บ้านเมืองเสือ
บ้านเมืองเสือที่มาของชื่ออำเภอพยัคฆภูมิพิสัย
เป็นชุมชนโบราณในยุคโลหะตอนปลายในพื้นที่ทุ่งกุลาร้องไห้ เป็นชุมชนที่ใช้ภาษาเขมรและเริ่มใช้ลดลงหลังจากวัฒนธรรมลาวเข้ามาในพื้นที่
บ้านดงยาง
ชุมชนที่คนในชุมชนมีความสามัคคี
และขยันหมั่นเพียร สามารถสร้างฐานะทางเศรษฐกิจได้ดี
ในสภาพแวดล้อมที่ชุมชนมีทรัพยากรทางธรรมชาติจำกัด
บ้านฆ้อง
ชุมชนวัดบ้านฆ้องมีจิตรกรรมฝาผนังที่บอกเล่าเรื่องราวทางประวัติศาสตร์และวิถีชีวิตของชุมชน สะท้อนความเป็นมาของชาติพันธ์ลาวที่ถูกหลอมรวมเข้ากับวัฒนธรรมไทยท้องถิ่น
บ้านเหมืองแร่
แหล่งเรียนร่องรอยรู้ทางประวัติศาสตร์ชาติตั้งแต่สมัยสงครามโลก และชุมชนกลุ่มชาติพันธุ์อาข่า ที่ก่อรูปตั้งถิ่นฐานเป็นหมู่บ้านกว่า 30 ปี
บ้านนางาม
แหล่งวิสาหกิจชุมชนจักสานผิวไม้ไผ่จากภูมิปัญญาที่สร้างสรรค์จากทรัพยากรที่มีอยู่ตามธรรมชาติ นำมาสร้างงานจักสานของใช้ในครัวเรือน และของใช้ที่งดงามทรงคุณค่า สร้างอาชีพ สร้างรายได้ และสร้างเอกลักษณ์ประจำชุมชนให้เป็นหนึ่งเดียวในอำเภอแจ้ห่ม
บ้านบางปู
ชุมชนบ้านปางปู เป็นหมู่บ้านชาวประมงริมฝั่งทะเลอ่าวไทย ภายในชุมชนมีสถานที่ท่องเที่ยวทางธรรมชาติและทางวัฒนธรรมที่น่าสนใจหลายแห่ง ได้แก่ หาดบางปู หาดแหลมศาลา ถ้ำแก้ว และถ้ำพระยานครซึ่งเป็นที่ตั้งของพระที่นั่งคูหาคฤหาสน์ ซึ่งเป็นพลับพลาที่พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้น เมื่อคราวเสด็จประพาสแหลมมลายู
บ้านแถวนา
ชุมชนมีดีแห่งเมืองรอยยิ้มจันทบุรี ศูนย์กลางในการขับเคลื่อนธุรกิจเพื่อสังคมจากการเรียนรู้และพัฒนาชุดความรู้แก้ไขปัญหาต่าง
ๆ ด้วยการทดลองทำ จนเป็นผู้เชี่ยวชาญ และเป็นฐานเรียนรู้ให้กับเกษตรกรชาวเมืองจันท์
บ้านป่าเหียง
ภายในชุมชนบ้านป่าเหียงมีเฮือนไทลื้อโบราณอายุกว่า 70 ปี
ซึ่งเป็นเฮือนไทลื้อหลังสุดท้ายที่ยังคงหลงเหลืออยู่ในตำบลบ้านธิ