-
ชุมชนบ้านท่าเดื่อโดยทั่วไปเป็นพื้นที่ราบลุ่ม มีแม่น้ำปิงไหลผ่านซึ่งเป็นแหล่งน้ำที่สำคัญที่หล่อเลี้ยงชุมชนในตำบลสันผีเสื้อ ทำให้เกิดภูมิทัศน์ที่สวยงามตลอดเส้นทางที่น้ำปิงไหลผ่านชุมชน
-
บ้านขอบด้ง หมู่บ้านที่ได้รับการส่งเสริมจากสถานีเกษตรหลวงอ่างขาง ให้ปลูกไม้ผลเมืองหนาว อาทิ สตอเบอรี่ บ๊วย ท้อ ถือเป็นอาชีพหลักที่สร้างรายได้ให้กับชาวลาหู่ อีกทั้งยังได้รับการส่งเสริมจากโครงการหัตถกรรมในมูลนิธิของสมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ ทำกำไลหญ้าอิบูแค เพื่อจำหน่ายให้แก่นักท่องเที่ยวที่เดินทางมาท่องเที่ยวในหมู่บ้าน
-
หมู่บ้านขนาดใหญ่ ลักษณะพื้นที่เป็นวงรีตามแนวเหนือใต้ มีที่นาแปลงใหญ่อยู่ตรงกลางของหมู่บ้าน ถนนสายใหญ่ผ่านขอบด้านเหนือของหมู่บ้านและแยกตรงเข้าสู่วัดใจกลางชุมชนนี้ ภายในวัดมีพระวิหารที่สวยงามด้วยลวดลายแกะสลักและประดับด้วยแก้วโมเสค หลังคามีหลายชั้นสวยงามตามแบบของภาคเหนือหมู่บ้านนี้มีขนาดใหญ่ รูปลักษณะเป็นวงรีตามแนวเหนือใต้
-
วัดป่าตึง วัดที่หลวงปู่หล้าเคยเป็นเจ้าอาวาส จนกระทั่งท่านละสังขารในปี พ.ศ. 2536 หลวงปู่หล้าท่านได้รับสมญานามจากศรัทธาญาติโยมว่ามีญาณวิเศษที่สามารถล่วงรู้เหตุการณ์ข้างหน้าได้ จนชาวบ้านทั่วไปเรียกท่านว่า “หลวงปู่หล้าตาทิพย์”
-
กระดาษสาบ้านต้นเปา ชุมชนเก่าแก่กับมรดกทางวัฒนธรรมและภูมิปัญญาท้องถิ่นอันเป็นเอกลักษณ์ นำมาสู่การสร้างงานสร้างอาชีพ พัฒนาระบบเศรษฐกิจชุมชน จนเป็นที่รู้จักอย่างแพร่หลาย
-
-
วัดป่าดาราภิรมย์ ตั้งอยู่บริเวณด้านหลังที่ว่าการอำเภอแม่ริมและค่ายดารารัศมี เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และเป็นพระอารามหลวงลำดับที่ 7 ของเชียงใหม่ ที่สะท้อนถึงเอกลักษณ์สถาปัตยกรรมล้านนาได้เป็นอย่างดี บรรยากาศร่มรื่นและสงบ เหมาะแก่การมาทำบุญไหว้พระ เพื่อให้จิตใจสงบและผ่องใสเป็นอย่างมาก
-
ลุ่มแม่น้ำแม่วาง เป็นพื้นที่ที่มีความสมบูรณ์ทางทรัพยากร ความหลากหลายของกลุ่มคน ชาติพันธุ์ การทำมาหากินหลายรูปแบบ การจัดการทรัพยากรที่อยู่บนพื้นฐานของความสัมพันธ์แบบเครือญาติ และการผลิตที่ชาวบ้านเรียกว่า "อาหารจานอร่อยที่ทำให้เรามีกินตลอด" ซึ่งได้พัฒนาคู่การจัดการน้ำด้วยระบบเหมืองฝ่าย ที่เป็นหัวใจสำคัญในการจัดสรรน้ำเพื่อการผลิต
-
บ้านสันจอยเป็นหมู่บ้านกลุ่มชาติพันธุ์ อย่าง ลีซู ที่อพยพเข้ามาอยู่ในอำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ กว่า 30 ปีแล้ว ที่ยังคงรักษาอัตลักษณ์ทางวัฒนธรรมทั้งการแต่งกายและพิธีกรรมอย่างเข้มแข็ง นอกจากนี้ ยังอยู่ร่วมกับกลุ่มชาติพันธุ์อ่าข่า ลาหู่ และเย้า รวมทั้งคนพื้นเมืองภาคเหนืออีกด้วย
-
-
วิถีชีวิตของชาวบ้านในลุ่มแม่น้ำแม่แจ่มคือตัวแทนสังคมวัฒนธรรมพื้นบ้านไทยวน ด้วยว่าชุมชนอยู่ในหุบเขาซึ่งเสมือนกำแพงธรรมชาติกั้นการผสมผสานกับวัฒนธรรมเมือง