บ้านรักไทย
หมู่บ้านไทยสไตล์จีนยูนนาน ดินแดนในฝันของเหล่านักเดินทาง จากความพยายามหลายสิบปีในการนำเอาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมและวิถีชีวิตของชาวจีนยูนนาน หรือจีนฮ่อมานำเสนอ ถ่ายทอดผ่านการปรับเปลี่ยนหมู่บ้านรกร้างในอดีตให้กลายเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศที่มีชื่อเสียงของจังหวัดแม่ฮ่องสอน
ม้งดอยปุย
ชุมชนชาติพันธุ์ม้งบ้านดอยปุย ชุมชนสถานที่ท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรม และชูภาพลักษณ์ของกลุ่มชาติพันธุ์ม้ง ทั้งวัฒนธรรม ประเพณี และวิถีการดำรงชีวิต เพื่อเป็นจุดขายดึงดูดนักท่องเที่ยวให้มาเยือนหมู่บ้านดอยปุย
บ้านแม่กำปอง
จากหมู่บ้านที่เคยหลับใหล
สู่การพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ท่ามกลางหุบเขาและธรรมชาติยอดนิยมของจังหวัดเชียงใหม่
โดยใช้ทรัพยากรในท้องถิ่นเป็นฐาน เน้นย้ำความสำคัญ เปิดโอกาสให้คนในชุมชนได้ควบคุมการพัฒนาด้วยตนเอง
บ้านคลิตี้ล่าง
บ้านคลิตี้ล่าง เป็นหมู่บ้านที่มีการปฏิบัติสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงอย่างต่อเนื่อง
แม้ตกอยู่ภายใต้สภาวะปัญหาปนเปื้อนของลำห้วยคลิตี้ อันเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงวิถีชีวิตของชาวคลิตี้ล่างไป
ท่าวัง
“สตรีตฟูดห้าดาว ไชนาทาวน์เมืองคอน” ย่านการค้าเก่าแก่ใจกลางเมืองนครศรีธรรมราชที่มีการลงทุนเปิดกิจการต่าง ๆ
กันอย่างคึกคัก ถึงแม้นครศรีธรรมราชจะมีการขยายขอบเขตความเจริญออกไปยังพื้นที่อื่น
ๆ แต่ท่าวัง ก็ยังคงเป็นแหล่งชุมนุมของผู้คนที่เดินทางมาจับจ่ายใช้สอยอยู่ไม่ขาดสาย
บ้านดอยช้าง
หมู่บ้านดอยช้างมีวิสาหกิจชุมชนในการแปรรูปผลิตภัณฑ์เลื่องชื่อ คือ กาแฟดอยช้าง จำหน่ายส่งออกไปยังต่างประเทศ
ปัจจุบันกาแฟดอยช้างได้ชื่อว่าเป็นการดำเนินงานในรูปแบบธุรกิจเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง
ตลาดพลู
ชุมชนริมน้ำเก่าแก่ที่โด่งดังมาตั้งแต่สมัยธนบุรี
ในฐานะที่เป็นแหล่งเพาะปลูกพลูที่ใหญ่และมีรสชาติดีที่สุด สู่พลวัตการปรับเปลี่ยนเป็นแหล่งสตรีตฟูดและซื้อขายสินค้าไหว้เจ้าของชาวไทยเชื้อสายจีน
จนได้ชื่อว่าเป็น “ไชนาทาวน์ฝั่งธนฯ” แห่งเกาะรัตนโกสินทร์
บ้านอีต่อง
เกาะยอ
เกาะขนาดเล็กอันเงียบสงบกลางทะเลสาบสงขลา
แหล่งถ่ายทอดวิถีชีวิตอันเรียบง่ายของชาวประมง มีโฮมสเตย์ของชาวบ้านให้ได้พักผ่อน
มีกระชังที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทยปลาเรียงรายกลางทะเลสาบ แหล่งผ้าทองามแห่งเมืองสงขลา
บ้านโคกสลุง
บ้านโคกสลุงเป็นชุมชนที่ยังคงรักษากลิ่นไอแห่งวัฒนธรรมดั้งเดิมของไทเบิ้งไว้อย่างเข้มข้น
ชาวบ้านมีความตระหนัก และพยายามที่จะฟื้นฟูวัฒนธรรมไทเบิ้งที่เริ่มสูญหายขึ้นมาใหม่
โดยการจัดตั้งพิพิธภัณฑ์พื้นบ้านไทเบิ้งโคกสลุง เพื่ออนุรักษ์และถ่ายทอดประเพณี
และวัฒนธรรมของชาวไทเบิ้งบ้านโคกสลุงให้คงอยู่ได้ภายใต้วิถีชีวิตที่ผูกผันตามพลวัตของสังคม