-
บ้านดงหลวงเป็นชุมชนที่ยังคงประเพณีดั้งเดิมที่สำคัญของคนพื้นเมืองไว้อย่างดี มีพระวิหารหลวงบ้านดงหลวงเป็นสถานที่สำคัญของชาวบ้านในชุมชนเป็นอย่างมาก และมีการร่วมกันสืบสานเทศกาลประเพณีที่สำคัญตลอดสิบสองเดือน
-
บ้านศรีบุญยืน สถานที่ตั้งวัดศรีบุญยืน ภายในวัดแห่งนี้มีศาลาการเปรียญแต่งยอดจั่วช่อฟ้าปั้นลม และพระอุโบสถที่สร้างด้วยสถาปัตยกรรมศิลปะแบบล้านนา ทั้งรูปทรง ตลอดจนหน้าบันวิหารที่แกะสลักรูปราศรีเกิดทั้ง 12 ราศรี สร้างสรรค์โดยฝีมือสล่าพื้นบ้าน
-
กุฎีหลวง เป็นศาสนาสถานแห่งแรกของแขกเจ้าเซ็น ที่มีบทบาทในการสร้างชุมชนแขกเจ้าเซ็นให้มีความมีความเป็นปึกแผ่น นับแต่ได้รับพระราชทานที่ดินสร้างศาสนสถาน ซึ่งเป็นรากฐานสำคัญของการตั้งชุมชนแขกเจ้าเซ็นในเวลานั้นสืบต่อมาอีกกว่า 150 ปี
-
ชุมชนชาวมอญที่มีประวัติเก่าแก่กว่า 100 ปี เป็นกลุ่มชาวมอญที่ขยายตัวมาจากพระประแดงและสมุทรสาคร มีการดำรงชีวิตตามวิถีชุมชนริมน้ำ และมีประเพณีที่สืบทอดกันมายาวนาน คือ ประเพณีตักบาตรพระร้อย
-
ชุมชนการค้าและเศรษฐกิจที่สำคัญมาตั้งแต่อดีต มีการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของผู้คนหลากหลายชาติพันธุ์เพื่อทำการค้าขาย ผู้คนภายในชุมชนมีการจัดโครงการพัฒนาศิลปวัฒนธรรม บริเวณชุมชนปรากฏสถาปัตยกรรมประเภทเรือนไม้ และมีสถานที่สำคัญ ได้แก่ ศาลเจ้าแม่ล้านโป่ง ศาลเจ้าพ่อกวนอู และวัดคาทอลิกนักบุญยอเซฟ
-
-
ชุมชนของกลุ่มชาติพันธุ์ผู้ไทเป็นพื้นที่ท่องเที่ยวเนื่องจากอยู่ใกล้กับภูเขา มีภูผา จำนวนมาก ปัจจุบันยังเป็นแหล่งผลิตผ้าทอที่มีชื่อเสียง
-
ชุมชนย่านตลาดการค้าริมน้ำ อายุกว่า 100 ปี ที่ตั้งอยู่บริเวณชายคลองระแหงทั้งสองฝั่งในลักษณะปลูกสร้างด้วยไม้ เป็นห้องแถวยาวติดต่อกัน โดยภายในตลาดแห่งนี้เป็นชุมชนการค้าเล็ก ๆ ที่มีร้านค้าที่ยังคงอนุรักษ์ความเก่าแก่รูปแบบดั้งเดิมในอดีตหลายร้าน นอกจากนี้บางร้านได้ปรับเปลี่ยนจากการขายของเป็นพิพิธภัณฑ์ขนาดย่อมให้คนทั่วไปได้เรียนรู้อีกด้วย