-
เอกลักษณ์ของพื้นที่ของชุมชนบ้านญวณสามเสน คือโบสถ์ทั้งสองโบสถ์ภายในพื้นที่และบ้านโบราณเป็นอาคารที่แสดงออกถึงเอกลักษณ์ที่โดดเด่นของชุมชน และความแตกต่างด้านวัฒนธรรมของเชื้อชาติที่ต่างกันแต่อยู่ร่วมกันได้อย่างกลมเกลียว
-
-
“โอตารุเมืองไทย” คำขนานนามลำคลองสายประวัติศาสตร์คลองแม่ข่า แหล่งท่องเที่ยวเชิงนิเวศวัฒนธรรมใจกลางเมืองเชียงใหม่
-
บ้านคลิตี้ล่าง เป็นหมู่บ้านที่มีการปฏิบัติสืบทอดประเพณีวัฒนธรรมดั้งเดิมของชาวกะเหรี่ยงอย่างต่อเนื่อง แม้ตกอยู่ภายใต้สภาวะปัญหาปนเปื้อนของลำห้วยคลิตี้ อันเปรียบเสมือนเส้นเลือดใหญ่ที่คอยหล่อเลี้ยงวิถีชีวิตของชาวคลิตี้ล่างไป
-
ชุมชนมอญที่อพยพมาจากเมืองทวายและมะริด ยังคงนับถือพุทธศาสนาอย่างเหนียวแน่น ภายในชุมชนวัดประดิษฐาราม มีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ที่ประดิษฐานอยู่ในวิหารพระนอน
-
พื้นที่ที่มีชาวมุสลิมอยู่ร่วมกันจำนวนมาก มีพื้นที่ติดกับชุมชนบ้านสมเด็จและชุมชนบางไส้ไก่ กระทั่งกลายเป็นย่านที่รวมผู้คนหลายศาสนาหลากวัฒนธรรมเข้าไว้ด้วยกัน โดยมี "วัดหิรัญจูรี" เป็นศาสนสถานสำคัญที่เปรียบเสมือนสถานที่ที่เป็นศูนย์กลางของผู้คนในชุมชน
-
กว่า 200 ปีมาแล้ว ที่ชาวไทยวนจากเชียงแสนได้อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานบ้านเรือนในตำบลคูบัว จังหวัดราชบุรี แม้เวลาจะผ่านมาเนิ่นนานแต่ชาวไทยวนราชบุรีก็ยังคงอนุรักษ์ภูมิปัญญา วัฒนธรรม ภาษาพูด และการแต่งกายไว้เป็นอย่างดี โดยเฉพาะภูมิปัญญาการทอ “ผ้าซิ่นตีนจก” ภูมิปัญญาอันแสดงถึงอัตลักษณ์และเอกลักษณ์ของชาวไทยวนราชบุรีผ่านวิวัฒนาการลวดลายการร้อยเรียงผ่านเส้นด้าย
-
หมู่บ้านดอยช้างมีวิสาหกิจชุมชนในการแปรรูปผลิตภัณฑ์เลื่องชื่อ คือ กาแฟดอยช้าง จำหน่ายส่งออกไปยังต่างประเทศ ปัจจุบันกาแฟดอยช้างได้ชื่อว่าเป็นการดำเนินงานในรูปแบบธุรกิจเพื่อชุมชนอย่างแท้จริง
-
ชุมชนบ้านครัวเป็นชุมชนไทย-มุสลิมเชื้อสายจาม ที่ถือเป็นชุมชนมุสลิมที่ใหญ่ที่สุดในกรุงเทพมหานครมีอายุเก่าแก่กว่า 200 ปี โดยภายในชุมชนยังคงภูมิปัญญาการทอผ้าไหมที่มีชื่อเสียง นอกจากนี้ภายในชุมชนยังมีมัสยิดเก่าแก่ที่ชื่อว่า "มัสยิดยามีอุลค็อยรียะห์" ซึ่งเป็นมัสยิดที่สร้างมาตั้งแต่ในสมัยรัชกาลที่ 1
-
“สัมผัสอากาศเย็น เด่นในตํานานเหมืองแร่” บ้านอีต่อง หมู่บ้านที่เงียบสงบกลางหุบเขาสุดเขตแดนตะวันตก พรหมแดนไทย-เมียนมา จากอดีตเหมืองแร่ในสมัยสงครามโลกครั้งที่ 2 สู่การแปรสภาพเป็นหมู่บ้านท่องเที่ยวที่พลาดไม่ได้เมื่อมาเยือนทองผาภูมิ
-
หมู่บ้านห้วยหินลาดในเป็นหมู่บ้านของกลุ่มชาติพันธุ์ปกาเกอะญอ ที่มีขนาดค่อนข้างเล็ก หมู่บ้านโดยรอบ ๆ ถูกปกคลุมไปด้วยทรัพยากรธรรมชาติ ระบบนิเวศที่มีความหลากหลาย มีวิถีชีวิตที่ต้องพึ่งพิงอาศัยป่าเป็นหลัก การเป็นอยู่ของชาวบ้านมีวัฒนธรรมประเพณี ระบบความเชื่อที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะตน โดยการสืบสานผ่านการใช้ชีวิตประจําวันที่ยังคงอยู่ในปัจจุบัน