-
-
ชุมชนบางคล้ามีวิถีชีวิตท้องถิ่นเป็นชุมชนการเกษตร มีการดำเนินชีวิตคู่กับลุ่มน้ำบางปะกง และก่อให้เกิดอาชีพและผลผลิตต่าง ๆ เช่น กุ้งแม่น้ำ ปลาแม่น้ำ มะม่วง มะพร้าว น้ำตาลสด ชุมชนบางคล้ายังมีเส้นทางย้อนรอยประวัติศาสตร์ให้ท่องเที่ยว พระสถูปเจดีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช วัดปากน้ำโจโล้ และวัดโพธิ์บางคล้า ที่เป็นที่อาศัยของค้างคาวแม่ไก่ โดยเทศบาลตำบลบางคล้าได้มีการจัดตั้งตลาดน้ำบางคล้า เพื่อส่งเสริมอาชีพและช่วยขับคลื่อนเศรษฐกิจของชุมชน
-
ชุมชนมัสยิดบ้านสมเด็จสะท้อนวิถีชีวิตของชาวมุสลิมและเป็นแหล่งอาหารฮาลาลที่ตลาดรอมาฎอน ได้แก่ ขนมบดินและขนมกะรี อีกทั้งการมีสถาปัตยกรรมทางศาสนาและวัฒนธรรมที่งดงามในพื้นที่ชุมชน อย่าง มัสยิดนูรุ้ลมู่บีน
-
“วิถีชีวิตริมน้ำ ลำคลองแห่งชีวิต” ชุมชนริมน้ำคลองชักพระ เส้นทางที่จอแจไปด้วยเรือที่สัญจรไปมาตลอดทั้งวัน ห้อมล้อมด้วยบรรยากาศคึกคักของบ้านเรือนและวิถีชีวิตริมน้ำดั้งเดิมแบบไทย และยังคงประเพณีชักพระ ณ วัดนางชี ประเพณีชักพระแห่งเดียวในกรุงเทพมหานคร
-
บ้านหม้อ ตั้งถัดมาจากบ้านลาว เป็นชุมชนชาวญวนที่อพยพเข้ามาตั้งแต่ต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประกอบอาชีพทำหม้อและภาชนะหุงต้มต่าง ๆ ต่อมาเมื่อมีภาชนะสมัยใหม่เข้ามาแทนจึงได้เลิกอาชีพนี้ไป ภายหลังกลายเป็นย่านขายเครื่องเพชร อัญมณี และเครื่องประดับที่มีชื่อเสียงของพระนคร ปัจจุบันเป็นแหล่งจำหน่ายอุปกรณ์เครื่องเสียงจำนวนมาก
-
ชาติพันธุ์มอญ การรักษาวัฒนธรรม ประเพณี ความเชื่อของชาวไทยเชื้อสายมอญ ยังคงยึดมั่นในพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่น ประเพณีที่สําคัญ เช่น เทศกาลตักบาตรนํ้าผึ้ง เทศกาลตักบาตรดอกไม้ ตักบาตรเทโว และเทศกาลกวนกระยาสารท
-
สี่แยกวัดโหนดเป็นชุมชนที่มีความอิสระและหลากหลายทางการนับถือศาสนา อีกทั้งยังมีความหลากหลายในการประกอบอาชีพ อันเนื่องมาจากความอุดมสมบูรณ์ของสภาพแวดล้อมและลักษณะภูมิประเทศ
-
ชุมชนเก่าแก่ที่มีมายาวนานและปัจจุบันเป็นสถานที่ท่องเที่ยวเมืองเก่า มีทั้งพระธาตุพระอานนท์ มีประแก้วประจำเมืองที่สำคัญ ตลอดจนสัมผัสสถาปัตยกรรมดั้งเดิมของชุมชนบ้านสิงห์ท่า