-
บ้านพานถม ย่านบางขุนพรหม ปรากฏคำบอกเล่าว่า เป็นบ้านช่างฝีมือที่ประกอบอาชีพทำเครื่องถมประเภทขันน้ำและพานรองเป็นหลัก แต่ไม่มีหลักฐานบันทึกไว้แน่นอนว่าเกิดขึ้นเมื่อใด เครื่องถมของชุมชนนี้ได้รับเอารูปแบบมาจากกลุ่มคนที่อพยพมาจากเมืองนครศรีธรรมราช จึงเรียกกันทั่วไปว่า “ถมนคร” ปัจจุบันไม่หลงเหลืออยู่แล้ว
-
มัสยิดดิลฟัลลาห์ หรือกุฎีนอก หรือกุฎีปลายนา กะดีแห่งสุดท้ายของแขกเจ้าเซ็น เนื่องจากเป็นกะดีแห่งสุดท้ายที่เกิดขึ้นในสังคมธนบุรี ปัจจุบันตั้งอยู่บนแนวถนนอิสรภาพ ฝังธนบุรี เช่นเดียวกับกะดีอื่นในพื้นที่ชุมชนไทยชีอะห์อิชนาอะชะรี (สามกะดี-สี่สุเหร่า)
-
ย่านคลองสาน มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ในการเป็นย่านที่มีพัฒนาการด้านเศรษฐกิจ การเมือง สังคมและวัฒนธรรมที่สำคัญทั้งต่อฝั่งธนบุรีและกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันได้รับการพัฒนาทั้งด้านกายภาพ โครงสร้างพื้นฐาน รวมถึงการกลับไปเรียนรู้และฟื้นฟูทุนวัฒนธรรมชุมชน เพื่อการสร้างมูลค่าและขับเคลื่อนไปสู่การเป็นย่านนวัตกรรมและความคิดสร้างสรรค์
-
ชุมชนมุสลิมริมคลองแสนแสบ ที่เชื่อกันว่าสืบเชื้อสายมาจากกลุ่มแขกปัตตานี เมื่อเข้ามาตั้งถิ่นฐานในพระนครได้จับจองปักหลักทำกินจุดแรกบริเวณซอยสุขุมวิท 47 ในปัจจุบัน
-
ชุมชนผลิตทองคำเปลวเก่าแก่ตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 นับว่าเป็นแหล่งการค้าทองคำเปลว และเครื่องราชอิสริยาภรณ์ในอดีต อีกทั้งยังเป็นชุมชนที่มีคุณค่าทางประวัติศาสตร์ในด้านการทำทองของกรุงเทพมหานคร
-
ชุมชนที่มี "วัดทิพพาวาส" เป็นจุดศูนย์กลางที่สำคัญสำหรับคนในชุมชน ทั้งเป็นวัดที่เก่าแก่มีอายุกว่าร้อยปี และมีอุโบสถที่สร้างด้วยไม้สักทองทั้งหลัง
-
ชุมชนบวรรังษี ปัจจุบันขึ้นชื่อว่าเป็นย่านผลิตทองคำเปลว แต่ในอดีตถือเป็นชุมชนที่อุดมด้วยช่างตีทองสุดยอดฝีมือ