บ้านท่าม่วง
วัดป่าสักดาราม วัดท่าม่วง วัดเหนือ องค์พระธาตุพนมจำลอง สิมรูปแบบล้านช้าง การอนุรักษ์อักษรธรรมและอักษรไทน้อย
ศาลาแดงเหนือ
ชุมชนชาวมอญที่มีมาตั้งแต่รัชกาลที่ 2 ภายในหมู่บ้านมีบ้านเรือนไม้ชาวมอญที่ปลูกเรียงกันอย่างโดดเด่น มีวัดศาลาแดงเหนือที่มีสถาปัตยกรรมรูปแบบผสมผสานหลายเชื้อชาติสวยงามหลายจุด นอกจากนี้ภายในชุมชนยังมีวิถีชีวิตวัฒนธรรมแบบชาวมอญให้ผู้คนภายนอกได้ศึกษาและเรียนรู้ กล่าวได้ว่าชุมชนศาลาแดงเหนือถือเป็นแหล่งท่องเที่ยววัฒนธรรมแบบมอญที่สำคัญแห่งหนึ่งในจังหวัดปทุมธานี
ตะเคียนเตี้ย
เป็นชุมชนผืนสุดท้ายในภาคตะวันออกที่ชาวบ้านส่วนใหญ่ประกอบอาชีพหลักคือการทำสวนมะพร้าว ทำให้ภายในชุมชนแห่งนี้มักดำรงไปด้วยสวนมะพร้าวของชาวบ้านจำนวนมาก ทั้งนี้ด้วยชาวบ้านและภาครัฐได้พัฒนาชุมชนแห่งนี้มีการท่องเที่ยวเกิดขึ้น ทำให้ชุมชนแห่งนี้จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวทางวิถีชีวิตที่สำคัญแห่งหนึ่งของพัทยา
คลองลัดมะยม
ตลาดน้ำคลองลัดมะยม วิถีชีวิตแบบชาวสวนที่ตั้งบ้านเรือนอยู่ริมน้ำ ความเชื่อเรื่องพระแม่โพสพที่สะท้อนให้เห็นถึงชีวิตชาวไร่ชาวนาของผู้คนในแถบชานเมือง ท่ามกลางการเปลี่ยนแปลงทางสังคมในชุมชน
ตรอกบ้านพานถม
ในอดีตชุมชนแห่งนี้มีการทำพานถม ปัจจุบันไม่มีการทำแล้ว เหลือเพียงคำบอกเล่าและรู้จักบ้านพานถมในฐานะชุมชนที่เคยเป็นแหล่งผลิตเครื่องถมโบราณที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงรัตนโกสินทร์
บ้านเมืองสาตร
ชุมชนแหล่งผลิตโคมล้านนาที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ งานหัตถศิลป์ล้านนาซึ่งเป็นทั้งแหล่งรายได้และเอกลักษณ์หล่อหลอมความผูกพันระหว่างวิถีชีวิต
ธรรมชาติ ความเชื่อ ประเพณี และวัฒนธรรม
ให้ชาวบ้านสาตรหลวงสามารถดำรงชีวิตอยู่ได้อย่างสงบสุขในบริบทสังคมที่เปลี่ยนแปลง
บ้านบางโรง
ชุมชนชาวไทยมุสลิม
อดีตศูนย์กลางการปกครองเมืองถลางบางโรง
พื้นที่แหล่งทรัพยากรธรรมชาติป่าชายเลนที่อุดมสมบูรณ์ ซึ่งต่อมาได้มีการพัฒนาเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศอนุรักษ์
กระทั่งได้รับรางวัลชุมชนดีเด่นจากการประกวดรางวัลอุตสาหกรรมท่องเที่ยวไทย
หรือรางวัลกินรี ประจำปี 2553 และรางวัลอื่น ๆ อีกมากมาย
บ้านบางเทา
ชุมชนบ้านบางเทาเป็นชุมชนชาติพันธุ์ ที่ประชากรส่วนใหญ่นับถือศาสนาอิสลามที่ยังคงแบบแผนการดำเนินชีวิตตามบัญญัติของศาสนาอย่างเคร่งครัด
และเป็นชุมชนมุสลิมที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดในจังหวัดภูเก็ต
บ้านโมคลาน
“ตั้งดินตั้งฟ้า ตั้งหญ้าเข็ดมอน โมคลานตั้งก่อน เมืองคอนตั้งหลัง
ข้างหน้าพระยัง ข้างหลังพระภูมี ต้นศรีมหาโพธิ เจ็ดโบสถ์ แปดวิหาร เก้าทวาร
สิบเจดีย์”