บ้านห้วยหินลาดใน
หมู่บ้านห้วยหินลาดในเป็นหมู่บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ
ที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก หมู่บ้านโดยรอบ
ๆ ถูกปกคลุมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศที่มีความหลากหลาย มีวิถีชีวิตที่ต้องพึ่งพิงอาศัยป่าเป็นหลัก การเป็นอยู่ของชาวบ้านมีวัฒนธรรมประเพณี ระบบความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน
โดยการสืบสานผ่านการใช้ชีวิตประจําวันที่ยังคงอยู่ในปัจจุบัน
บ้านแม่กลางหลวง
การทำนาขั้นบันได วิถีชีวิตของชาวไทใหญ่ มีการจัดการการท่องเที่ยวเชิงนิเวศโดยชุมชน
บ้านพระบาทห้วยต้ม
กราบไหว้ครูบาเจ้าชัยยะวงศา บูชาองค์พระธาตุเจดีย์ศรีเวียงชัย และมีผ้าลายกะเหรี่ยงโบราณ
บ้านโป่งน้ำร้อน
บ้านโป่งน้ำร้อนอยู่ท่ามกลางขุนเขา น้ำตก และบ่อน้ำแร่ร้อน จึงดึงดูดนักท่องเที่ยวได้ดี ชาวบ้านส่วนใหญ่เป็นชนเผ่าปกาเกอะญอ ที่อาศัยอยู่กับป่าอย่างเรียบง่าย ขณะเดียวกันมีต้นทุนทางทรัพยากรธรรมชาติที่อุดมสมบูรณ์ มีอาหารจากธรรมชาติปลอดสารพิษ และวัฒธรรมวิถีชีวิตแบบชาวปกาเกอะญอ รวมถึงผลิตภัณฑ์ชุมชนที่พัฒนาจากวิถีชีวิตของชาวบ้าน เช่น การทอผ้าย้อมสีธรรมชาติ งานจักสานจากไม้ไผ่ และกล้วยกรอบน้ำแร่
บ้านแม่ส้าน
บ้านแม้ส้านมีความโดดเด่นจากอัตลักษณ์ของชุมชนและความสามารถของชุมชนที่สร้างการอยู่ร่วมกันระหว่างคนกับธรรมชาติได้สมบูรณ์ โดยไม่ทำลายวิถีชีวิตดั้งเดิมของตนเอง
บ้านแม่หอย
บ้านแม่หอย
ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ หรือชาวกะเหรี่ยงสะกอ ชุมชนบนพื้นที่เนินสูงกลางหุบเขาที่มีทรัพยากรป่าไม่อุดมสมบูรณ์
เป็นแหล่งชีวิตของชุมชน และการเปลี่ยนแปลงทางความเชื่อท้องถิ่น
บ้านขุนแตะ
ผืนป่าชุมชนมีสภาพเป็นป่าดิบชื้นอุดมสมบูรณ์ ป่าต้นน้ำเป็นพื้นที่อนุรักษ์ใช้ประโยชน์ดูดซับน้ำสำหรับใช้ในการอุปโภคบริโภคและเกษตร ชุมชนนิยมปลูกข้าวพันธุ์ บือพะโด๊ะ บือโพ ปลูกพืชเศรษฐกิจ เช่น กะหล่ำปลี ซูคีนี่ ถั่วลิสง ถั่วพูและพืชพื้นถิ่นอื่น ๆ ตามปลายไร่นา
บ้านขุนแม่หยอด
ชุมชนปกาเกอะญอที่อาศัยพึ่งพิงธรรมชาติ มีวิถีชีวิตการทำไร่หมุนเวียน เอกลักษณ์ทางชาติพันธุ์เฉพาะตน