บ้านรามัน
ชุมชนประวัติศาสตร์ อีกทั้งเป็นพื้นที่ราบลุ่มและเหมาะสมต่อการเกษตรประเภทสวนยางพารา สวนผลไม้
บ้านปางหมู
ชุมชนไทยใหญ่บ้านปางหมูเป็นชุมชนไทยใหญ่แห่งแรกก่อนการสร้างเมืองแม่ฮ่องสอน เป็นชุมชนที่สมาชิกในชุมชนยังรักษามรดกทางวัฒนธรรมทั้งรูปธรรมและนามธรรมให้คงอยู่คู่กับชุมชน อาทิ วัดปางหมู พระธาตุปางหมู หอเจ้าเมิง เสาใจบ้าน รวมถึงขนบ ธรรมเนียม ประเพณี ซึ่งเป็นมรดกทางวัฒนธรรมที่สะท้อนความเป็นชาวไทยใหญ่
บ้านแม่ลิด
ชุมชนที่มีวัฒนธรรม ภูมิปัญญา ภาษาเป็นของตนเอง และหวงแหนทรัพยากรธรรมชาติ ป้องกันไม่ให้ทรัพยากรธรรมชาติถูกทำลาย
บ้านกาด
ชุมชนบ้านกาด เป็นชุมชนชนบท ที่อาศัยอยู่ร่วมกันแบบเครือญาติและชาวบ้านส่วนใหญ่ในชุมชนจะเป็นบุคคลที่อาศัยอยู่ในชุมชนตั้งแต่เกิด ปรากฏวัฒนธรรมประเพณีที่ทำกันตั้งแต่สมัยบรรพบุรุษแล้วถ่ายทอดกันมาสู่รุ่นต่อรุ่น ได้แก่ งานทำบุญทานข้าวใหม่ งานประเพณีปี๋ใหม่เมือง (วันสงกรานต์) งานทำบุญสรงน้ำพระธาตุ งานไหว้ศาลเจ้าบ้าน งานทำบุญถวายทานสลากภัต และงานทอดกฐินสามัคคี
บ้านท่าด่าน
บ้านท่าด่านมีข้าวปลอดสารพิษจากนาข้าวอินทรีย์ที่เกิดจากการร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านในการบริหารจัดการนาข้าว
เพื่อลดต้นทุน เพิ่มผลผลิต
จนปัจจุบันข้าวอินทรีย์กลายเป็นผลิตภัณฑ์สินค้าเลื่องชื่อประจำชุมชน
บ้านลวงเหนือ
ศิลปสถาปัตยกรรมล้านนาที่ผสมผสานกับศิลปสถาปัตยกรรมไตลื้อ และวิถีชีวิตของชาวไตลื้ออันเป็นเอกลักษณ์ ทั้งประเพณี ความเชื่อ วัฒนธรรม การแต่งกาย และอาหาร
บ้านไร่สะท้อน
ชุมชนบ้านไร่สะท้อนแห่งนี้มีภูมิปัญญาและวิถีชีวิตอันผูกพันอยู่กับต้นตาล จึงมีวัฒนธรรมและภูมิปัญญาในการนำตาลมาใช้ประโยชน์ในด้านต่าง ๆ ทั้งนี้ผู้คนในชุมชนยังเปิดแหล่งเรียนรู้ที่เกี่ยวข้องกับต้นตาลให้แก่บุคคลภายนอกผ่านการท่องเที่ยงเชิงนิเวศน์และวัฒนธรรม
ผาปัง
ผาปังอยู่ในหุบเขาและถูกล้อมรอบด้วยภูเขาสูง ศูนย์กลางด้านการเกษตรของชุมชน ซึ่งเป็นสวนแห่งแรงบันดาลใจในการใช้ชีวิตแบบพอเพียง โดยได้น้อมนำหลักเกษตรทฤษฎีใหม่มาปรับใช้ในพื้นที่
บ้านขุนยวม
ศูนย์วัฒนธรรมอนุสรณ์สถานสงครามโลกครั้งที่สอง สถานที่บอกเล่าเรื่องราวตำนานรัก "โกโบริ-อังศุมาลิน" แห่งขุนยวม อีกทั้งยังเป็นอนุสรณ์สถานเก็นรวบรวมเรื่องราวทางประวัติศาสตร์สงครามมหาเอเชียบูรพาที่เกิดขึ้น ณ เมืองขุนยวม