-
ชุมชนเกษตรกรรมโคนมและประชาชนส่วนใหญ่มีอาชีพรับจ้าง มีวัดออนกลาง เจดีย์ศรีสุทธิจิตต์เป็นสถานที่ประกอบพิธีกรรมทางศาสนาหลักของหมู่บ้าน
-
ชุมชนบ้านห้วยหลวงมีเอกลักษณ์ทางเครื่องดนตรีที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันจากบรรพบุรุษ
-
บ้านผาแด่น เป็นหมู่บ้านในพื้นที่ดำเนินงานของโครงการพัฒนาพื้นที่สูงแบบโครงการหลวงผาแตก ซึ่งได้เข้ามาพัฒนาส่งสริมการประกอบอาชีพ ให้ชาวกะเหรี่ยงบ้านผาแด่นสามารถดำเนินชีวิตโดยพึ่งพาตนเอง
-
บ้านปางแดงนอก ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ดาราอางที่อพยพถิ่นฐานเข้ามาในอำเภอเชียงดาวเพื่อการแสวงหาพื้นที่ทำกิน กับการเปลี่ยนแปลงและพัฒนาการทางสังคมกลายเป็นชุมชนพหุวัฒนธรรม
-
บ้านป่าแดดกลาง ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่ เป็นที่ตั้งของ "วัดป่าแดด" ซึ่งมีชื่อเสียงทางด้านความเชื่อในการกราบไหว้บูชาพระพิฆเนศ และเกจิอาจารย์ที่มีชื่อเสียง
-
ชุมชนเกษตรกรรมบนดอยสูง หมู่บ้านเกษตรอินทรีย์ Organic village แห่งแรกของจังหวัดเชียงใหม่
-
ชุมชนบ้านใหม่พัฒนา ชุมชนพหุวัฒนธรรมของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ท่ามกลางพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติและการเปลี่ยนแปลงในชุมชน
-
ชุมชนปกาเกอะญอที่ก่อตั้งมานานเกือบ 100 ปี แหล่งอนุรักษ์วัฒนธรรมสืบสานและวิถีชีวิตอันเรียบง่ายของชาวกะเหรี่ยงสะกอผ่านการเปิดให้นักท่องเที่ยวได้เข้าไปเยือนเพื่อสัมผัสกับประสบการณ์ เรียนรู้ ศึกษาวิถีชีวิตอย่างใกล้ชิดกับคนในชุมชน และสัมผัสแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติที่อยู่ห่างจากหมู่บ้านไม่ไกลนัก คือ ประตูผา ถ้ำหินธรรมชาติที่มีลำธารไหลผ่านตรงกลาง
-
-
ชาวบ้านป่าคานอก มีรูปแบบการทำไร่หมุนเวียนโดยยึดโยงเอาคติความเชื่อ จารีต ประเพณีดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงเข้ามาเป็นส่วนสำคัญของวิถีการทำไร่
-
วัดปิยาราม สร้างโดยเจ้าเมืองเชียงใหม่เป็นเพื่ออุทิศให้โอรส มีพระพุทธรูปในโพรงของต้นไม้ใหญ่ ชาวบ้านเรียกว่า วัดพระเจ้านั่งโกร๋น (นั่งโพรงไม้) ต่อมาทางราชการเวนคืนที่ชาวบ้าน ย้ายชาวบ้านมาอยู่ทางหน้าวัดและเรียกวัดใหม่ว่า วัดป่าแงะ
-
ชุมชนที่เต็มไปด้วยทรัพยากรทางธรรมชาติ อุทยานแห่งชาติแม่ฝาง และสืบสานประเพณีชาวลาหู่แดง