บ้านบุ
ชุมชนช่างโบราณอายุกว่า 200 ปี สืบสานภูมิปัญญาการทำขันลงหินอันเป็นเอกลักษณ์ตั้งแต่สมัยอยุธยาที่คงเหลือเพียงแห่งเดียวในประเทศไทย ทั้งนี้ภายในชุมชนยังมีวัดสุวรรณารามราชวรวิหาร ซึ่งเป็นวัดเก่าแก่ภายในชุมชน โดยวัดนี้ถือเป็นวัดที่สำคัญเพราะถูกใช้ในการพระราชทานเพลิงศพเจ้านายและขุนนางสำคัญในช่วงต้นรัตนโกสินทร์ นอกจากนี้ชุมชนยังมีการอนุรักษ์สำนักกระบี่กระบองที่สืบสานมาตั้งแต่อดีต
บ้านจำรุง
ชุมชนต้นแบบที่ได้รับรางวัลหมู่บ้านเศรษฐกิจพอเพียง ปี 2550 ที่ตั้ง “มหาวิทยาลัยบ้านนอก” แหล่งท่องเที่ยวเชิงเรียนรู้ที่มุ่งเน้นเรื่องปรัชญาเศรษฐกิจพอเพียงและการทำเกษตรแบบครบวงจร
ด้วยหลักการ “วิถีบ้านนอก” วิถีชีวิตบนความเรียบง่ายและพอเพียง
สะท้อนเรื่องราวความเป็นคนบ้านนอกและวิถีชุมชนท้องถิ่น จุดแข็งที่ทำให้บ้านจำรุงยังคงรักษาวิถีชีวิตดั้งเดิมไว้ได้
ทับเที่ยง
เมืองเก่ามีประวัติการตั้งถิ่นฐานมากว่า 200 ปี และเป็นชุมทางการค้าที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้
บ้านหนองขาว
“ผ้าขาวม้า 100 สี ของดีบ้านหนองขาว” ผลิตภัณฑ์สินค้า OTOP เอกลักษณ์ชุมชนบ้านหนองขาว ผลิตภัณฑ์สำคัญที่ยังคงไว้ซึ่งวิถีชีวิตและอัตลักษณ์ของชุมชน
ตลาดร้อยปีสามชุก
ชุมชนตลาดร้อยปีสามชุก เป็นศูนย์กลางเศรษฐกิจสำคัญของอำเภอสามชุก และแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ที่มีชื่อเสียงเป็นที่รู้จักในระดับประเทศ
บ้านป่าเหมี้ยง
ชุมชนกว่าแก่อายุกว่า 200 ปี ภายในชุมชนแห่งนี้โดดเด่นในการทำเหมี้ยงที่เป็นใบชามาตั้งแต่อดีต เป็นสินค้าขึ้นชื่อของชุมชน ทั้งนี้ด้วยตัวชุมชนอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่สวยงาม โดยอยู่ในเขตอุทยานแห่งชาติแจ้ซ้อนและชุมชนเองก็มีการเปิดการท่องเที่ยวในหมู่บ้าน มีโฮมสเตย์ มีกิจกรรมต่าง ๆ ทำให้จึงมักมีนักท่องเที่ยวเข้ามาพักและมาชื่นชมความสวยงามในชุมชนนี้อยู่เสมอ กลายเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดลำปาง
หาดวอนนภาศัพท์
มีหาดวอนนภาเป็นจุดเด่นตรงที่อยู่ถัดไปจากหาดบางแสนมีบรรยากาศที่เงียบสงบ มีน้ำทะเลที่ใสและลึกประมาณ 1 เมตร สามารถทำกิจกรรมต่าง ๆ ทางทะเลได้ ในช่วงท้ายหาดจะมีลักษณะเป็นก้อนหินกั้นเป็นแนวยาวเป็นทาง มีสะพานปลาวอนนภาอยู่สุดปลายหาดซึ่งเป็นแหล่งทำมาหากินของชาวประมง ทุก ๆ วันจะมีเรือนำปลาที่หาได้จากทะเลมาขึ้นที่สะพานปลาแห่งนี้และสามารถซื้อกับชาวบ้านในราคาที่ถูกได้
บ้านท่าขอนยาง
จากชุมชนชนบทในอดีตที่มีกลุ่มชาติพันธุ์ไทญ้อ
การเปลี่ยนแปลงมาสู่ชุมชนเมืองจากการเข้ามาของมหาวิทยาลัยมหาสารคาม
สร้างความร่ำรวยให้ชาวบ้านที่เป็นเจ้าของที่ดิน
สร้างรายได้ให้กับคนในชุมชนได้ทำงานภายในมหาวิทยาลัยมหาสารคาม ทำให้ ไทญ้อ อนุรักษ์
สร้างอัตลักษณ์เพื่อดำรงอยู่ซึ่งความเป็น ญ้อท่าขอนยาง
บ้านขุนช่างเคี่ยน
ในฤดูหนาวของทุกปี บ้านขุนช่างเคี่ยนทั่วทุกสารทิศจะถูกปกคลุมด้วยสีชมพูขาวของดอกพญาเสือโคร่ง
หรือที่เรียกกันว่าซากุระเมืองไทย
ที่บานสะพรั่งอวดความงามไปทั่วบริเวณสถานีวิจัยและศูนย์ฝึกอบรมเกษตรที่สูงขุนช่างเคี่ยน