-
ละอุ่นเหนือ 1 ตำบล 5 หมู่บ้าน 10 เขตอนุรักษ์พันธุ์สัตว์น้ำ สถานที่แห่งการรวบรวมถ่ายทอดเรื่องราววิถีชีวิตริมลำคลองละอุ่น พื้นที่แห่งการจัดการบริหารระบบนิเวศลำคลองจากความเสื่อมโทรมสู่การพลิกฟื้นคืนชีพเศรษฐกิจชุมชน
-
พื้นที่ว่างเปล่าของการรถไฟแห่งประเทศไทย กับการเข้ามาของผู้คนนอกพื้นที่เมืองสงขลา และพัฒนาการของชุมชนสังคมเมือง
-
การรวมกลุ่มของชาวบ้านจัดตั้งกลุ่มอาชีพส่งเสริมรายได้ในครัวเรือน เช่น กลุ่มฉิ้งฉ้างสามรส, กลุ่มทำขนมพื้นเมือง, กลุ่มทำเครื่องแกง
-
ท่าเรือที่สำคัญที่สามารถรองรับนักท่องเที่ยวเดินทางไปเกาะยาว เกาะพีพี เกาะลันตา พร้อมทั้งสามารถขนส่งสินค้าต่าง ๆ ได้
-
บ้านทุ่งคาพะเนียงแตกเป็นชุมชนดั้งเดิม ซึ่งกลุ่มชาวจีนเข้ามาตั้งถิ่นฐานเพื่อประกอบอาชีพทำเหมืองแร่ สภาพแวดล้อมชุมชนในปัจจุบันมีขุมเหมือง แสดงถึงร่องรอยความรุ่งเรืองของยุคอุตสาหกรรมแร่ดีบุก มีสถานที่สำคัญในชุมชน เช่น ศาลเจ้ายกเค้เก้ง เป็นศาสนสถานที่ประกอบพิธีกรรมถือศีลกินผักของชาวไทยเชื้อสายจีน วัดรัษฎาราม และวัดสามกอง เป็นสถานที่ประกอบกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของพุทธศาสนิกชน นอกจากนี้ยังเป็นย่านการค้า มีห้างสรรพสินค้าหลายแห่ง
-
กระบวนการชุมชนเพื่อพัฒนาชุมชนท่องเที่ยวเชิงนิเวศ ที่มีหาดทรายทุ่งนุ้ย ป่าชายเลน เป็นทรัพยากรธรรมชาติที่สมบูรณ์ของท้องถิ่น
-
ชุมชนชาวประมงริมทะเลสาบสงขลา สถานที่ซึ่งรวบรวมเรื่องราว วิถีชีวิต และจิตวิญญาณของชาวประมง นำเสนอร้อยเรียงผ่านการท่องเที่ยวนิเวศวิถี จนได้รับขนานนามว่าเป็นหมู่บ้านประมงที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งของจังหวัดพัทลุง
-
หาดทรายแก้ว ชุมชนชาวประมงริมอ่าวท่าชนะ พื้นที่ที่ยังคงรักษารูปแบบวิถีการดำเนินชีวิตดั้งเดิมไว้ได้ ภายใต้พลวัตความเปลี่ยนแปลงและอิทธิพลทางวัฒนธรรมสมัยนิยมที่เข้ามามีบทบาทต่อชีวิตคนในชุมชน