนที่ติดกับฝั่งทะเลสาป ในอดีตบริเวณนี้เป็นท่าเทียบเรือเพื่อการค้าและขนส่งสินค้าจากต่างประเทศ ดูได้จากการมีโรงสีข้าวขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันที่แห่งนี้ได้ชื่อว่า หับ โห้ หิ้น หรือที่ชาวสงขลาเรียกกันว่า โรงสีแดง โรงสีข้าวแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณริมทะเลสาปสงขลา มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับพื้นที่เพาะปลูกข้าว แต่ในปัจจุบันได้ยกเลิกกิจการไปแล้ว เพราะเกิดจากสภาพแวดล้อม สังคม เทคโนโลยี ที่มีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สถานที่แห่งนี้ได้กลายมาเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้คนที่มาเยี่ยมชมที่นี่ เพื่อจะได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาและวัฒนธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต จนถึงปัจจุบัน
-
ชุมชนลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา หนึ่งในพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์มากที่สุดแห่งหนึ่งในภาคใต้ หมู่บ้านที่ประชากรมากกว่าครึ่งหมู่บ้านประกอบอาชีพทำสวนยางพาราซึ่งนำไปสู่การกำหนดวิถีการดำเนินชีวิตอย่างเป็นระบบระหว่างช่วงเวลาการผลิตในสวนยางพารากับวัฒนธรรมท้องถิ่น จนกลายเป็น “ปฏิทินวิถีชีวิตชาวสวนยาง”
-
ไทย-จังโหลน ชุมชนแหล่งท่องเที่ยวทางสถานบันเทิงและสถานบริการที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในพื้นที่เขตพรมแดนระหว่างประเทศไทย-มาเลเซีย