-
พื้นที่ชุมชนรวมตัวของชนชาติชาวลาวครั่งแสดงผ่านศิลปกรรม ประติมากรรม และศาสนสถาน
-
ชุมชนบ้านโคกลำดวนได้เรียนรู้ประสบการณ์จากความล้มเหลวในการประกอบอาชีพ สร้างเป็นแรงผลักดันจากความพยายามต่อสู้ดิ้นรนในการทํามาหากิน จนค้นพบ “ไผ่ตง” และ “ผักหวาน” พืชเศรษฐกิจพลิกฟื้นชีวิตชาวโคกลำดวนให้กลับมาสู่แสงสว่างอีกครั้ง
-
มัสยิดบางอ้อนับว่าเป็นมัสยิดที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่น และอนุรักษ์ความดั้งเดิมไว้ได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยการบูรณะอาคารมัสยิดครั้งล่าสุดเกิดขึ้นหลังอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อ ปี พ.ศ. 2554
-
ภูมิปัญญาของชุมชนที่หลากหลายอันเกิดขึ้นมาจากวิถีชีวิตของคนชุมชนบ้านหาดเสี้ยว มีประเพณีพิธีกรรมที่สืบเนื่องกันมาอย่างยาวนานและหัตถกรรมการทอผ้าที่มีความโดดเด่น
-
ชุมชนไทยวนที่มีอายุ 200 กว่าปี ซึ่งชุมชนแห่งนี้ยังคงอนุรักษ์และรักษาวิถีชีวิตแบบชาวไทยวนเอาไว้ ภายในชุมชนมีหอวัฒนธรรมที่จัดแสดงวัตถุสิ่งของ เครื่องมือเครื่องใช้หายากของชาวไทยวนในอดีตเพื่อเป็นการเรียนรู้แก่คนภายนอกและคนรุ่นใหม่ในชุมชน ทั้งนี้ภายในชุมชนต้นตาลยังโดดเด่นในด้านการทอผ้า ซึ่งผ้าทอชาวยวนที่ผลิตที่บ้านต้นตาลถือว่ามีคุณภาพดีและมีชื่อเสียงแห่งหนึ่งในประเทศไทย
-
ชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จสะท้อนวิถีชีวิตของชาวมุสลิมและเป็นแหล่งอาหารฮาลาลที่ตลาดรอมาฎอน ได้แก่ ขนมบดินและขนมกะรี อีกทั้งการมีสถาปัตยกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมที่งดงามในพื้นที่ชุมชน อย่าง มัสยิดนูรุ้ลมู่บีน
-
-
“วิถีชีวิตริมน้ำ ลำคลองแห่งชีวิต” ชุมชนริมน้ำคลองชักพระ เส้นทางที่จอแจไปด้วยเรือที่สัญจรไปมาตลอดทั้งวัน ห้อมล้อมด้วยบรรยากาศคึกคักของบ้านเรือนและวิถีชีวิตริมน้ำดั้งเดิมแบบไทย และยังคงประเพณีชักพระ ณ วัดนางชี ประเพณีชักพระแห่งเดียวในกรุงเทพมหานคร
-
บ้านหม้อ ตั้งถัดมาจากบ้านลาว เป็นชุมชนชาวญวนที่อพยพเข้ามาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประกอบอาชีพทำหม้อและภาชนะหุงต้มต่าง ๆ ต่อมาเมื่อมีภาชนะสมัยใหม่เข้ามาแทนจึงได้เลิกอาชีพนี้ไป ภายหลังกลายเป็นย่านขายเครื่องเพชร อัญมณี และเครื่องประดับที่มีชื่อเสียงของพระนคร ปัจจุบันเป็นแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเสียงจำนวนมาก
-
ชาติพันธุ์มอญ การรักษาวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายมอญ ยังคงยึดมั่นในพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่น ประเพณีที่สําคัญ เช่น เทศกาลตักบาตรนํ้าผึ้ง เทศกาลตักบาตรดอกไม้ ตักบาตรเทโว และเทศกาลกวนกระยาสารท