-
หมู่บ้านน้ำตาลสดเป็นแหล่งปลูกตาลโตนดมากที่สุดในภาคตะวันออกของไทย ชาวบ้านยึดอาชีพทำน้ำตาลสดพร้อมดื่มและน้ำตาลปึกเป็นหลัก นอกจากนี้ยังเป็นเหมือนศูนย์การเรียนรู้ภูมิปัญญาท้องถิ่นในด้านการทำน้ำตาลสด จนกลายเป็นผลิตภัณฑ์น้ำตาลสดและน้ำตาลปึก ที่มีคุณภาพดีสามารถส่งขายและสร้างรายได้ให้กับครอบครัวและชุมชน
-
บ้านแหลมนก ชุมชนชาวประมงปลายแหลมอ่าวปัตตานี มีการทำประมงหลากหลายรูปแบบตั้งแต่การประมงทะเล การประมงพื้นบ้าน การเพาะเลี้ยงหอยแครง และการแปรรูปผลิตภัณฑ์สินค้าจากการประมง อีกทั้งยังเป็นที่ตั้งของลานนกกระยาง สถานที่ท่องเที่ยวแห่งใหม่ของชุมชนเสริมสร้างรายได้และขับเคลื่อนเศรษฐกิจของชาวบ้านเกาะนก
-
ชุมชนโบราณในลุ่มน้ำทะเลสาบสงขลา มีร่องรอยของความเป็นเมืองท่าและยังคงสืบทอดการทำเครื่องปั้นดินเผาแบบโบราณ
-
มัสยิดบางอ้อนับว่าเป็นมัสยิดที่มีสถาปัตยกรรมโดดเด่น และอนุรักษ์ความดั้งเดิมไว้ได้ดีที่สุดแห่งหนึ่งของประเทศไทย โดยการบูรณะอาคารมัสยิดครั้งล่าสุดเกิดขึ้นหลังอุทกภัยครั้งใหญ่เมื่อ ปี พ.ศ. 2554
-
พื้นที่ชุมชนรวมตัวของชนชาติชาวลาวครั่งแสดงผ่านศิลปกรรม ประติมากรรม และศาสนสถาน
-
ถนนนครนอก เป็นถนนที่ติดกับฝั่งทะเลสาป ในอดีตบริเวณนี้เป็นท่าเทียบเรือเพื่อการค้าและขนส่งสินค้าจากต่างประเทศ ดูได้จากการมีโรงสีข้าวขนาดใหญ่ ซึ่งปัจจุบันที่แห่งนี้ได้ชื่อว่า หับ โห้ หิ้น หรือที่ชาวสงขลาเรียกกันว่า โรงสีแดง โรงสีข้าวแห่งนี้ตั้งอยู่บริเวณริมทะเลสาปสงขลา มีความเกี่ยวเนื่องเชื่อมโยงกับพื้นที่เพาะปลูกข้าว แต่ในปัจจุบันได้ยกเลิกกิจการไปแล้ว เพราะเกิดจากสภาพแวดล้อม สังคม เทคโนโลยี ที่มีการพัฒนาและเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว สถานที่แห่งนี้ได้กลายมาเป็นแหล่งเรียนรู้ให้กับผู้คนที่มาเยี่ยมชมที่นี่ เพื่อจะได้รู้ถึงประวัติความเป็นมาและวัฒนธรรมต่างๆ ที่เกิดขึ้นในอดีต จนถึงปัจจุบัน
-
“วิถีชีวิตริมน้ำ ลำคลองแห่งชีวิต” ชุมชนริมน้ำคลองชักพระ เส้นทางที่จอแจไปด้วยเรือที่สัญจรไปมาตลอดทั้งวัน ห้อมล้อมด้วยบรรยากาศคึกคักของบ้านเรือนและวิถีชีวิตริมน้ำดั้งเดิมแบบไทย และยังคงประเพณีชักพระ ณ วัดนางชี ประเพณีชักพระแห่งเดียวในกรุงเทพมหานคร
-