-
ชุมชนพหุวัฒนธรรม ความหลากหลายของกลุ่มชาติพันธุ์ที่อาศัยอยู่ร่วมกัน กับวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์ และพื้นที่ทางธรรมชาติที่มีทรัพยากรอุดมสมบูรณ์ สู่การพัฒนาเศรษฐกิจชุมชน
-
ภายในชุมชนมีโรงเรียนวัดหัวฝาย ซึ่งเปิดทำการสอนตั้งแต่ชั้นอนุบาล จนถึงชั้นประถมศึกษาปีที่ 6 ภายในชุมชนยังมีวัดหัวฝายซึ่งเป็นสถานที่สำคัญในการทำกิจกรรม และมีกลุ่มอาชีพการทำขิง เป็นผลิตภัณฑ์หมู่บ้าน
-
หมู่บ้านชาวอาข่าบนถนนสาย 1089 ถนนสายวัฒนธรรมที่เรียงรายด้วยหมู่บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ตลอดสาย หมู่บ้านที่ตั้งอยู่บนพื้นที่ที่เรียกว่าเป็นทำเลทองของตำบลป่าตึง เพราะพื้นที่บริเวณนี้เปรียบเสมือนจุดศูนย์กลางแหล่งท่องเที่ยวทางธรรมชาติในละแวกแถบนี้
-
-
ชุมชนบ้านห้วยหลวงมีเอกลักษณ์ทางเครื่องดนตรีที่ได้รับการถ่ายทอดสืบต่อกันจากบรรพบุรุษ
-
ชุมชนที่ยังคงอนุรักษ์ศิลปวัฒนธรรมของชุมชน เช่น ประเพณีสรงน้ำพระธาตุวัดสบตาล การบวงสรวงเจ้าพ่อนาเวียง ประเพณีปีใหม่เมือง ประเพณีแห่ไม้ค้ำศรีมหาโพธิ์ ประเพณีตานก๋วยสลาก
-
ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ขมุในเขตพื้นที่รอยต่อชายแดนไทย-ลาว ภูมิปัญญาเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมท้องถิ่นและวิถีชีวิตของผู้คนกับธรรมชาติ
-
“งดงามวิหารไทลื้อ ลือชื่อผ้าทอสีธรรมชาติ น้ำใสสะอาดวังปาล ผืนป่าเขียวขจี ยึดวิถีวัฒนธรรมไทลือ” ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ไทลื้อที่เข้ามาตั้งถิ่นฐานในจังหวัดน่าน กับเอกลักษณ์ทางวัฒนธรรมประเพณี และการปรับตัวให้เข้ากับสังคมในโลกยุคปัจจุบัน
-
บ้านแม่ยางส้าน ชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ (กะเหรี่ยงสะกอ) กับการตั้งถิ่นฐานบนพื้นที่ที่มีทรัพยากรธรรมชาติอุดมสมบูรณ์ และภูมิปัญญาวิถีวัฒนธรรมที่เป็นเอกลักษณ์
-
ชุมชนต้นแบบด้านการจัดการทรัพยากรธรรมชาติสู่ความสำเร็จในการพลิกฟื้นผืนป่าชุมชนกว่า 1,000 ไร่ ตามแนวพระราชดำริให้กลับมาคืนคงความอุดมสมบูรณ์เป็นแหล่งอาหาร และแหล่งรายได้เป็นดอกผลจากความพยายามในการอนุรักษ์
-
"ฮอมผญ๋าสาสบหก" คลังความรู้แห่งภูมิปัญญาสาสบหก แหล่งสั่งสมภูมิปัญญาบรรพชนชาวละว้า รวมตัวสืบทอดเจตนารมณ์การดูแลป่าสู่การกอบกู้วิกฤตทรัพยากรด้วยประสบการณ์การบริหารจัดการน้ำ ดังวิสัยทัศน์ชุมชนว่า "บ้านสาสบหก อนุรักษ์ธรรมชาติสิ่งแวดล้อม มีการบริหารจัดการที่ดี ครอบครัวชุมชนเข้มแข็ง ส่งเสริมเกษตรเศรษฐกิจพอเพียง"