-
ชุมชนริมน้ำมูล ชุมชนที่มีทุนทางสังคมเป็นทรัพยากรทางธรรมชาติ หาสัตว์น้ำเพื่อการยังชีพ สู่อาชีพเลี้ยงปลาในกระชัง
-
ชุมชนที่ตั้งอยู่ในเขตป่าสงวนแห่งชาติ ป่าแม่ลาน-แม่กาง ถูกจัดตั้งเป็นหมู่บ้านอาสาสมัครและป้องกันตนเอง (อพป.) เมื่อปี พ.ศ. 2528 และได้รับการสนับสนุนส่งเสริมรายได้ด้วยการรวมกลุ่มทอผ้า
-
ชุมชนชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ที่มีวิถีพึ่งพิงแหล่งน้ำธรรมชาติ ทั้งใช้ในครัวเรือนและเกษตรกรรม จากลำห้วยหลายสายรวมกันเป็น ลำน้ำห้วยหยวก ไหลผ่านหมู่บ้านตลอดทั้งปี
-
หมู่บ้านวิถีกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ที่สอดแทรกอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอย่าง ถ้ำแสงเพชร หินงอกหินย้อยส่องประกายแสงระยิบระยับ ทั้งยังมีผลิตภัณฑ์ในชุมชน ผ้าทอ เครื่องจักสาน ไม้กวาดคุณภาพดี ที่รออวดโฉมต่อสายตาผู้ชมและผู้มาเยี่ยมเยือน
-
หมู่บ้านที่แยกตัวออกมาจากบ้านบุเปือย เป็นที่ราบสูงสลับกับเนินเตี้ย สภาพดินเป็นดินแดงภูเขาไฟ เหมาะแก่การปลูกพืชทุกชนิด ส่วนวัฒนธรรมในระยะแรกได้รับอิทธิพลจากชาวกูย ก่อนภายหลังได้รับอิทธิพลจากชาวไทยเชื้อสายลาวเข้ามาผสมผสาน และได้กลายเป็นวัฒนธรรมหลักของชุมชนในที่สุด
-
หมู่บ้านที่มีบึงน้ำเป็นแนวยาวตลอดทางทิศตะวันออกของหมู่บ้าน อีกทั้งมีวัฒนธรรมท้องถิ่นที่ผสมผสานระหว่างวัฒนธรรมภาคอีสานและภาคกลาง อาทิ การบวงสรวงดวงวิญญาณเจ้าพ่อศรีเทพ งานบุญผะเหวด
-
เกษตรปลอดสารพิษ หมู่บ้านปลอดยาเสพติด เศรษฐกิจก้าวหน้า เน้นการศึกษา พัฒนาสังคม คมนาคมสะดวก
-
ผลิตภัณฑ์ชุมชน การทอเสื่อกก ที่ถูกนำสานทอด้วยความละเมียด มีทั้งลวดลายกาฬสินธ์ุ ลายยโสธร ลายคนแคระ นิยมทำจากต้นกกราชินี
-
2510 คือปีที่บ้านสระปรือถูกตั้งขึ้น ชื่อชุมชนมีที่มาจากการเรียกพืชตระกูลกกชนิดหนึ่ง จาก ต้นผรือ เพี้ยนเสียงกลายเป็น ต้นปรือ ชาวบ้านจึงนำมาตั้งชื่อกระทั่งถึงปัจจุบัน
-
ชุมชนชาติพันธุ์ลาวครั่งที่มี วัดทุ่งผักกูด เป็นอนุสรณ์ให้ลูกหลานไว้ยึดเหนี่ยวจิตใจ ด้วยสถาปัตยกรรมอาคารไม้อายุกว่าร้อยปี อีกทั้งมีพิพิธภัณฑ์ลาวครั่งทุ่งผักกูด ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดเป็นแหล่งเรียนรู้ จัดแสดงนิทรรศการทั้งทางด้านประวัติศาสตร์ชาติพันธุ์ ประวัติศาสตร์ท้องถิ่น วัฒนธรรม ความเชื่อ รวมถึงข้าวของครื่องใช้ที่จัดแสดงอยู่ภายในพิพิธภัณฑ์ร่วมกว่า 500 ชิ้น
-
ชุมชนที่มีวัฒนธรรมส่วนใหญ่คล้ายกับทางภาคอีสาน อาทิ พิธีการแต่งงาน การทำพิธีบายศรีสู่ขวัญโดยพ่อหมอของหมู่บ้าน
-
เดิมเป็นพื้นที่ป่าธรรมชาติไม้เบญจพรรณ แยกออกจากบ้านนาตะกรุด สภาพพื้นที่ส่วนใหญ่เป็นพื้นราบ บางส่วนเป็นที่ราบสูงและที่ราบลุ่ม ชาวบ้านมักประกอบอาชีพเกษตรกรรม