-
ย่านการค้าเก่าแก่ในกรุงเทพมหานคร อย่าง "พาหุรัด" เป็นย่านที่มีภาพจำเป็นร้านขายผ้าที่มีสีสันโดดเด่นและหลากหลาย ทั้งไทย จีน และความเป็นภารตะของอินเดีย ผู้ค้าที่เป็นชาวไทยเชื้อสายอินเดีย ได้จับจองพื้นที่ส่วนใหญ่ในพาหุรัด เพื่อขายสิ่งของเครื่องใช้ เสื้อผ้า เครื่องประดับ หรืออาหารอินเดียที่มีกลิ่นเครื่องเทศเป็นเอกลักษณ์ ซึ่งสิ่งต่าง ๆ ที่กล่าวมาจึงมีความเป็นชุมชนอินเดียเล็ก ๆ ที่เกิดขึ้นในไทย
-
บ้านนางเลิ้ง หรือ บ้านอีเลิ้ง คำว่า อีเลิ้ง เป็นภาษามอญ หมายถึง ตุ่มหรือโอ่ง สันนิษฐานว่าเป็นการนำเอาตุ่มและภาชนะดินเผาอื่น ๆ จากบ้านสามโคก ปทุมธานี ซึ่งเป็นชุมชนชาวมอญเข้ามาค้าขายในพระนครตามเส้นทางคลองผดุงกรุงเกษม ภายหลังพัฒนาเป็นตลาดซื้อขายแลกเปลี่ยนสินค้านานาชนิดมาตั้งแต่รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
-
ชุมชนช่างโบราณอายุกว่า 200 ปี สืบสานภูมิปัญญาการทำขันลงหินอันเป็นเอกลักษณ์ตั้งแต่สมัยอยุธยาที่คงเหลือเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ทั้งนี้ภายในชุมชนยังมีวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ภายในชุมชน โดยวัดนี้ถือเป็นวัดที่สำคัญเพราะถูกใช้ในการพระราชทานเพลิงศพเจ้านายและขุนนางสำคัญในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ชุมชนยังมีการอนุรักษ์สำนักกระบี่กระบองที่สืบสานมาตั้งแต่อดีต
-
เอกลักษณ์ของพื้นที่ของชุมชนบ้านญวณสามเสน คือโบสถ์ทั้งสองโบสถ์ภายในพื้นที่และบ้านโบราณเป็นอาคารที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชน และความแตกต่างด้านวัฒนธรรมของเชื้อชาติที่ต่างกันแต่อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมเกลียว
-
พื้นที่ที่มีชาวมุสลิมอยู่ร่วมกันจำนวนมาก มีพื้นที่ติดกับชุมชนบ้านสมเด็จและชุมชนบางไส้ไก่ กระทั่งกลายเป็นย่านที่รวมผู้คนหลายศาสนาหลากวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน โดยมี "วัดหิรัญจูรี" เป็นศาสนสถานสำคัญที่เปรียบเสมือนสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของผู้คนในชุมชน
-
ชุมชนมอญที่อพยพมาจากเมืองทวายและมะริด ยังคงนับถือพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่น ภายในชุมชนวัดประดิษฐาราม มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระนอน
-
ชุมชนหัตถกรรมอันลือชื่อในด้านการประดิษฐ์หรือหล่อพระพุทธรูป ที่ได้สืบทอดต่อกันมายาวนานกว่า 700 ปี
-
ชุมชนเก่าริมคลองอายุกว่า 100 ปี ที่เต็มไปด้วยกลิ่นอายของวัฒนธรรมชาวมอญและจีน ภายในชุมชนยังมีแหล่งเรียนรู้ และสถานที่เก่าแก่ที่คนในชุมชนร่วมกันอนุรักษ์เอาไว้อีกด้วย