-
ชุมชนริมน้ำเพชรบุรี เป็นชุมชนเก่ามีโบราณสถานสำคัญในสมัยอยุธยา และยังมีภาพ Street Art ฝีมือศิลปินชาวเพชรบุรีวาดไว้ตามจุดต่างๆ ในตลาดอีกด้วย
-
หมู่บ้านขนาดใหญ่ ลักษณะพื้นที่เป็นวงรีตามแนวเหนือใต้ มีที่นาแปลงใหญ่อยู่ตรงกลางของหมู่บ้าน ถนนสายใหญ่ผ่านขอบด้านเหนือของหมู่บ้านและแยกตรงเข้าสู่วัดใจกลางชุมชนนี้ ภายในวัดมีพระวิหารที่สวยงามด้วยลวดลายแกะสลักและประดับด้วยแก้วโมเสค หลังคามีหลายชั้นสวยงามตามแบบของภาคเหนือหมู่บ้านนี้มีขนาดใหญ่ รูปลักษณะเป็นวงรีตามแนวเหนือใต้
-
ชุมชนท่องเที่ยวน้องใหม่ที่ซ่อนตัวอยู่ท่ามกลางป่าเขาในอำเภอปากช่อง ที่มีการจัดการการท่องเที่ยวโดยให้ความสำคัญกับปัญหาภาวะโลกร้อนด้วยรูปแบบ “Local Low Carbon” ชุมชนต้นแบบในการนำเครื่องมือวัดผลกระทบจาก Carbon Footprint มาใช้ครั้งแรกกับกิจกรรมท่องเที่ยวโดยชุมชน
-
ดำรงเอกลักษณ์วัฒนธรรมประเพณีท้องถิ่นเป็นชุมชนสีเขียว เป็นชุมชนต้นแบบหลายอย่าง เช่น มีการใช้หลักศาสนาฟื้นฟูจิตใจ และฟื้นฟูชุมชน น้ำฝนสามารถดื่มได้ และมีการจัดตั้งโรงเรียนเกษตรทฤษฎีใหม่
-
ตลาดน้ำท่าคาที่ยังคงรักษาไว้ได้อย่างดี คือ การกําหนดเวลาของการมีตลาดน้ำที่เรียกว่า “นัด” หรือการกำหนดวันค้าขายจากน้ำขึ้นน้ำลง โดยในหนึ่งเดือนจะมีนัดอยู่ 6 ครั้ง ได้แก่ วัขึ้น 2 ค่ำ ขึ้น 7 ค่ำ ขึ้น 12 ค่ำ แรม 2 ค่ำ แรม 7 ค่ำ และแรม 12 ค่ำ
-
วัด ชุมชน และวิถีชีวิตของผู้คนกับสายน้ำ มนต์เสน่ห์ริมคลองบางคูเวียง พื้นที่ทางวัฒนธรรมเก่าแก่สู่การพลิกฟื้นเศรษฐกิจชุมชน
-
เป็นชุมชนเก่าแก่ที่ยังคงสภาพของสถาปัตยกรรมที่มีอายุมากกว่า 80 ปี อย่าง สถานที่พักอาศัย ของประชากรในชุมชน หรือจะเป็นชุมชนที่อยู่ในพื้นที่ของศาสนสถานที่สำคัญ อันอาจจะเป็นที่มาของการตั้งหลักฐานจนก่อตัวเป็น "ชุมชนตรอกศิลป์-ตรอกตึกดิน" อาทิ วัดเทพธิดาราม วัดมหรรณพาราม และวัดราชนัดดาราม
-
ชุมชนสามัคคีร่วมใจ คือหนึ่งในชุมชนริมคลองบางบัว ที่ถูกขุดขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ตลอดสองฝั่งคลอง 9 ชุมชน พบปัญหาการรุกล้ำ จึงได้มีการจัดตั้ง "เครือข่ายพัฒนาชุมชนและสิ่งแวดล้อมคูคลองบัว" เพื่อพัฒนาสิ่งแวดล้อมและสร้างความเข้มแข็งในชุมชน